กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ผลการดำเนินงาน 1.1 ได้ดำเนินการจัดอบรม/เสวนา เรื่องไขมันทรานส์ โดยมีนายชัยณรงค์ ศรประสิทธิ์ นายกเทศมนตรีตำบลพะตง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ ณ อาคารอเนกประสงค์เทศบาลตำบลพะตง (หลังเก่า) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 โดยมีผู้เข้ารับฟังการอบรม/เสวนาตามโครงการ จำนวน 100 คน รายละเอียดในการจัดอบรม/เสวนา โดยมีเนื้อหาพอสังเขปต่างๆ ได้แก่

  ไขมันทรานส์ (Trans Fat) คือ   ไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่บริเวณพันธะคู่มีการจัดเรียงตัวของไฮโดรเจนอะตอมอยู่ตรงข้ามกัน สามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติ และจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมัน   ไขมันทรานส์จากธรรมชาติ พบได้ในเนื้อวัว ควาย ซึ่งเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ดังกล่าว เช่น นม เนย ชีส แต่พบในปริมาณเพียงเล็กน้อย   ไขมันทรานส์จากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partial Hydrogenation) ลงไปในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งน้ำมันที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวจะเรียกว่า Partially Hydrogenated Oil ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว พบในอุตสาหกรรมเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) ซึ่งไขมันดังกล่าวจะหืนช้า และมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น
  อันตรายจากไขมันทรานส์   ไขมันทรานส์ให้ผลร้ายกว่ากรดไขมันอิ่มตัว คือ ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ไขมันชนิดเลว (LDL-Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เพิ่มขึ้น และมีผลทำให้ระดับไขมันชนิดดี (HDL-Cholesterol) ลดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด   หากรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์มากๆ หรือติดต่อกันนานๆ อาจส่งผลเพิ่มความเสี่ยงอันตรายต่อร่างกาย ดังนี้ - โรคอ้วน - หัวใจ และหลอดเลือด เช่น หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ/ตัน - หลอดเลือดสมองตีบ/ตัน - ไขมันในเลือดสูง - โรคเบาหวาน - ความดันโลหิตสูง - โรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ - จอประสาทตาเสื่อม - นิ่วในถุงน้ำดี     ซึ่งโรคเหล่านี้อันตราย และหากมีอาการรุนแรงจะส่งผลต่อชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่นาที หากเราทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ค่อนข้างมาก และไม่เคยตรวจสุขภาพหาค่าไขมันในเลือดมาก่อน


.  ปริมาณที่สามารถบริโภคได้ต่อวัน
  องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization, FAO) แนะนำปริมาณสูงสุดในการบริโภคไขมันทรานส์ต้องไม่เกิน 1% ของค่าพลังงานต่อวัน (หรือประมาณ 2 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค) อย่างไรก็ตาม FAO ยังแนะนำปริมาณสูงสุดในการบริโภคไขมันอิ่มตัวที่ไม่เกิน 10% ของค่าพลังงาน (หรือประมาณ 20 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 5 กรัมต่อมื้อ) ไว้ด้วย เนื่องจากตระหนักว่าไขมันทั้งสองประเภทยังเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น จึงต้องควบคุมปริมาณการบริโภคร่วมกัน

  อาหาร หรือส่วนประกอบของอาหารที่มีไขมันทรานส์ ได้แก่   เนยขาว มาร์การีน ครีมเทียม ครีมเทียมข้นหวาน (ที่นิยมนำมาใช้ทำขนม ผสมเครื่องดื่มต่างๆ แทนเนยสด ครีมจริง หรือนมข้นหวานล้วน) ดังนั้นเราถึงพบอาหารที่มีไขมันทรานส์สูงในอาหารตระกูลขนมหวานฝรั่งอย่าง คุกกี้ เค้ก โดนัท วิปครีม พาย ขนมกรุบกรอบต่างๆ อาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ เครื่องดื่มต่างๆ และอาหารที่มีส่วนประกอบที่กล่าวไว้ข้างต้นทั้งหมด

ขอบเขตของประกาศกระทรวงสาธารณสุขและการบังคับใช้ ประกาศฯ ฉบับนี้ มีขอบเขตการบังคับใช้กับน้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially hydrogenation) และอาหารที่มีน้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบเท่านั้น มิได้หมายรวมถึงน้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนแบบสมบูรณ์ (Fully hydrogenation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ทำให้เกิดไขมันทรานส์ ประกาศฯ ฉบับนี้ ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ แต่มิได้ห้ามตรวจพบไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหาร

วันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ.2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

1.2 ได้จัดทำแบบประเมินองค์ความรู้ สำหรับผู้เข้ารับฟังการอบรม/เสวนา ความรู้เรื่องไขมันทรานส์ จำนวน 100 คน ซึ่งพบว่าผู้เข้าร่วมรับฟังสามารถทำแบบประเมินองค์ความรู้ สรุปดังตารางดังต่อไปนี้

ช่วงคะแนน จำนวน คิดเป็นร้อยละ   0 - 4 14 14.00 5 - 7 35 35.00 8 - 10 51 51.00

จากตารางข้างต้น พบว่าผู้เข้ารับฟังสามารถที่จะทำแบบประเมินองค์ความรู้ อยู่ในช่วงคะแนน 8 – 10 คะแนน จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 51.00 รองลงมาอยู่ในช่วงคะแนน 5 – 7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 35.00 ซึ่งผู้เข้ารับฟังสามารถที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว ชุมชน เพื่อให้ลดอัตราการเกิดโรคที่จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันต่อไป

  1. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ / บรรลุตามวัตถุประสงค์  ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ เพราะ.................................................................................................. ..............................................................................................................................................................
  2. จำนวนผู้เข้าร่วม      100    คน

  3. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ    35,000        บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง        23,617        บาท  คิดเป็นร้อยละ  67.48......  งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ  11,383        บาท  คิดเป็นร้อยละ  32.52  .

  4. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน

/ ไม่มี  มี ปัญหา/อุปสรรค  (ระบุ).............................................................................................................. แนวทางการแก้ไข (ระบุ)..............................................................................................................

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนและอสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไขมันทรานส์
ตัวชี้วัด : จากการทำแบบทดสอบหลังการอบรม ประชาชนสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
70.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 100 100
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

.1 ได้ดำเนินการจัดอบรม/เสวนา เรื่องไขมันทรานส์ โดยมีนายชัยณรงค์ ศรประสิทธิ์ นายกเทศมนตรีตำบลพะตง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ ณ อาคารอเนกประสงค์เทศบาลตำบลพะตง (หลังเก่า) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 โดยมีผู้เข้ารับฟังการอบรม/เสวนาตามโครงการ จำนวน 100 คน รายละเอียดในการจัดอบรม/เสวนา โดยมีเนื้อหาพอสังเขปต่างๆ ได้แก่

  ไขมันทรานส์ (Trans Fat) คือ   ไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่บริเวณพันธะคู่มีการจัดเรียงตัวของไฮโดรเจนอะตอมอยู่ตรงข้ามกัน สามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติ และจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมัน   ไขมันทรานส์จากธรรมชาติ พบได้ในเนื้อวัว ควาย ซึ่งเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ดังกล่าว เช่น นม เนย ชีส แต่พบในปริมาณเพียงเล็กน้อย   ไขมันทรานส์จากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partial Hydrogenation) ลงไปในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งน้ำมันที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวจะเรียกว่า Partially Hydrogenated Oil ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว พบในอุตสาหกรรมเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) ซึ่งไขมันดังกล่าวจะหืนช้า และมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น
  อันตรายจากไขมันทรานส์   ไขมันทรานส์ให้ผลร้ายกว่ากรดไขมันอิ่มตัว คือ ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ไขมันชนิดเลว (LDL-Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เพิ่มขึ้น และมีผลทำให้ระดับไขมันชนิดดี (HDL-Cholesterol) ลดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด   หากรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์มากๆ หรือติดต่อกันนานๆ อาจส่งผลเพิ่มความเสี่ยงอันตรายต่อร่างกาย ดังนี้ - โรคอ้วน - หัวใจ และหลอดเลือด เช่น หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ/ตัน - หลอดเลือดสมองตีบ/ตัน - ไขมันในเลือดสูง - โรคเบาหวาน - ความดันโลหิตสูง - โรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ - จอประสาทตาเสื่อม - นิ่วในถุงน้ำดี     ซึ่งโรคเหล่านี้อันตราย และหากมีอาการรุนแรงจะส่งผลต่อชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่นาที หากเราทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ค่อนข้างมาก และไม่เคยตรวจสุขภาพหาค่าไขมันในเลือดมาก่อน


.  ปริมาณที่สามารถบริโภคได้ต่อวัน
  องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization, FAO) แนะนำปริมาณสูงสุดในการบริโภคไขมันทรานส์ต้องไม่เกิน 1% ของค่าพลังงานต่อวัน (หรือประมาณ 2 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค) อย่างไรก็ตาม FAO ยังแนะนำปริมาณสูงสุดในการบริโภคไขมันอิ่มตัวที่ไม่เกิน 10% ของค่าพลังงาน (หรือประมาณ 20 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 5 กรัมต่อมื้อ) ไว้ด้วย เนื่องจากตระหนักว่าไขมันทั้งสองประเภทยังเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น จึงต้องควบคุมปริมาณการบริโภคร่วมกัน

  อาหาร หรือส่วนประกอบของอาหารที่มีไขมันทรานส์ ได้แก่   เนยขาว มาร์การีน ครีมเทียม ครีมเทียมข้นหวาน (ที่นิยมนำมาใช้ทำขนม ผสมเครื่องดื่มต่างๆ แทนเนยสด ครีมจริง หรือนมข้นหวานล้วน) ดังนั้นเราถึงพบอาหารที่มีไขมันทรานส์สูงในอาหารตระกูลขนมหวานฝรั่งอย่าง คุกกี้ เค้ก โดนัท วิปครีม พาย ขนมกรุบกรอบต่างๆ อาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ เครื่องดื่มต่างๆ และอาหารที่มีส่วนประกอบที่กล่าวไว้ข้างต้นทั้งหมด

ขอบเขตของประกาศกระทรวงสาธารณสุขและการบังคับใช้ ประกาศฯ ฉบับนี้ มีขอบเขตการบังคับใช้กับน้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially hydrogenation) และอาหารที่มีน้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบเท่านั้น มิได้หมายรวมถึงน้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนแบบสมบูรณ์ (Fully hydrogenation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ทำให้เกิดไขมันทรานส์ ประกาศฯ ฉบับนี้ ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ แต่มิได้ห้ามตรวจพบไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหาร

วันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ.2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

1.2 ได้จัดทำแบบประเมินองค์ความรู้ สำหรับผู้เข้ารับฟังการอบรม/เสวนา ความรู้เรื่องไขมันทรานส์ จำนวน 100 คน ซึ่งพบว่าผู้เข้าร่วมรับฟังสามารถทำแบบประเมินองค์ความรู้ สรุปดังตารางดังต่อไปนี้

ช่วงคะแนน จำนวน คิดเป็นร้อยละ   0 - 4 14 14.00 5 - 7 35 35.00 8 - 10 51 51.00

จากตารางข้างต้น พบว่าผู้เข้ารับฟังสามารถที่จะทำแบบประเมินองค์ความรู้ อยู่ในช่วงคะแนน 8 – 10 คะแนน จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 51.00 รองลงมาอยู่ในช่วงคะแนน 5 – 7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 35.00 ซึ่งผู้เข้ารับฟังสามารถที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว ชุมชน เพื่อให้ลดอัตราการเกิดโรคที่จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันต่อไป

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh