กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมด้านส่งเสริมป้องกัน

เป็นกิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครอง เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หลักสูตร 1 วัน/ศพด.

เป้าหมาย - ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 331 คน

  • ผู้ปกครอง ศพด.บ้านควนไสน จำนวน 65 คน

  • ผู้ปกครอง ศพด.บ้านท่าแลหลา จำนวน 65 คน

  • ผู้ปกครอง ศพด.บ้านป่าฝาง  จำนวน 73 คน

  • ผู้ปกครอง ศพด.บ้านปากปิง  จำนวน 99 คน

  • ผู้ปกครอง ศพด.บ้านตูแตหรำ จำนวน 29 คน

ผลการดำเนินงาน การประเมินความรู้โดยการทำแบบประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรมเรื่องความรู้เกี่ยวกับโรคฟังผุ การดูแลสุขภาพช่องปาก อาหารที่มีประโยชน์และโทษต่อฟัน โดยใช้แบบทดสอบจำนวน 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน คะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยให้ผู้เข้าอบรมขีดเครื่องหมายในช่องที่เห็นว่าใช่ หรือไม่ใช่ ในแบบประเมิน ผลปรากฎ ดังนี้

ก่อนการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฟันผุ การดูแลสุขภาพช่องปาก อาหารที่มีประโยชน์และโทษต่อฟัน ได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 65.00 มีผู้ได้คะแนนสูงสุด 9 คะแนน และคะแนนต่ำสุด 1 คะแนน โดยมีคะแนนเฉลี่ย 6.46 คะแนน

หลังการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฟันผุ การดูแลสุขภาพช่องปาก อาหารที่มีประโยชน์และโทษต่อฟัน ได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 90.09 มีผู้ได้คะแนนสูงสุด 10 คะแนน และคะแนนต่ำสุด 6 คะแนน โดยมีคะแนนเฉลี่ย 9.01 คะแนน

ผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 331 คน จากการทำแบบทดสอบก่อน-หลังการอบรม แสดงให้เห็นว่าเมื่อเสร็จสิ้นการอบรมแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 36.5


กิจกรรมที่ 2 ด้านการรักษา

กิจกรรมที่ 2.1 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กทุกคน

ผลการดำเนินงาน จากจำนวนเด็กทั้งหมด จำนวน 331 คน

  • ได้รับตรวจฟัน จำนวน 310 คน คิดเป็นร้อยละ 93.66

  • จำนวนเด็กที่ปราศจากฟันผุ จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 21.61

  • จำนวนเด็กที่มีฟันผุ จำนวน 243/1645 คน/ซี่ คิดเป็นร้อยละ 78.39


    กิจกรรมที่ 2.2 ให้การบูรณฟันด้วยวิธี SMART technique ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ

ผลการดำเนินงาน จากจำนวนเด็กทั้งหมด จำนวน 331 คน

  • จำนวนเด็กที่ได้รับการบูรณฟัน ทั้งหมด 202/569 คน/ซี่ คิดเป็นร้อยละ 83.13

ดังนั้น นักเรียนที่ได้รับการบูรณฟันแล้วสามารถควบคุมรอยโรคฟันผุไม่ให้ผุลุกลามต่อในฟันน้ำนม และลดโอกาสเสี่ยงโรคฟันผุได้ถึงร้อยละ 50


กิจกรรมที่ 2.3 ติดตามผล 1 เดือนภายหลังการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART แล้ว เด็กไม่มีอาการปวดฟัน

จากการสำรวจสภาวะช่องปาก มีเด็กได้รับการบูรณฟันเพียงร้อยละ 3.7 โดยหลังจากการดำเนินโครงการแล้วเสร็จ เด็กได้รับการเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 83.13


กิจกรรมที่ 3 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน

  1. ช่วงเวลาในการดำเนินโครงการฯ บางกิจกรรม เป็นช่วงที่นักเรียนใน ศพด.ปิดเทอม ส่งผลให้นักเรียนบางคนไม่ได้มารับบริการ เนื่องจากไปเที่ยวช่วงปิดเทอม ไปต่างจังหวัด ไปอยู่กับตายาย

  2. ผู้ปกครองบางท่านได้นำบุตรเข้าอบรมด้วย จึงทำให้ไม่มีสมาธิในการอบรม และไม่ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ และบางท่านจะขออนุญาตกลับก่อน

  3. เด็กเล็กไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา เนื่องจากบางคนยังเล็กเกินไป (อายุประมาณ 2.3 ปี) จึงไม่สามารถให้การรักษาได้

  4. ไม่สามารถให้บริการรักษาครบทุกคน เนื่องจากวันที่ลงไปให้บริการนั่น เด็กเป็นไข้ , เด็กเดินทางไปต่างจังหวัด , ย้ายถิ่นฐาน , ผู้ปกครองไปธุระต่างจังหวัด

แนวทางการแก้ไข (ระบุ)

  • ไม่ควรจัดกิจกรรมในช่วงที่นักเรียนปิดภาคเรียน และครูควรเน้นย้ำให้ผู้ปกครองนำเด็กมารับการรักษาเพื่อสิทธิของเด็ก

  • ฝนช่วงของการอบรมผู้ปกครอง ควรควบคุมเด็กให้อยู่ในห้องเรียนและไม่ควรนำเด็กมาร่วมฟังบรรยาย

ข้อเสนอแนะ

ควรเขียนโครงการนี้ดำเนินการในปีถัดไป เนื่องจากมีประโยชน์กับเด็ก หากได้รับการรักษาโดยการอุดฟันทันท่วงที เด็กจะไม่มีอาการปวดฟัน สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กด้วย

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1. เพื่อฟื้นฟูและให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กใน ศพด. เกี่ยวทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องเด็ก
80.00 90.09

 

2 ข้อที่ 2 เพื่อลดการผุลุกลามของฟันกรามน้ำนมในเด็กอายุ 3-5 ปี
ตัวชี้วัด : 1. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ ลดการสูญเสียฟันน้ำนม และลดการเกิดฟันผุในฟันแท้ได้ อย่างน้อยร้อยละ 50
50.00 50.00

 

3 ข้อที่ 3.เพื่อให้เด็กอายุ 3-5 ปี ได้รับการอุดฟันเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : 1. เด็กอายุ 3-5 ปี ได้เข้าถึงการรับบริการอุดฟันมากขึ้น
100.00 83.13

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 331 331
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 331 331
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโรคฟันผุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ เด็กมีอายุ 1-3 ปี และพบว่า เด็กไม่ได้รับการรักษาด้วยการอุด จะทำให้มีการลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟัน เกิดอาการปวดทรมาน ทำให้เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ รับประทานอาหารได้น้อยลง เกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองเด็ก หากเด็กสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนดจะทำให้ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด มีผลต่อภาวะโภชนาการส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ทำให้การเจริญเติบโตของเด็กลดลงตามจำนวนฟันผุ

จากการสำรวจเด็กทั้งหมดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ในปี พ.ศ. 2559 – 2561 พบฟันผุ ร้อยละ 75.18 ,72.6, 69.2 ตามลำดับ การสำรวจสภาวะโรคฟันผุในเด็ก 3 ขวบ ปี พ.ศ.2561 มีค่าเฉลี่ยฟันผุคนละประมาณ 5.22ซี่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีจำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนไสน เด็กจำนวน 65 คน ฟันผุ 19 คน คิดเป็นร้อยละ 29.23, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลา เด็กจำนวน 65 คน ฟันผุ 26 คน คิดเป็นร้อยละ 40, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากปิง เด็กจำนวน 99 คน ฟันผุ 46 คน คิดเป็นร้อยละ 46.46, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง  เด็กจำนวน 73 คน ฟันผุ 70 คน คิดเป็นร้อยละ 95.89 และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตูแตหรำ เด็กจำนวน 29 คน ฟันผุ 13 คน คิดเป็นร้อยละ 44.83 จะเห็นได้ว่า มีอุบัติการณ์โรคฟันผุสูง และพบว่าเด็กไม่ได้รับการรักษาด้วยการอุดฟัน ทำให้มีผุลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟัน เกิดอาการปวดทรมานทำให้เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ รับประทานอาหารได้น้อยลง เกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของเด็ก

SMART หรือ Simplified Modified Atrumatic Restoration Technique เป็นเทคนิคการอุดฟันที่คิดค้นเพื่อใช้ในการบูรณะฟันในกรณีที่ไม่สามารถจัดบริการรักษาแบบปกติได้ เป็นการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก สามารถดำเนินการในชุมชนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เทคนิคนี้ได้มีการพัฒนาวัสดุทางทันตกรรมที่ชื่อว่า กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ ที่มีคุณสมบัติที่ดีมีการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในปริมาณที่สูง ซึ่งฟลูออไรด์ที่ปลดปล่อยออกมาก็มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เพิ่มการคืนกลับของแร่ธาตุ มีความสำคัญต่อการควบคุมการเกิดฟันผุหรือป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ จากการทบทวนของ Yip และ Smales ในปี ค.ศ.2006 พบว่า การใช้กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์เป็นสารเคลือบหลุมร่องฟันและการใช้ทำ SMART พบว่า อัตราการยึดสมบูรณ์  มีประมาณร้อยละ 70 และอัตราการเกิดฟันผุอยู่ในช่วง ร้อยละ 0-4 (อัตราการคงอยู่และฟันไม่ผุเพิ่ม ร้อยละ 96) ส่วนเครื่องมือที่นำไปใช้ ในการทำ SMART เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้มือ (Hand instrument) ในการอุดฟันประโยชน์ของการทำ SMART ด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ คือ ค่าใช้จ่ายต่ำ เป็นการปรับพฤติกรรมเด็ก เจ็บปวดน้อย ลดการผุลุกลามสามารถเก็บฟันไว้ได้โดยไม่ต้องถอน ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้ ซึ่งประสิทธิผลในการบูรณะด้วยวิธีนี้ ได้แนะนำให้เลือกใช้ในกิจกรรมโปรแกรมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนได้ดี

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh