กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ผลการดำเนินงาน
      1.ครัวเรือนที่มีการระบาดจากโรคไข้เลือดออกได้รับการเยี่ยมบ้าน สอบสวนโรคเบื้องต้น ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และดำเนินการพ่นหมอกควันทุกราย   2.ทุกครัวเรือนได้รับการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย, ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและลดปริมาณจำนวนลูกน้ำยุงลาย     3.ประชาชนในพื้นที่มีจำนวนผู้เป็นโรคไข้เลือดออกในปริมาณที่ลดลง       4.มีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยการจัดระบบทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลบานาที่มีชื่อว่า MODEL BANA 3-3-3-1 “ปฏิบัติการไข้เลือดออกบานา 3-3-3-1” เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุม และสอบสวนโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข         ระบบการจัดทีมปฏิบัติงานย่อยต่างๆในกรณีมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วย 3 ทีม ดังนี้         ทีมที่ 1 คือทีมสำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย             ได้แก่ ประธานอสม.หมู่บ้าน, อสม.เขตรับผิดชอบบ้านหลังนั้นๆ ทำหน้าที่

- เยี่ยมบ้านผู้ป่วยทันทีภายใน 3 ชม.หลังได้รับแจ้งจากจนท.รพ.สต. - พ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่แบบสเปรย์ที่บ้านผู้ป่วย เพื่อ Knock Down ยุงที่อาจจะมีเชื้อไข้เลือดออก - สำรวจลูกน้ำ และบันทึกจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อภาชนะที่สำรวจทั้งหมด - ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบ้าน และรอบๆบ้านผู้ป่วย แจก/ใส่ทรายอะเบทในภาชนะน้ำใช้ แจกโลชันทากันยุง รัศมี 100 เมตร - รายงานผลการปฏิบัติงานกลับมาที่ รพ.สต.ตามแบบรายงาน อสม.         ทีมที่ 2 คือทีมสอบสวนควบคุมโรคเบื้องต้น             ได้แก่ จนท.สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานระบาดของรพ.สต., จนท.สาธารณสุขผู้รับผิดชอบหมู่บ้านนั้นๆ,ประธานอสม.หมู่บ้าน และอสม.เขตรับผิดชอบบ้านหลังนั้นๆ ทำหน้าที่ - เยี่ยมบ้านผู้ป่วยทันทีภายใน 1 วันหลังจากได้รับแจ้งจากทีม SRRT ระดับอำเภอ - ทำการสอบสวนควบคุมโรคเบื้องต้น ให้สุขศึกษา และรายงานอำเภอทราบ - นัดแนะเวลา พร้อมการเตรียมพื้นที่ทั้งในและนอกบ้าน เพื่อจะพ่นหมอกควันได้อย่างเหมาะสม           ทีมที่ 3 คือทีม ทีมพ่นสารเคมี/ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม               ได้แก่นักพ่นหมอกควันประจำตำบล/หมู่บ้าน(ที่ผ่านการอบรมแล้ว), จนท.สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานระบาดของรพ.สต., ประธานอสม.หมู่บ้าน และอสม.เขตรับผิดชอบบ้านหลังนั้นๆ ทำหน้าที่ - เตรียมอุปกรณ์การพ่นหมอกควันให้ครบถ้วน - ทำการพ่นหมอกควันอย่างเหมาะสมในรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย พร้อมให้รณรงค์ทั้งหมู่บ้าน - ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายรอบๆบ้านผู้ป่วย และละแวกรัศมี 100 เมตร

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่กำลังเป็นปัญหาของชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.บ้านเรือนหรือจุดพื้นที่ซึ่งมีการระบาดของไข้เลือดออกได้รับการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ร้อยละ 100 ของพื้นที่ซึ่งมีการระบาด 2.ทีมเผชิญโรคระบาดเคลื่อนที่เร็ว (SSRT) ของชุมชนเพื่อสอบสวนโรคร้อยละ 100 ของคนป่วยไข้เลือดออก
0.00 100.00

 

2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=0) 2.ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักและตื่นตัวในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
0.00 9.90

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 110 110
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 110 110
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่กำลังเป็นปัญหาของชุมชน (2) เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 2. จัดซื้อสารเคมี, เชื้อเพลิง, โลชั่น,สเปรย์ป้องกันยุง และจ้างเหมาทีม SSRTเพื่อเตรียมการรับการระบาดโรคไข้เลือดออก (2) 3. ออกประเมินการสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชุมชนไขว้ระหว่างหมู่บ้าน, ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วย, สอบสวนควบคุมโรคเบื้องต้น โดยทีมงานสำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และทีมสอบสวนควบคุมโรคเบื้องต้น (3) 4.จัดเดินรณรงค์เกี่ยวกับการจัดการบ้านพักที่อยู่อาศัยในชุมชนให้น่าอยู่การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย (4) 1.พัฒนาศักยภาพ ทีมเฝ้าระวังเคลื่อนที่เร็ว SSRT และทีมงานย่อยต่างๆได้แก่ ทีมสำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ทีมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยทีมสอบสวนควบคุมโรคเบื้องต้น ทีมพ่นสารเคมี และทีมปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงาน มีทักษะความส

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh