กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง
ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง
80.00 80.00 80.00

ประชากรอายุมากกว่า 15 ปี มีค่าดัชนีมวลกายอยู่เกณฑืมาตราฐาน ร้อยละ 80

2 ลดพฤติกรรมดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวานจัด
ตัวชี้วัด : ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ
80.00 80.00 80.00

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ ลดลง

3 เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้นเป็น
80.00 80.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 600
กลุ่มผู้สูงอายุ 400
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการตรวจสุขภาพประจำปี จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองภาวะสุขภาพผู้รับบริการ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุก มีการดำเนินงานให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกนอกสถานที่ แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีความประสงค์ตรวจสุขภาพ และมารับบริการในสถานที่  (visit 2) ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โดยจัดโปรแกรมการตรวจสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้มีอายุน้อยกว่า 35 ปี และโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป  ผู้รับบริการรวมทั้งสิ้นจำนวน 1200 ราย ซึ่งพบว่าผู้รับบริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60.89 เมื่อพิจารณารายกลุ่มอายุพบว่า ผู้รับบริการอายุน้อยกว่า 35 ปี เพศหญิงมาใช้บริการ ร้อยละ 57.08 เพศชายมาใช้บริการ ร้อยละ 42.92 และผู้รับบริการอายุตั้งแต่ 35 ปี เพศหญิงมาใช้บริการ ร้อยละ 61.99 เพศชายมาใช้บริการ ร้อยละ 38.02  ผลการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกที่ผิดปกติเป็นส่วนใหญ่ คือ  ผลการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกที่ผิดปกติมากที่สุด คือ ระดับความดันโลหิตสูง ร้อยละ 42.61 รองลงมาคือระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ร้อยละ 33.72 ค่าผิดปกติน้อยที่สุดคือค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตราฐาน 23.67 จาการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ พบว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุก ส่วนใหญ่ความพึงพอใจอยู่ในระดับดี การจัดทำโครงการนี้มีประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนารูปแบบการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการติดตามภาวะสุขภาพผู้รับบริการที่มีผลการตรวจผิดปกติ นำมาศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมสุขภาพต่อไป
บทนำ       การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างสมรรถนะ ให้คนเรามีความสามารถเพิ่มขึ้นในการควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลมีสุขภาพดีขึ้น การส่งเสริมสุขภาพ เป็นการเอื้ออำนวยให้มีสภาวะร่างกาย จิตใจ และความเป็นอยู่ในสังคมที่สมบูรณ์ บุคคล หรือชุมชนสามารถระบุสิ่งที่จำเป็น ในการที่จะบรรลุการมีสุขภาพดี และในการเปลี่ยน หรือการจัดสิ่งแวดล้อมสุขภาพนั้น ถือเป็นแนวความคิดด้านบวกที่เน้นทรัพยากรทางสังคมและส่วนบุคคล มากเท่ากับเน้นความสามารถทางกาย โดยนัยนี้ การส่งเสริมสุขภาพจึงไม่ใช่เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานด้านสุขภาพเท่านั้น แต่รวมไปถึงการที่ประชาชนมีการปฏิบัติให้เกิดวิถีชีวิตที่ดี เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (ธัชชัย มุ่งการดี , 2534)
        การทำงานที่ต้องแข่งกับเวลา ขาดการออกกำลังกาย มลพิษต่างๆในสิ่งแวดล้อม หรือการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ร่างกายอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพพลานามัยได้ การตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยให้ทราบว่าขณะนี้ร่างกายอยู่ในระดับไหน มีโรคร้ายแฝงอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะโรคที่อยู่ในขอบเขตที่การแพทย์ปัจจุบันสามารถตรวจพบได้ ซึ่งจะทำให้สามารถปฏิบัติตัวได้เหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรค และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น การให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุก อำนวยความสะดวก บริการตรวจสุขภาพและให้ความรู้ด้านสุขภาพตามความเหมาะสมของแต่ละวัยในสถานที่ทำงาน เป็นแนวทางหนึ่งที่กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเอง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh