กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพภายในโรงเรียนบ้านควนลาแม
รหัสโครงการ 60-LNK-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านควนลาแม
วันที่อนุมัติ 24 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมาน ปะสู ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนลาแม
พี่เลี้ยงโครงการ นางประภัสสร ขวัญกะโผะ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านควนลาแม ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.744,101.155place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนกำหนดภารกิจในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างดุลยภาพการเรียนรู้ทางวิชาการควบคู่กับวิถีแห่งการสร้างเสริมให้ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี ด้วยโรงเรียนตระหนักถึง การส่งเสริมสุขภาพ จึงจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมกีฬา กิจกรรมการแปรงฟัน ป้องกันฟันผุ กิจกรรมป้องกันผิวหนัง กิจกรรมกำจัดเหา ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่7 ว่าด้วยผู้เรียนมีสุขนิสัยสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้มแข็งในภารกิจของการส่งเสริมสุขภาพอย่างรอบด้านนักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี

สร้างความเข้มแข็งในภารกิจของการส่งเสริมสุขภาพอย่างรอบด้านนักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี

2 เพื่อสร้างศักยภาพการบริการด้านสุขภาพให้ผู้เรียนอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

สร้างศักยภาพการบริการด้านสุขภาพให้ผู้เรียนอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

3 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน

ส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน

4 เพื่อแก้ปัญหาให้มีนักเรียนฟันผุไม่เกินร้อยละ 40

แก้ปัญหาให้มีนักเรียนฟันผุไม่เกินร้อยละ 40

5 ผู้ปกครองและครูมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพฟัน

ผู้ปกครองและครูมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพฟัน

6 นักเรียนปลอดจากการเป็นหิดร้อยละ 100

นักเรียนปลอดจากการเป็นหิดร้อยละ 100

7 นักเรียนปลอดจากการเป็นเหาร้อยละ 100

นักเรียนปลอดจากการเป็นเหาร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.สำรวจข้อมูลนักเรียนทั้งโรงเรียน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้ความรู้แก่ครูนักเรียนและผู้ปกครองในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีและการดูแลอนามัยช่องปากอย่างถูกต้อง 4.เชิญแพทย์แผนไทยมาสาธิตการทำสมุนไพรกำจัดหิด และเหา 5.จัดให้นักเรียนทุกคนได้แปรงฟันหลังรับประทานอาหารเที่ยงทุกวัน 6.ทำการกำจัดหิด และเหาให้นักเรียนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 7.ติดตามผล สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนมีอนามัยช่องปากที่ดีไม่เป็นปัญหาฟันผุ 2.ผู้ปกครองเข้าใจและตระหนักเห็นความสำคัญการดูแลอนามัยช่องปาก 3.นักเรียนปลอดจากการเป็นหิด และเหา 4.ชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลอนามัยช่องปากและฟัน 5.เด็กนักเรียนได้รับการดูแลอนามัยช่องปากและแปรงฟันอย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2559 09:24 น.