กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการตรวจสุขภาพประจำปี จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองภาวะสุขภาพผู้รับบริการ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุก มีการดำเนินงานให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกนอกสถานที่ แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีความประสงค์ตรวจสุขภาพ และมารับบริการในสถานที่  (visit 2) ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โดยจัดโปรแกรมการตรวจสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้มีอายุน้อยกว่า 35 ปี และโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป  ผู้รับบริการรวมทั้งสิ้นจำนวน 1200 ราย ซึ่งพบว่าผู้รับบริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60.89 เมื่อพิจารณารายกลุ่มอายุพบว่า ผู้รับบริการอายุน้อยกว่า 35 ปี เพศหญิงมาใช้บริการ ร้อยละ 57.08 เพศชายมาใช้บริการ ร้อยละ 42.92 และผู้รับบริการอายุตั้งแต่ 35 ปี เพศหญิงมาใช้บริการ ร้อยละ 61.99 เพศชายมาใช้บริการ ร้อยละ 38.02  ผลการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกที่ผิดปกติเป็นส่วนใหญ่ คือ  ผลการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกที่ผิดปกติมากที่สุด คือ ระดับความดันโลหิตสูง ร้อยละ 42.61 รองลงมาคือระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ร้อยละ 33.72 ค่าผิดปกติน้อยที่สุดคือค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตราฐาน 23.67 จาการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ พบว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุก ส่วนใหญ่ความพึงพอใจอยู่ในระดับดี การจัดทำโครงการนี้มีประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนารูปแบบการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการติดตามภาวะสุขภาพผู้รับบริการที่มีผลการตรวจผิดปกติ นำมาศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมสุขภาพต่อไป
บทนำ       การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างสมรรถนะ ให้คนเรามีความสามารถเพิ่มขึ้นในการควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลมีสุขภาพดีขึ้น การส่งเสริมสุขภาพ เป็นการเอื้ออำนวยให้มีสภาวะร่างกาย จิตใจ และความเป็นอยู่ในสังคมที่สมบูรณ์ บุคคล หรือชุมชนสามารถระบุสิ่งที่จำเป็น ในการที่จะบรรลุการมีสุขภาพดี และในการเปลี่ยน หรือการจัดสิ่งแวดล้อมสุขภาพนั้น ถือเป็นแนวความคิดด้านบวกที่เน้นทรัพยากรทางสังคมและส่วนบุคคล มากเท่ากับเน้นความสามารถทางกาย โดยนัยนี้ การส่งเสริมสุขภาพจึงไม่ใช่เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานด้านสุขภาพเท่านั้น แต่รวมไปถึงการที่ประชาชนมีการปฏิบัติให้เกิดวิถีชีวิตที่ดี เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (ธัชชัย มุ่งการดี , 2534)
        การทำงานที่ต้องแข่งกับเวลา ขาดการออกกำลังกาย มลพิษต่างๆในสิ่งแวดล้อม หรือการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ร่างกายอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพพลานามัยได้ การตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยให้ทราบว่าขณะนี้ร่างกายอยู่ในระดับไหน มีโรคร้ายแฝงอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะโรคที่อยู่ในขอบเขตที่การแพทย์ปัจจุบันสามารถตรวจพบได้ ซึ่งจะทำให้สามารถปฏิบัติตัวได้เหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรค และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น การให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุก อำนวยความสะดวก บริการตรวจสุขภาพและให้ความรู้ด้านสุขภาพตามความเหมาะสมของแต่ละวัยในสถานที่ทำงาน เป็นแนวทางหนึ่งที่กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเอง

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

 

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ