กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์ป้องกันโรคหัด

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการรณรงค์ป้องกันโรคหัด
รหัสโครงการ 62-L3013-05-03
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบานา
วันที่อนุมัติ 30 พฤศจิกายน 2561
ปี 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 ธันวาคม 2561 - 21 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 36,625.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอสดี เงาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ประเด็น
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

โรคหัดระบาดหนักในทุกอำเภอของจังหวัดปัตตานี ยอดผู้ป่วย 1,119 คน (อัตราป่วย 159.64) เสียชีวิตแล้ว 10 คน (อัตราตาย 1.43) ซึ่งผู้เสียชีวิตทั้งหมดไม่ได้รับวัคซีน พบผู้ป่วยสูงสุดในช่วงอายุ ค่ำกว่า 1 ปี คิดเป็น 992.84 ต่อแสนประชากร รองลงมา อายุ 1-4 ปี คิดเป็น 428.41 ต่อแสนประชากร โรคหัดที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ขณะนี้นั้น ยืนยันว่าโรคหัดมีวัคซีนป้องกันได้ 100 % ดังนั้นจึงอยากให้ประชาชนที่เป็นโรคหัดต้องระมัดระวังตัวเอง โรคหัดไม่มีอันตรายรุนแรงมาก แต่ที่อันตรายเพราะมีโรคแทรกซ้อนแล้วไม่ได้ระมัดระวัง ยังเป็นโรคที่ป้องกันได้

ในการนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา เร่งรณรงค์ป้องกันการระบาดของการเกิดโรคเร่งด่วน จึงรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือประชาชนทุกคน ทุกครอบครัว นำเด็กที่อายุ 9 เดือน ถึง 5 ปีไปรับการฉีดวัคซีน เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรค เชื่อมั่นว่าถ้าให้ความร่วมมือในการป้องกัน จะสามารถหยุดยั้ง และสร้างสุขภาพให้กับประชาชนได้

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. ข้อที่ 1. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายและภาคประชาชน ให้ความสำคัญ มีความเชื่อและทัศนคติทางบวก และเห็นประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโรคมากขึ้น
  2. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายและภาคประชาชน มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคจากวัคซีน วิธีการดูแลภายหลังฉีดวัคซีน ความรุนแรงและผลกระทบจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  3. เพื่อให้ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเด็กอายุ ๐-๕ ปี และกลุ่มผู้สัมผัสผ่านเกณฑ์ในพื้นที่เป้าหมาย
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมประชุมวางแผนงานรณรงค์
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคหัดและการรับวัคซีนป้องกันโรค
  3. กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ป้องกันโรคหัด
วิธีดำเนินการ
  1. คณะกรรมการกองทุนอนุมัติในหลักการให้ใช้งบประมาณกองทุนฯ 5-10 % หรือมากกว่า เพื่อรับมือภัยพิบัติ
  2. หน่วยงานหรือองค์กรใดก็ได้เขียนโครงการขอสนับสนุน
  3. ดำเนินอนุมัติโดยนายกฯให้ดำเนินโครงการ ตามกลวิธี 3.1 ประชุมมอบหมายหน้าที่แก่ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และภาคประชาชน 3.2 เผยแพร่ความรู้ เรื่อง ข้อมูลเกี่ยวกับโรค การดูแลสุขภาพของตนเองและการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดโรค และสนับสนุนสื่อแผ่นพับแก่กลุ่มเสี่ยง และชุมชน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดได้ครบตามเกณฑ์วัคซีน
  2. พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการให้บุตรหลานรับวัคซีนเพิ่มขึ้น
  3. เครือข่ายในชุมชน ได้แก่ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตาดีกา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเด็กปฐมวัยได้รับวัคซีน
  4. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ให้ความสำคัญ มีความเชื่อและทัศนคติทางบวกและเห็นประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโรค
  5. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคจากวัคซีน วิธีการดูแลภายหลังฉีดวัคซีน ความรุนแรงและผลกระทบจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  6. เครือข่ายทุกภาคส่วนในชุมชน มีความเข้าใจที่ถูกต้องและมีส่วนร่วมในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค