กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  • ผลการดำเนินงาน
    จากการที่ทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปันแตได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงขึ้น อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ว่าอยู่ในระดับใด เพื่อเฝ้าระวังและรักษา โดยในปีงบประมาณ 256๑ ได้มีการเจาะเลือดเกษตรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ ๖๗.๙๖ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๑ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๗.๑๔ ปลอดภัย ร้อยละ ๑๗.๑๔ เสี่ยง ร้อยละ ๔๕.๗๒ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๓๐.๐๐ กรณีพบว่า เสี่ยงและไม่ปลอดภัยในครั้งที่ ๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๒ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๑๓.๓๓ ปลอดภัย ร้อยละ ๒๖.๖๗ เสี่ยง ร้อยละ ๕๓.๓๓ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๖.๖๗ จะเห็นได้ว่าเกษตรกรยังมีระดับผลเลือดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยค่อนข้างสูง ทั้งยังมีการศึกษาอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างกว้างขวางและพบว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้สามารถถูกสะสมในร่างกายมนุษย์ได้เป็นเวลานาน ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ การดูดซึมทางผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และการรับประทาน จากข้อมูลข้างต้นเป็นที่น่าเป็นห่วงทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคที่มีความเสี่ยงจะได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผลผลิตทางการเกษตร ในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงขยายการเฝ้าระวังจากเฉพาะเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ฉีดพ่นยาฆ่าแมลง มาสู่ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปที่สามารถรับยาฆ่าแมลงผ่านช่องทางต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นแล้ว ดังนั้นเพื่อเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพจากสารเคมี ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป และให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งผลจาการดำเนินการตามวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้     ๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ทั้งสิ้นจำนวน ๗๒๘ คน มีผลดังนี้   ๑.๑ เจาะเลือดประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๑ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๒.๓๓ ปลอดภัย ร้อยละ ๔๒.๘๖ เสี่ยง ร้อยละ ๓๒.๒๘ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๒๒.๕๓   ๑.๒ กรณีพบว่า เสี่ยงและไม่ปลอดภัยในครั้งที่ ๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๒ มีผู้มาเจาะเลือดครั้งที่ ๒ ร้อยละ ๔๙.๘๗ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๐ ปลอดภัย ร้อยละ ๑๑.๕๖ เสี่ยง ร้อยละ ๕๓.๒๗ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๓๕.๑๗   ๑.๓ กลุ่มเสี่ยงที่มาเจาะเลือดครั้งที่ ๒ มีผลเลือดเท่าเดิม ร้อยละ ๔๙.๒๕ ดีขึ้น ร้อยละ ๓๗.๖๙ แย่ลง ร้อยละ ๑๓.๐๖ ๒.เกษตรกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกราย โดยได้ทำการคัดกรองตามแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นบก.1 เพื่อทราบถึงพฤติกรรมการใช้สารเคมีของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังให้ความรู้โดยใช้สื่อจากแผ่นพับการล้างผักที่ถูกวิธี และแผ่นพับการใช้สมุนไพรล้างพิษ เจาะจงเป็นรายบุคคล ผู้ที่มีระดับสารเคมีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตจะจ่ายยาผงรางจืดชงรับประทาน ๑ เดือน แล้วนัดมาเจาะเลือดซ้ำครั้งที่ ๒ เพื่อเฝ้าระวังต่อไป

จะเห็นได้ว่า ทางโครงการ ตั้งเป้าหมายไว้ ร้อยละ ๓๐ ของประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๗๒๑ คน ซึ่งจากการดำเนินโครงการมีผู้ได้รับการตรวจเพิ่มจากเป้าหมายเป็น ๗๒๘ คน จากการเจาะเลือดครั้งที่ ๑ ผลเลือดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยค่อนข้างสูง เมื่อนัดเจาะครั้งที่ ๒ กลุ่มนี้มารับบริการเพียง ร้อยละ ๔๙.๒๕ แต่ผลเลือดส่วนใหญ่กลุ่มนี้ยังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ซึ่งผลเลือดส่วนใหญ่จะเท่าเดิมไม่เปลี่ยน แม้จะดีขึ้นมาอยู่ในช่วงปลอดภัยแล้ว ร้อยละ ๑๑.๕๖ ก็ยังจำเป็นที่ยังต้องมีการเฝ้าระวังประชาชนเกี่ยวการสารเคมีตกค้างต่อไป - งบประมาณ 2๑,๔๕0 บาท ดังนี้ 1. กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในปะชาชน อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป   ๑.๑ ค่าชุดอุปกรณ์ตรวจหาโคลีนเอสเตอเรสในเลือด จำนวน ๑ ชุด เป็นเงิน ๑,๘๕๐ บาท   ๑.๒ ค่าชุดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด ๑๐ ชุด ชุดละ ๙๕๐ บาท เป็นเงิน ๙,๕๐๐ บาท         ๑.๓ เข็มเจาะปลายนิ้ว กล่องละ ๒๐๐ ชิ้น ๑,๒๐๐ บาท จำนวน ๕ กล่อง เป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท         ๑.๔ สำลีชุบแอลกอฮอล์สำเร็จ แผงละ ๘ ก้อน กล่องละ ๑๐๐ แผง กล่องละ ๘๕๐ บาทจำนวน ๒ กล่อง เป็นเงิน ๑,๗๐๐ บาท ๑.๕ ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หน้า-หลัง แผ่นละ ๑ บาท จำนวน ๘๐0 ชุด เป็นเงิน ๘๐0 บาท
2. กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๒.๑ ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับการล้างผักที่ถูกวิธี หน้า-หลัง แผ่นละ ๑ บาท จำนวน ๘๐0 ชุด เป็นเงิน ๘๐0 บาท ๒.๒ ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่อง รางจืด หน้า-หลัง แผ่นละ ๑ บาท จำนวน ๘๐0 ชุด เป็นเงิน ๘๐0 บาท - ปัญหา/อุปสรรค
๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่มารับบริการเจาะเลือดครั้งที่ ๒ ในวันเวลาที่นัดหมาย
๒. รางจืดมีไม่เพียงพอกับกลุ่มเสี่ยง - แนวทางแก้ไข ๑. เพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสนใจมารับบริการ ๒. ส่งเสริมการปลูกรางจืดในครัวเรือน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อระวังสภาวะสุขภาพจากสารเคมี ในประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป
ตัวชี้วัด :
0.00 721.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 721 721
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 721 721
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อระวังสภาวะสุขภาพจากสารเคมี ในประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. เฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในประชาชน (2) 1.2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh