กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

แบบรายงานผลการดำเนินงาน โครงการส่งผ่านความห่วงใยจากแม่สู่ลูกในครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง  ประจำปีงบประมาณ 2561 1. ชื่อโครงการ  โครงการส่งผ่านความห่วงใยจากแม่สู่ลูกในครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง ประจำปีงบประมาณ 2561 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับประทานอาหารที่มีโปรตีน  และแคลเซี่ยมเพียงพอ 2. เพื่อให้มารดามีความรู้ความเข้าใจในการฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ 3. เพื่อลดภาวะค่าใช้จ่ายแก่ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในเกณฑ์ 4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์และได้รับการดูแลสุขภาพของมารดาตลอดการตั้งครรภ์ 5. เพื่อติดตามสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอด และให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและการเลี้ยงดูบุตรในระยะแรกคลอด 3. การเบิกจ่ายงบประมาณ - งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ  เป็นเงิน  69,650.00 บาท (หกหมื่นเก้าพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน) - งบประมาณที่เบิกจ่ายจริง เป็นเงิน 69,650.00 บาท (หกหมื่นเก้าพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน) โดยจำแนกรายจ่ายดังนี้ 1. ค่าอาหารว่าง ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมให้ความรู้ในโรงเรียน พ่อแม่ แก่สตรีและครอบครัว จำนวน 240 คน คิดเป็นเงิน 6,000  บาท 2. ค่าไข่ไก่ 120 บาท /แผง/คน/เดือน/ จำนวน 20 ราย/เดือน รวม 7 เดือน เป็นเงินจำนวน 16,800 บาท 3. ค่านมกระป๋อง ราคาโหลละ 130 บาท /คน /เดือน รวม 20 คน/เดือน รวม 7 เดือน เป็นเงินจำนวน 45,500 บาท 4. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1.5 ม. X 2 ม. จำนวน  3 แผ่น คิดเป็นเงิน 1,350 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 69,650 บาท  (หกหมื่นเก้าพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน) งบประมาณ เหลือส่งคืนกองทุน    ไม่มี 4. ระยะเวลาดำเนินงาน    มีนาคม 2560 – กันยายน 2560 5.  ผลการดำเนินงาน กิจกรรม วิธีการ เครื่องมือ ผลการดำเนินงาน จัดอบรม/ประชุม อสม. เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อรับทราบนโยบาย ประชุม อสม.ที่ รพ.สต.ท่ามะปราง ใช้สื่ออิเล็คโทนิกส์  เช่น notebook  VCD  Projector จัดประชุม อสม. รวม จำนวน 8 หมู่บ้าน มี อสม. เข้าร่วมจำนวน 130 คน จัดอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพแก่สตรี และครอบครัวหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกราย จัดอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพแก่สตรีและครอบครัวหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกราย ใช้สื่ออิเล็คโทนิกส์  เช่น notebook  VCD  Projector มีสตรีมีครรภ์และสามีหรือผู้ดูแลหญิงมีครรภ์เข้าร่วมโครงการ จำนวน 240 ราย แจกนม – ไข่ แก่หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และเมื่อประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ของสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดคู่มือสีชมพู) ซึ่งประเมินตามคู่มือปฏิบัติการดูแลผู้ตั้งครรภ์แนวใหม่ขององค์การอนามัยโลก พบเกณฑ์ความเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อ สามารถมีสิทธิรับนม – ไข่ ของโครงการ โดยรับมอบไข่จำนวน 30 ฟอง/คน/เดือน และนมจำนวน 30 กล่องหรือกระป๋อง/คน/เดือน ตลอดการตั้งครรภ์ จนกว่าจะคลอดโดยนำสมุดบันทึกสุขภาพ แม่และเด็ก (เล่มคู่มือสีชมพู) เป็นหลักฐานในการขอรับเดือนละ 1 ครั้ง แจก นม – ไข่ แก่หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และเมื่อประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ของสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดคู่มือสีชมพู) -  นม -  ไข่ แจกนม ไข่ ในหญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และเมื่อเจาะเลือดเพื่อประเมินความเสี่ยง พบว่ามีความเสี่ยงตามเกณฑ์ของสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดคู่มือสีชมพู) รวมจำนวน 120 ราย

  • สตรีที่มาฝากครรภ์ที่ได้รับสนับสนุน นม – ไข่ ไปแล้วในบางราย ยังพบว่ามีความเข้มข้นของเลือด น้อยกว่า  33% นั้นอาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การได้รับ นม – ไข่ ไปแต่ไม่ได้รับประทานแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอาจรับประทานกันทั้งครอบครัว ทำให้ผลการเจาะเลือดยังพบว่ามีความเข้มข้นเลือดต่ำอยู่ หรือในบางรายอาจมีปัจจัยอื่นทางร่างกาย เช่น เป็นพาหะของโรคทาลัสซีเมีย ถึงแม้จะรับประทานนม – ไข่ครบทุกมื้อ ก็ไม่สามารถเพิ่มความเข้มข้นเลือดได้ เป็นต้น
  • การดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องมา ทำให้ตัวชีวัดของโครงการในปีต่อมา มีตัวเลขที่พึงประสงค์ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาเช่น หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ในปีนี้มีผลงานคิดเป็นร้อยละ 84.34 (เกณฑ์ ร้อยละ 75) ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม มีผลงานคิดเป็นร้อยละ 6.33 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7) มารดามีความเข้มข้นเลือดน้อยกว่า 33% ของการเจาะเลือดครั้งใดครั้งหนึ่งของการตั้งครรภ์ มีผลงานคิดเป็นร้อยละ 4.76 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10) ทำให้ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด
  1. ผลสัมฤทธิ์ ตามวัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัด -  การบรรลุตามวัตถุประสงค์ √ บรรลุตามวัตถุประสงค์ บรรลุตามวัตถุประสงค์
  2. ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน √ ไม่มี มี

- ปัญหา / อุปสรรค ขาดความต่อเนื่องของโครงการเนื่องจากการอนุมัติโครงการ ขาดความต่อเนื่องในช่วงรอยต่อของปีงบประมาณ 8. แนวทางแก้ไข  ควรอนุมัติสนับสนุนงบประมาณของโครงการ อย่างต่อเนื่องของรอยต่อปีงบประมาณ เพื่อให้สตรีมีครรภ์ที่มีความเสี่ยง นม – ไข่ อย่างต่อเนื่อง


ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมที่เพียงพอ
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อให้มารดามีความรู้ความเข้าใจในการฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์
ตัวชี้วัด :
0.00

 

3 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในเกณฑ์
ตัวชี้วัด :
0.00

 

4 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และได้รับการดูแลสุขภาพมารดาตลอดการตั้งครรภ์
ตัวชี้วัด :
0.00

 

5 เพื่อติดตามสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดและให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง และการเลี้ยงดูบุตรในระยะแรกคลอด
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 120
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมที่เพียงพอ (2) เพื่อให้มารดามีความรู้ความเข้าใจในการฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (3) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในเกณฑ์ (4) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และได้รับการดูแลสุขภาพมารดาตลอดการตั้งครรภ์ (5) เพื่อติดตามสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดและให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง และการเลี้ยงดูบุตรในระยะแรกคลอด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh