กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. สรุปกิจกรรมที่ได้ดำเนินการดังนี้
    1. กิจกรรมประชุมชี้แจงการดำเนินงาน โครงการของคณะทำงานและ อสม. แกนนำสุขภาพ ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง จำนวน 4 ครั้ง   -  วันที่  17  พฤษภาคม  2560   -  วันที่  21  มิถุนายน    2560   -  วันที่  19  กรกฎาคม  2560   -  วันที่  16  สิงหาคม    2560
  2. กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อป้องกันมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก โดยให้ความรู้ในการตรวจเต้านมด้วยตนเองและให้คำแนะนำในการไปรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง  หรือ โรงพยาบาล
  3. กิจกรรมการคัดกรองสุขภาพ และให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมในชุมชน เขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง จำนวน 7 ชุมชน ระหว่างวันที่      3 - 22  มิถุนายน  2560
  4. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อป้องกันการเกิดโรครายใหม่ของกลุ่มเสี่ยงสูงในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง   -  ครั้งที่ 1 ติดตาม วันที่  31  พฤษภาคม  2560  ณ  ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนท่าสะอ้าน   -  ครั้งที่ 2 ติดตาม วันที่  20  กรกฎาคม  2560  ณ  ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนท่าสะอ้าน   -  ครั้งที่ 3 ติดตาม วันที่  22  สิงหาคม    2560    ณ  ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนท่าสะอ้าน
  5. กิจกรรมในกลุ่มป่วย
    5.1 จัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื่อรัง จำนวน 2 ครั้ง   -  วันที่ 7 มิถุนายน 2560 และวันที่ 2  สิงหาคม  2560 ณ อาคารอเนกประสงค์ศูนย์บริการ
    สาธารณสุขเตาหลวง โดยมีกลุ่มเป้าหมายครั้งละ 75 คน และจัดฐานการเรียนรู้ จำนวน 5 ฐาน ดังนี้     *  ฐานที่  1  ฐานอ่อนหวาน ลดหวาน มันเค็ม เพิ่มผักผลไม้ *  ฐานที่  2  ฐานเท้าสวยด้วยมือเรา *  ฐานที่  3  ฐานดูแลสุขภาพช่องปาก *  ฐานที่  4  ฐานดูแลตนเอง และ การลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง *  ฐานที่  5  ฐานการออกกำลังกาย และ สันทนาการ 5.2 จัดอบรม ห่วงใยใส่ใจผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเพื่อชะลอไตเสื่อมให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล  จำนวน 80 คน วันที่ 28  มิถุนายน 2560  ณ อาคารอเนกประสงค์ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย จาก โรงพยาบาลสงขลา 5.3 จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้าน และประเมินภาวะสุขภาพด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน เขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง จำนวน 120 คน โดยใช้ แบบประเมินของ      องค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL –BREF - THAI). จำนวน 26 ข้อ

ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้

การประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยใช้แบบสอบถามเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF - THAI) มีข้อคำถามซึ่งถามถึงประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามสำรวจตนเองและประเมินเหตุการณ์หรือความรู้สึกของตนเอง ซึ่งมีคำถาม 5 ตัวเลือก คือ<br />

ไม่เลย       หมายถึง ท่านไม่มีความรู้สึกเช่นนั้นเลย รู้สึกไม่พอใจมาก หรือรู้สึกแย่มาก เล็กน้อย      หมายถึง ท่านมีความรู้สึกเช่นนั้นนาน ๆ ครั้ง รู้สึกเช่นนั้นเล็กน้อย รู้สึกไม่พอใจหรือรู้สึกแย่ ปานกลาง    หมายถึง ท่านมีความรู้สึกเช่นนั้นปานกลาง รู้สึกเช่นนั้นระดับกลางๆ หรือรู้สึกแย่ระดับกลางๆ มาก            หมายถึง ท่านรู้สึกเช่นนั้นบ่อย ๆ รู้สึกพอใจหรือรู้สึกดี มากที่สุด      หมายถึง ท่านมีความรู้สึกเช่นนั้นเสมอ รู้สึกเช่นนั้นมากที่สุด หรือรู้สึกว่าสมบูรณ์ รู้สึกพอใจมาก รู้สึกดีมาก จากการสุ่มประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้ง 7 ชุมชน ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง จำนวน 120 คน ได้ข้อมูลดังนี้ -  ชุมชนหัวป้อม                จำนวน    29    ราย
-  ชุมชนนอกสวน              จำนวน    18    ราย -  ชุมชนศาลาหัวยาง          จำนวน    15    ราย
-  ชุมชนวังเขียว - วังขาว    จำนวน    16    ราย -  ชุมชนสวนมะพร้าว        จำนวน      8    ราย -  ชุมชนท่าสะอ้าน            จำนวน    25    ราย -  ชุมชนหลังวัดอุทัยธาราม  จำนวน    12    ราย


แยกกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน (คน)   เบาหวาน 24   ความดันโลหิตสูง 71   เบาหวานและความดันโลหิตสูง 25 รวม 120 จากการประเมิน พบว่า ระดับพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีดังนี้ ระดับพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ   มากที่สุด 10.83   มาก 46.67   ปานกลาง 37.50   เล็กน้อย 4.17   ไม่เลย 0.83 ข้อเสนอแนะ ควรมีการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างน้อยปีละครั้ง 6. จัดกิจกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ   -  เยี่ยมบ้านและประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนพี้นที่รับผิดชอบ ทางศูนย์บริการสาธารณสุข
เตาหลวง จำนวน 300 คน โดยใช้แบบประเมินของผลการประเมินสำหรับคัดกรองผู้สูงอายุ( Basic Geriatric
  Screening : BGS ) สรุปดังนี้ จากการสำรวจและประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนทั้ง 7 ชุมชน เขตรับผิดชอบศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง  โดยใช้แบบฟอร์มคัดกรองผู้สูงอายุ (Basic Geriatric Screening : BGS) 1. ช่วงอายุ 60 – 70 ปี  = 193 คน  คิดเป็นร้อยละ  64.33   ช่วงอายุ 70 – 80 ปี  =  81 คน  คิดเป็นร้อยละ  27.00   ช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไป  =  26 คน    คิดเป็นร้อยละ    8.67 2. การประเมินปัญหาสำคัญและโรคที่พบบ่อย

โรค จำนวน (คน) ร้อยละ   เบาหวาน 55 18.33   ความดันโลหิตสูง 148 49.33   เบาหวานและความดันโลหิตสูง 62 20.67   ไม่ป่วย 35 11.67   รวม 300 100 3. การประเมินพฤติกรรมการทำความสะอาดสุขภาพช่องปาก พบว่า ผู้สูงอายุอยู่ในเกณฑ์มีพฤติกรรม            เหมาะสม จำนวน 271 คน คิดเป็นร้อยละ 90.33 อยู่ในเกณฑ์พฤติกรรมไม่เหมาะสม จำนวน 29 คน
คิดเป็นร้อยละ 9.67 4. การประเมินการคัดกรองสุขภาวะทางตา     - ไม่มีปัญหา    211 คน    คิดเป็นร้อยละ  70.33
    - มีปัญหา      89  คน    คิดเป็นร้อยละ  29.67 5. การคัดกรองซึมเศร้า  2 Q     - ปกติ          297  คน    คิดเป็นร้อยละ  99.00
    - มีความเสี่ยง    3  คน    คิดเป็นร้อยละ  1.00 6. การทดสอบสมรรถภาพสมอง (AMT)     - รู้คิดปกติ      278  คน    คิดเป็นร้อยละ 92.67     - รู้คิดผิดปกติ    22  คน    คิดเป็นร้อยละ  7.33 7. การคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม     -  ปวดเข่า      118  คน    คิดเป็นร้อยละ 39.33     -  ไม่ปวดเข่า  182  คน    คิดเป็นร้อยละ 60.67 8. การคัดกรองภาวะหกล้ม     - ปกติ          288  คน    คิดเป็นร้อยละ 96.00     - มีความเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม  12 คน    คิดเป็นร้อยละ 4.00 9. การคัดกรองภาวะกลั้นปัสสาวะ     - ไม่มี            300  คน    คิดเป็นร้อยละ 100     - มี   0  คน    คิดเป็นร้อยละ  0


  1. การประเมินสมรรถนะ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL)     - กลุ่ม 1        297  คน    คิดเป็นร้อยละ  99.00     - กลุ่ม 2          3  คน    คิดเป็นร้อยละ  1.00     - กลุ่ม 3          0  คน    คิดเป็นร้อยละ  0.00
  2. พฤติกรรมสุขภาพ พึงประสงค์ 5 ข้อ     - สุขภาพพึงประสงค์      298 คน    คิดเป็นร้อยละ 99.33     - สุขภาพไม่พึงประสงค์      2  คน  คิดเป็นร้อยละ  0.67

  3. สรุปการใช้งบประมาณ 5.1 งบประมาณที่ได้จัดสรร จำนวนทั้งสิ้น 97,150 บาท 5.2 งบประมาณที่ใช้จริง จำนวนทั้งสิ้น 79,850  บาท 1. ค่าอาหารกลางวันอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  54,750  บาท 2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน    1,200  บาท 3. ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน    5,500  บาท 4. ค่าวัสดุและเจาะเลือดเบาหวาน จำนวน  10,000  บาท 5. ค่าจ้างสำรวจ และประเมินภาวะสุขภาพ จำนวน    8,400  บาท     รวมทั้งสิ้น             79,850  บาท ยอดคงเหลือคืนกองทุนฯ 17,300  บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสุขภาพตามเกณฑ์
ตัวชี้วัด : ๑.ประชาชนอายุ๓๕ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสุขภาพ ร้อยละ๙๐ ๑.๑กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ๘๐ ๑.๒กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเรื้อรังเกิดเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่น้อยกว่า ร้อยละ๓

 

2 ๒.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรครายใหม่
ตัวชี้วัด : ๒.กลุ่มโรคเรื้อรังที่ได้รับการรักษาที่ PCU ได้รับการดูแลตามมาตรฐานเฉพาะโรค ร้อยละ ๙๐

 

3 ๓.เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพและลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
ตัวชี้วัด : ๓.หญิงอายุ๓๐-๗๐ปีสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ร้อยละ๘๐

 

4 ๔.เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพที่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ๔.หญิงอายุ๓๐-๖๐ปีสามารถตรวจมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ๒๐

 

5
ตัวชี้วัด : ๕.ผู้ป่วยเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า ร้อยละ๓

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 6719
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 6,719
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๑.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสุขภาพตามเกณฑ์ (2) ๒.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรครายใหม่ (3) ๓.เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพและลดภาวะแทรกซ้อนของโรค (4) ๔.เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพที่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (5)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh