กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

๑.  ชื่อโครงการ  โครงการเฝ้าระวังและป้องกันไข้เลือดออกถวายองค์ราชันย์  ปีงบประมาณ  ๒๕๖๐

๒.  วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง                   ๒. เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหนะของโรคไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก       ๓. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๓.  งบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองพัทลุง  เป็นเงิน  ๑๒๗,๖๐๐  บาท  ได้ใช้จ่ายงบประมาณทั้งสิ้น  ๕๙,๖๐๐  บาท  ซึ่งมีค่าใช้จ่าย  ดังนี้ ๓.๑ ค่าอาหารกลางวัน  สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน  ๑๑๐ คน  จำนวน ๑  มื้อ ๆ ละ
๕๐ บาท  เป็นเงิน  ๕,๕๐๐ บาท ๓.๒ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๑๑๐ คน จำนวน ๒ มื้อ ๆ ละ ๒๕ บาท  เป็นเงิน  ๕,๕๐๐ บาท ๓.๓ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการประชุม  เช่น แฟ้ม ปากกา กระดาษ  จำนวน ๑๑๐ ชุด ๆ ละ
๓๐ บาท  เป็นเงิน  ๓,๓๐๐ บาท ๓.๔ ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน  ๒  คน  เป็นเงิน  ๕,๗๐๐ บาท ๓.๕ ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน ๑ ป้าย  เป็นเงิน  ๖๐๐ บาท ๓.๖ ค่าใช้จ่ายในการประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกของศูนย์แพทย์ทั้ง ๓ ศูนย์ดังนี้           ๓.๖.๑  ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ รวมเป็นเงิน ๑๓,๐๐๐ บาท  ประกอบด้วย               - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน  ๑ ป้าย  เป็นเงิน  ๖๐๐ บาท
              - ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน ๓ ชม. ๆ ละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน  ๑,๘๐๐ บาท
              - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม  ๑๕๐ คน ๆ ละ ๒๕ บาท
                                      เป็นเงิน  ๓,๗๕๐ บาท               - ค่าจ้างทำแผ่นพับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก จำนวน  ๗๐๐  ใบ ๆ ละ
      ๗ บาท  เป็นเงิน  ๔,๙๐๐ บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม  เป็นเงิน ๑,๙๕๐ บาท                                                                                       / ๓.๖.๒ ศูนย์แพทย์ชุมชน...


                                              - ๒ -


      ๓.๖.๒  ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ  รวมเป็นเงิน ๑๓,๐๐๐ บาท  ประกอบด้วย
        - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน  ๑ ป้าย  เป็นเงิน  ๖๐๐ บาท
              - ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน ๓ ชม. ๆ ละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน  ๑,๘๐๐ บาท
              - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม  ๑๕๐ คน ๆ ละ ๒๕ บาท
                                      เป็นเงิน  ๓,๗๕๐ บาท               - ค่าจ้างทำแผ่นพับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก จำนวน  ๗๐๐  ใบ ๆ ละ
      ๗ บาท  เป็นเงิน  ๔,๙๐๐ บาท     - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม  เป็นเงิน ๑,๙๕๐ บาท
      ๓.๖.๓  ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์  รวมเป็นเงิน ๑๓,๐๐๐ บาท  ประกอบด้วย     - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน  ๑ ป้าย  เป็นเงิน  ๖๐๐ บาท
              - ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน ๓ ชม. ๆ ละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน  ๑,๘๐๐ บาท
              - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม  ๑๕๐ คน ๆ ละ ๒๕ บาท
                                      เป็นเงิน  ๓,๗๕๐ บาท               - ค่าจ้างทำแผ่นพับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก จำนวน  ๗๐๐  ใบ ๆ ละ
      ๗ บาท  เป็นเงิน  ๔,๙๐๐ บาท       - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม  เป็นเงิน ๑,๙๕๐ บาท                                                                  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๕๙,๖๐๐ บาท                 คงเหลือเงินเมื่อหักค่าใช้จ่าย  ๖๘,๐๐๐ บาท

๔.  ระยะเวลาดำเนินการ เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนกันยายน  ๒๕๖๐ ๕.  ผลการดำเนินงาน ๕.๑ ประชุมคณะทำงานประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  เทศบาลเมืองพัทลุง  งานป้องกันควบคุมโรคและระบาดวิทยา  โรงพยาบาลพัทลุง  ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ  ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์  ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ  เพื่อกำหนดกิจกรรมและมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงาน ๕.๒ จัดประชุมให้ความรู้  คำแนะนำและแนวทางการดำเนินงาน  แก่กรรมการชุมชน  และ    อสม.  เมื่อวันศุกร์ที่ ๗  เมษายน  ๒๕๖๐  ณ  ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองพัทลุง  ดังนี้

/ ๕.๒.๑ นายสุเมธ บุญยก...


            &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;  - ๓ -<br />



    ๕.๒.๑ นายสุเมธ  บุญยก  นายกเทศมนตรีเมืองพัทลุง  เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม     ๕.๒.๒ ผู้เข้าร่วมประชุม  ประกอบด้วย  กรรมการชุมชน  อสม.  และเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองพัทลุง  โรงพยาบาลพัทลุง ศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง  ๓  ศูนย์  จำนวน  ๑๑๐  คน     ๕.๒.๓ เนื้อหาการประชุมประกอบด้วย             - สถานการณ์โรคไข้เลือดออก  โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลพัทลุง             - การดำเนินงานโรคไข้เลือดออกในชุมชน  โดย  ทีมงานวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำกะ  อำเภอศรีนครินทร์  จังหวัดพัทลุง             - กิจกรรมกลุ่ม  เรื่อง  การประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออก  โดย  ทีมงานวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง     ๕.๒.๔ แนวทางการดำเนินงานหลังการประชุม  เพื่อให้เกิดกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  คือ             ๕.๒.๔.๑  ประชุมคณะทำงาน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง  เจ้าหน้าที่งานป้องกันควบคุมโรคและระบาดวิทยาโรงพยาบาลพัทลุง  และเจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ  ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์  ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ  เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานและหลักเกณฑ์การประกวดชุมชน             ๕.๒.๔.๒  ศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง  ๓  ศูนย์  จัดประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกเพื่อคัดเลือก เป็นตัวแทนโซน ๆ ละ  ๒  ชุมชน  จำนวน ๖ ชุมชน  เพื่อเข้าร่วมประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออก เขตเทศบาลเมืองพัทลุง             ๕.๒.๔.๓  จัดประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกจากตัวแทนโชน  ๖  ชุมชน  เพื่อคัดเลือกเป็นชุมชนปลอดไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงโดยมีคณะกรรมการลงประเมินตามเกณฑ์การประกวด             ๕.๒.๔.๔  ติดตามประเมินผลชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นชุมชนปลอดไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง  เดือนละ  ๑  ครั้ง  เพื่อให้มีกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  เป็นชุมชนต้นแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง


/ ๕.๓ ศูนย์แพทย์ชุมชน...


- ๔ -


๕.๓ ศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง  ๓  ศูนย์  ได้ดำเนินงานต่อดังนี้
    ๕.๓.๑ ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ จัดอบรมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ  เรื่องการจัดประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนโซน ๆ ละ ๒ ชุมชน  จำนวน  ๖  ชุมชน  เพื่อเข้าร่วมประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกเขตเทศบาลเมืองพัทลุง แก่  กรรมการชุมชน  อสม. และแกนนำชุมชน ชุมชนละ ๑๐  คน  จำนวน  ๑๕๐  คน  ในวันพุธที่  ๑๗  พฤษภาคม  ๒๕๖๐  และจัดประกวด    ชุมชนปลอดไข้เลือดออกเพื่อเป็นตัวแทนของโซน ในการประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง  ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกคือ ชุมชน  วัดภูผาภิมุข  และชุมชนบ้านปากแพรก
    ๕.๓.๒ ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ จัดอบรมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ เรื่องการจัดประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนโซน ๆ ละ ๒ ชุมชน  จำนวน  ๖  ชุมชน  เพื่อเข้าร่วมประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกเขตเทศบาลเมืองพัทลุง แก่  กรรมการชุมชน  อสม. และแกนนำชุมชน ชุมชนละ ๑๐ คน  จำนวน  ๑๕๐  คน  ในวันศุกร์ที่  ๑๙  พฤษภาคม  ๒๕๖๐  และจัดประกวด  ชุมชนปลอดไข้เลือดออกเพื่อเป็นตัวแทนของโซน  ในการประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง  ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกคือ ชุมชนบ้านส้มตรีดออก  และชุมชนบ้านนางลาดเหนือ           ๕.๓.๓ ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ จัดอบรมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ เรื่องการจัดประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนโซน ๆ ละ        ๒  ชุมชน  จำนวน  ๖  ชุมชน  เพื่อเข้าร่วมประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกเขตเทศบาลเมืองพัทลุง แก่ กรรมการชุมชน อสม. และแกนนำชุมชน ชุมชนละ ๑๐ คน จำนวน ๑๕๐ คน ในวันพุธที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐  และจัดประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกเพื่อเป็นตัวแทนของโซน  ในการประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง  ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกคือ ชุมชนบ้านหน้าเขาอกทะลุ  และชุมชนบ้านหน้าท่าเรือ ๕.๔ ประชุมคณะทำงานประกอบด้วย เจ้าหน้าที่งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ      ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง        งานป้องกันควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลพัทลุง  ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ  ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์  ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ  เพื่อดำเนินงานจัดประกวดชุมชนปลอดไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง  จากชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนโซน  จำนวน  ๖  ชุมชน


/ ๕.๕ ชุมชน...


- ๕ -


๕.๕ ชุมชนทั้ง  ๖  ชุมชนยังไม่สามารถเป็นชุมชนปลอดไข้เลือดออกได้  เนื่องจาก  ยังมีผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชน  และพบแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน            (ค่า  HI > ๑๐)       ๖.  ข้อเสนอแนะการดำเนินงาน ๖.๑ ให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก  วิธีการป้องกันและควบคุมการเกิดโรค  เพื่อให้ประชาชนตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการป้องกันตนเอง ชุมชน  ให้ห่างไกลจากการเกิดโรคไข้เลือดออก ๖.๒ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  เพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนในการควบคุมการระบาดของโรค ๖.๓ กระตุ้นและเน้นย้ำให้ประชาชาสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้านและบริเวณรอบ ๆ บ้านของตนเอง  สัปดาห์ละ  ๑  ครั้ง ๖.๔ สร้างภาคีเครือข่ายในการทำงาน ทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และที่สำคัญ  คือ  ภาคประชาชน  เพราะเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่  ทราบปัญหาและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค  โดยร่วมกันคิด  วางแผน  และแก้ไขปัญหา  และจะต้องมีวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานอย่างชัดเจน  เพื่อเป็นกลไกในการดำเนินการให้สำเร็จ  มีประสิทธิภาพ  ต่อเนื่อง  และยั่งยืน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ๒.๑ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง 2.๒ เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหนะของโรคไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ๒.๓ เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงต่ำกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 110
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 110
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๒.๑ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง 2.๒ เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหนะของโรคไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ๒.๓ เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh