กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. สรุปกิจกรรม ที่ได้ดำเนินการ มีดังนี้
    1. ประชุมชี้แจง ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ร่วมกับ บุคลากรสาธารณสุข อสม. และแกนนำสุขภาพ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้  ครั้งที่ 1 วันที่  19 พฤษภาคม 2560  ครั้งที่ 2 วันที่  20 มิถุนายน  2560  ครั้งที่ 3 วันที่  21 กรกฎาคม  2560  ครั้งที่ 4 วันที่  21 สิงหาคม    2560         2. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อป้องกันการเกิดโรครายใหม่ (กลุ่มเสี่ยงสูง) ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้  ครั้งที่ 1 ติดตาม 2 เดือน วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 ประเมินภาวะสุขภาพ (ชั่งน้ำหนัก/วัดความดันโลหิต/วัดรอบเอว) ให้ความรู้เรื่องหลักการบริโภคอาหารอย่างถูกวิธี/ใบ้คำอาหาร และให้ความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม/การบริหารร่างกายเพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ผลการประเมินภาวะสุขภาพ พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ร้อยละ 16.67 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ร้อยละ 50.00 กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 33.33
       ครั้งที่ 2 ติดตาม 2 เดือน วันที่ 28 มิถุนายน 2560 ประเมินภาวะสุขภาพ (ชั่งน้ำหนัก/วัดความดันโลหิต/วัดรอบเอว) ให้ความรู้เรื่องผักผลไม้ที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และสาธิตวิธีทำน้ำเกลือแร่แก้ท้องร่วง สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผลการประเมินภาวะสุขภาพ พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ร้อยละ 20.00 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ร้อยละ 50.00 และเป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 13.33
       ครั้งที่ 3 ติดตาม 2 เดือน วันที่ 26 กรกฎาคม 2560 ประเมินภาวะสุขภาพ (ชั่งน้ำหนัก/วัดความดันโลหิต/วัดรอบเอว) ให้ความรู้เรื่องโรคที่เราสร้างขึ้นเอง (NCD) และสาธิตการ 'แกว่งแขน' ลดพุงลดโรคอย่างถูกต้อง ผลการประเมินภาวะสุขภาพ พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ร้อยละ 16.67 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ร้อยละ 36.67 และเป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 3.33
  2. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ SHG (กลุ่มป่วย) จำนวน 6 ครั้ง ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ดังนี้  ครั้งที่ 1 วันที่ 3 พฤษภาคม 2560 ให้ความรู้เรื่องการรับประทานยาที่ถูกวิธี และให้ความรู้เรื่อง 10 สัญญาณในร่างกาย ที่จะบอกว่าคุณเป็นโรค  ครั้งที่ 2 วันที่ 7 มิถุนายน 2560 ให้ความรู้เรื่องการจัดการความเครียด และนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ “นั่งรถรางชมเมืองสงขลา”  ครั้งที่ 3 วันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคไต/อาการ/สาเหตุ ให้ความรู้เรื่องความสำคัญของระบบน้ำเหลืองในร่างกาย และสาธิตกายบริหารกระตุ้นต่อมน้ำเหลือง  ครั้งที่ 4 วันที่ 3 สิงหาคม 2560 ให้ความรู้เรื่อง 10 อันดับผลไม้แคลอรี่ต่ำ/ตารางแคลอรี่ผลไม้ 10 อันดับ ให้ความรู้เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้ชนิดต่างๆ/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ (ยำผลไม้)  ครั้งที่ 5 วันที่ 11 สิงหาคม 2560 ให้ความรู้เรื่อง นาฬิกาชีวิต และให้ความรู้เรื่องหลักการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  ครั้งที่ 6 วันที่ 18 สิงหาคม 2560 ให้ความรู้เรื่องโรคไตและเล่าประสบการณ์จริง จากผู้ป่วยโรคไต/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม
  3. คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ตามแบบฟอร์มสำหรับคัดกรองผู้สูงอายุ (Basic Geriatric Screening: BGS) จำนวน 300 คน ซึ่งผลการสำรวจสามารถนำมาเป็นฐานข้อมูลใช้สำหรับดูแลพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ เช่น ช่องปาก ภาวะซึมเศร้า สภาพสมอง เข่าเสื่อม หกล้ม กลั้นปัสสาวะ ตลอดจนความสามารถในการทำกิจวัตร และพฤติกรรมพึงประสงค์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการจัดหากิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีที่มีปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในด้านต่าง ๆ ต่อไป
  4. คัดกรองและประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตามแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI) จำนวน 120 คน ซึ่งผลการสำรวจสามารถนำมาเป็นฐานข้อมูลใช้สำหรับดูแลคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรังในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อเป็นการจัดหากิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ต่อไป
  5. การประเมินผล สรุปโครงการ

  6. สรุปการใช้งบประมาณ 5.1 งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวนทั้งสิ้น 34,650   บาท 5.2 งบประมาณที่ใช้จริง จำนวนทั้งสิ้น 22,570   บาท ดังรายการต่อไปนี้ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวนทั้งสิ้น 13,750 บาท 2. ค่าชุดส่งเสริมสุขภาพสตรี จำนวนทั้งสิ้น     - บาท

  7. ค่าจ้างสำรวจและประเมินภาวะสุขภาพ จำนวนทั้งสิ้น   6,000 บาท   ผู้สูงอายุสำหรับแกนนำ
  8. ค่าจ้างสำรวจและประเมินคุณภาพชีวิต จำนวนทั้งสิ้น   2,400 บาท   ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5. ค่าเอกสารสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น     420 บาท รวม           22,570 บาท 5.3 เหลือคืนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 12,080 บาท หมายเหตุ : ยอดเงินคงเหลือเนื่องจาก

- กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มสตรีอายุ 30 – 60 ปี ค่าชุดส่งเสริมสุขภาพสตรี ที่มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก เกิดข้อท้วงติงจากทาง รพ.สงขลา เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงยกเลิก ค่าชุดส่งเสริมสุขภาพสตรี ที่มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก เหลือคืน จำนวน 10,000 บาท - กิจกรรมที่ 5 และ กิจกรรมที่ 6 ค่าเอกสารสำรวจ เหลือคืน จำนวน 2,080 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรครายใหม่
ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการวินิจฉัย เป็นผู้ป่วยรายใหม่ น้อยกว่าร้อยละ 3

 

2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ส่งต่อทันเวลา และลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
ตัวชี้วัด : 2. กลุ่มป่วยมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าร้อยละ 3

 

3 3. เพื่อให้กลุ่มสตรี อายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์
ตัวชี้วัด : 3. สตรี อายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20

 

4 4. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน
ตัวชี้วัด : 4. ผู้สูงอายุได้รับการประเมิน ADL/พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์มากกว่าร้อยละ 90

 

5
ตัวชี้วัด : 5. ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมดูแลตามเกณฑ์ร้อยละ 100

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 580
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 300
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรครายใหม่ (2) 2. เพื่อให้ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ส่งต่อทันเวลา และลดภาวะแทรกซ้อนของโรค (3) 3. เพื่อให้กลุ่มสตรี อายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์ (4) 4. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน (5)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh