กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 5
รหัสโครงการ 60-LNK-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพบ้านบาโงฆาดิง ม.5
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 เมษายน 2560 - 30 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอสน๊ะ อิสมิง
พี่เลี้ยงโครงการ นางประภัสสร ขวัญกะโผะ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านบาโงฆาดิงหมู่ที่5 ตำบลนาเกตุอำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานีตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.744,101.155place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมียุงลายเป็นพาหนำโรค และมีอันตรายถึงแก่ชีวิต การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม-กันยายน ของทุกปี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรค สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการทำงายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและการควบคุมโรคด้านอื่นๆ ให้ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านบาโงฆาดิง หมู่ที่ 5 ตำบลนาเกตุอำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานีปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้

ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้

2 เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

เสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

3 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของหลัก 5 ป 1ข เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก

ส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของหลัก 5 ป 1ข เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก

4 เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจและมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง

ประชาชนมีความเข้าใจและมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดประชุมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่
2.จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยสนับสนุนการจัดกิจกรรมรณรงค์ในชุมชนที่มีการระบาดของโรค ร่วมกันกำจัดยุงลายในบ้าน ศาสนสถาน และโรงเรียน รวมทั้งให้ความรู้ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
2.1ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย 2.2ร่วมกันสำรวจ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน ด้วยการคว่ำและกำจัดแหล่งที่มีน้ำขังร่วมกัน ระหว่างคณะทำงานและประชาชนในชุมชน 2.3 รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลาย โดยวิธี (1.)ทางกายภาพ -จัดกิจกรรมรณรงค์ตามหลัก 5ป 1ข ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ในหมู่บ้าน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถานปอเนาะ (2.)ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน โรงเรียน และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย (3.)ทางชีวภาพ – จัดกิจกรรมให้ความรู้ป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยสมุนไพรในพื้นที่ 2.4พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย โดยใช้เครื่องพ่นหมอกควัน
(1).ควบคุมการระบาดโดยการกำจัดยุงพาหะ ด้วยวิธีพ่นหมอกควันทุกครั้งเมื่อมีการรายงานผู้ป่วย
(2).จัดกิจกรรมเสริมอื่นๆ เพื่อเพิ่มการเฝ้าระวังป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เช่น การพ่นสารเคมีการทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ ในชุมชน การให้ความรู้ในโรงเรียน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทำให้ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ 2.สามารถเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.ส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของหลัก 5 ป 1ข เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ทำให้ประชาชนมีความเข้าใจและมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2559 12:27 น.