กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสิ่งแวดล้อมดี สมุนไพรรักษาโรค หมู่ที่ 6 บ้านหัวควน
รหัสโครงการ 60-LNK-2-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพบ้านหัวควน ม.6
วันที่อนุมัติ 24 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววีราภรณ์ บุญรักษา
พี่เลี้ยงโครงการ นางประภัสสร ขวัญกะโผะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.744,101.155place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สมุนไพรและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของคนในชุมชนเป็นเวลานานเนื่องจากคนในชุมชนมีการพึ่งตนเองด้านการรักษาโรคด้วยสมุนไพรเมื่อเจ็บป่วยคนในชุมชนมีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาเบื้องต้นหรือการรักษากับหมอพื้นบ้านในหมู่บ้านของตน เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยโดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาและปัจจุบันประเทศไทยได้มีการสนใจใช้ยาสมุนไพรมากขึ้นเนื่องจากการรักษาแผนปัจจุบันบางครั้งมีผลข้างเคียงสมุนไพรเลยเป็นทางเลือกของคนในชุมชน จึงเลือกปลูกพืชสมุนไพรที่มีความหลากหลายสามารถเป็นทั้งอาหารและยาจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้มีการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนและยึดหลักการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงานของชุมชนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ให้คนในชุมชนทุกคนรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

 

2 เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อรักษาสุขภาพ

 

3 เพื่อให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนสวยงาม

 

4 เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชน

 

5 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พืชสมุนไพรเพื่อรักษาสุขภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมผู้นำและชาวบ้านเพื่อหาข้อสรุปปัญหาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน 2.จัดหาพันธ์ุพืชที่เหมาะสมกับการปลูกบริเวณหมู่บ้าน 3.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการใช้พืชสมุนไพรในชุมชน 4.จัดกิจกรรมปลูกพืชสมุนไพร ณ หมู่ที่ 6 บ้านหัวควน ตำบลนาเกตุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทำให้คนในชุมชนหมู่ที่ 6 บ้านหัวควน รักษาสิ่งแวดล้อม 2.ทำให้คนในชุมชนหมู่ที่ 6 บ้านหัวควนมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรแต่ละชนิด 3.ทำให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พืชสมุนไพร 4.ทำให้ชุมชนใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงพึ่งพาตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2559 12:34 น.