กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. สรุปกิจกรรม ที่ได้ดำเนินการ มีดังนี้

    1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง/คณะทำงานและ แกนนำ อสม./ประชาชนในชุมชนเพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ รายละเอียดกิจกรรม และติดตามการดำเนินงานโครงการ
    2. แกนนำ อสม./ประชาชน ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทางหอกระจายข่าว
    3. เดินรณรงค์ ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลาย โดยวิธี การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ใช้สารเคมี โดยการใส่ทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และสนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ รวมถึงแจกเอกสารแผ่นพับเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
    4. สำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลาย ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน ตามมาตรการหลัก 3 เก็บ + 5ป. 1ข. + 5ส. ดังนี้ 3 เก็บ คือ เก็บบ้าน เก็บน้ำ เก็บขยะ 5ป. 1ข. คือ 1. ปิดภาชนะใส่น้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายวางไข่ ในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ หรือให้ใส่เกลือ น้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอกลงในจานรองตู้กับข้าวเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ได้ 2. เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ จานรองขาตู้กับข้าว และภาชนะใส่น้ำที่ให้สัตว์เลี้ยงต่างๆ ภายในบ้านเรือน เช่น นก ไก่ สุนัข แมว ทุกสัปดาห์หรือใส่เกลือแกง น้ำส้มสายชู ล้างภาชนะน้ำดื่ม น้ำใช้ ทุก ๗ วัน เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่ 3. ปล่อยปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ในโอ่งน้ำ บ่อน้ำ หรืออ่างน้ำ อ่างบัว เพื่อทำลายลูกน้ำยุงลาย 4. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ทั้งภายในและภายนอก ที่สาธารณะ ไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เก็บคว่ำ ทำลายภาชนะน้ำขังที่ไม่ใช้ เช่น กระป๋อง ยางรถยนต์ เศษวัสดุอื่นที่เวลาฝนตกแล้วจะทำให้เกิดน้ำขังได้ หรือเก็บเข้าไว้ในร่ม หมั่นทำความสะอาดบริเวณบ้านและสวน ไม่ให้มีใบไม้สะสม ที่อาจเป็นแหล่งน้ำขัง และแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เวลาฝนตกใส่ทรายอะเบทในภาชนะน้ำขังที่ไม่สามารถล้างได้ทุกๆ ๗ วัน กำจัดยุงลายตัวแก่ โดยวิธี ฉีดยากันยุง ใช้ไม้ตียุงไฟฟ้า จุดยากันยุง ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนกางมุ้ง ไม่อยู่ในที่มืด และทายากันยุง 5. ปฏิบัติประจำจนเป็นนิสัย โดยปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และ ๖. ขัดล้างไข่ยุงลายบริเวณขอบภาชนะ เพื่อขัดไข่ยุงลายออกก่อนล้างภาชนะทุกครั้ง และ 5ส. คือ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย
    5. สรุปผลการดำเนินงาน
  2. สรุปการใช้งบประมาณ 5.1 งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวนทั้งสิ้น 7,650 บาท 5.2 งบประมาณที่ใช้จริง จำนวนทั้งสิ้น 7,650 บาท ดังรายการต่อไปนี้ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวนทั้งสิ้น 2,250 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวนทั้งสิ้น 2,000 บาท 3. ค่าไวนิล จำนวนทั้งสิ้น 500 บาท 4. ค่าอุปกรณ์ไฟฉาย จำนวนทั้งสิ้น 600 บาท 5. ค่าเอกสารให้ความรู้ จำนวนทั้งสิ้น 1,000 บาท 6. ค่าเงินรางวัลประกวดซอยปลอดโรค จำนวนทั้งสิ้น 1,000 บาท   ไข้เลือดออก 5. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 300 บาท รวม 7,650 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรค ไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ลดลง

 

2 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
ตัวชี้วัด : 2. ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI เท่ากับ 0

 

3 3. เพื่อลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI เท่ากับ 0
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรค ไข้เลือดออก (2) 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ (3) 3. เพื่อลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI เท่ากับ 0

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh