กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการสตรียุคใหม่ ใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2562 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ

ชื่อโครงการ โครงการสตรียุคใหม่ ใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2562

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 62-L6895-01-03 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสตรียุคใหม่ ใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2562 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสตรียุคใหม่ ใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2562



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสตรียุคใหม่ ใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2562 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 62-L6895-01-03 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 30,340.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย พบอัตราการเกิดโรคสูงในช่วงอายุ 30 - 50 ปี โดยทุกๆ 2 นาที จะมีผู้หญิงเสียชีวิต 1 คน มีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 7 คนต่อวัน เป็น 14 คน ต่อวัน โดยโรคมะเร็งเต้านม มีสาเหตุโดยตรงจากปัจจัยทางพันธุกรรม ส่วนมะเร็งปากมดลูกพบว่า ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคนี้ มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูกจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี การป้องกันโรคมะเร็งเต้านม โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หรือการตรวจเอ็กซเรย์ Mammogram ปีละ 1 ครั้งในกลุ่มเสี่ยง และการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ซึ่งมีการคัดกรอง 2 วิธี คือ 1) Pap smear เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด เพราะใช้เวลา 2 - 5 นาที และรู้ผลภายใน 2 – 4 สัปดาห์ 2) VIA เป็นวิธีที่ง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำ รู้ผลทันที ซึ่งปัญหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก  แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นหากสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก ก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง กอรปกับหญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายไม่ค่อยมารับบริการ ทั้งนี้เพราะสตรีเป็นเพศที่มีความละอายไม่กล้า และความอดทนที่มีอยู่นี้ก็อาจจะเป็นทั้งคุณและโทษในคราวเดียวกันได้ เช่น เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องของอวัยวะเพศแล้วไม่กล้าพูด ไม่กล้าบอกใครถึงเจ็บปวดก็มีความอดทน  สิ่งนี้หากเป็นโรคร้ายก็อาจสายเกินแก้ที่ไม่สามารถช่วยได้ในภายหลัง สำหรับในเขตเทศบาลเมืองกันตัง  พบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม รวมจำนวน 37 รายเป็นรายใหม่ 2 ราย และผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก รวมจำนวน 19 ราย เป็นรายใหม่ 3 ราย ดังนั้น  การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จึงมีความสำคัญและจำเป็น แม้จะเป็นงานยากต่อการปฏิบัติ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อลดอัตราการเกิดโรคอัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายในเขตเทศบาลเมืองกันตัง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้แกนนำสตรี ได้รับความรู้โรคมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
  2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
  3. เพื่อให้ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อีกทั้งได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมให้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  4. เพื่อลดอัตราป่วย-ตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในสตรี

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมแกนนำสตรี
  2. กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนนำสตรี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก สามารถให้คำแนะนำ/ติดตาม/ชักชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
  2. แกนนำสตรี มีทักษะสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
  3. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมคิดเป็นร้อยละ 90
  4. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคิดเป็นร้อยละ 20
  5. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่เหมาะสมร้อยละ 100
  6. อัตราป่วย-ตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายลดลงระดับหนึ่ง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมแกนนำสตรี

วันที่ 31 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน/ประเมินความรู้ก่อนได้รับการอบรม  โดย เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข  เทศบาลเมืองกันตัง
  • บรรยายเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก โดย  วิทยากรจากสาธารณสุขอำเภอกันตัง ( นางสาวประไพวรรณ์  ศรีเมธาวรคุณ )
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง ( นางปราณี  ตรีรัตนไพบูลย์ )
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • บรรยาย เรื่องเทคนิคการเชิญชวนเข้าร่วมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและปากมดลูก โดย  วิทยากรจากสาธารณสุขอำเภอกันตัง (นางอภิรดี  ปิยวัฒน์)
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติและประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 3 กลุ่ม  โดย  วิทยากรจากสาธารณสุขอำเภอกันตัง (นางสาวประไพวรรณ์  ศรีเมธาวรคุณ และ นางอภิรดี ปิยวัฒน์ )โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง (นางปราณี  ตรีรัตนไพบูลย์)
  • อภิปรายสรุปผล/ตอบข้อซักถาม ประเมินความรู้หลังได้รับการอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพสตรีในชุมชน  จำนวน  100  คน ให้มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการเกิดโรค  อีกทั้งสามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเองและขยายต่อในชุมชนได้    ในวันที่  31  มกราคม  2562  ณ อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง มีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.1 ค่าวิทยากรบรรยายและแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ    เป็นเงิน 6,000 บาท 1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท 1.3 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท 1.4. ค่าเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ 100 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 1.5. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ผืนๆละ 300 บาท  เป็นเงิน 300 บาท 1.6. ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ รวมเป็นเงิน 1,000 บาท สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมดในระยะแรก เป็นเงิน  จำนวน  21,300.-  บาท
  2. ทดสอบความรู้ก่อน-หลังเข้ารับการอบรม  ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่อง มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก  (คำถามแบบกากถูกกากผิดหน้าข้อความ จำนวน  15 ข้อๆ ละ 1 คะแนน  รวมคะแนนเต็ม  15 คะแนน)  สามารถสรุปผลการประเมินได้  ดังนี้

- ก่อนการอบรม  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 89 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 14 คะแนน จำนวน 6 คน รองลงมาคือ 13 คะแนน จำนวน 9 คน 12 คะแนน จำนวน 14  คน  11  คะแนน จำนวน 27  คน 10 คะแนน  จำนวน  23  คน  9  คะแนน  จำนวน  9  คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่  8  คะแนน  จำนวน  2  คน  จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน  11  คะแนนมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  30.34  รองลงมาคือ  10  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  25.84, 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 14.28,  12 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 15.73 , 13 และ 9 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  10.11 , 14  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  5.62  และ 8 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 2.25  ตามลำดับดังตาราง - หลังการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 9 ชุด พบว่าผู้เข้าอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่  15 คะแนน จำนวน 5 คน รองลงมาคือ 14 คะแนน จำนวน  13 คน  13 คะแนน  จำนวน 29 คน
12  คะแนน จำนวน 16 คน 11 คะแนน จำนวน 8 คน 10  คะแนน จำนวน 9 คน  และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 9 คะแนน จำนวน 10 คน  จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 13 คะแนนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 32.22  รองลงมาคือ 12 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 17.78 , 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 14.44 , 9 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 11.00 , 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 10, 11 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 8.89 และ 15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 5.56
-ประเมินทักษะแกนนำสุขภาพสตรีในการเข้ากลุ่มฝึกปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองสามารถสรุปผลการประเมินทักษะได้ว่า แกนนำสุขภาพสตรีสามารถผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

 

100 0

2. กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก

- เชิงรุก  ในชุมชนร่วมกับแกนนำกลุ่มสตรีที่ผ่านการอบรม ให้คำแนะนำ/ติดตาม/ชักชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งหมุนเวียน 12 ชุมชน โดยใช้สื่อรณรงค์ร่วมด้วย - เชิงรับ บริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในเดือนรณรงค์ ในเดือนกุมภาพันธ์ -เดือนเมษายน 2562 ทุกวันอังคารของสัปดาห์ และวันหยุดราชการเดือนละ 1 วัน จำนวน 3 วัน 2. หลังเดือนรณรงค์ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งทุกวันอังคารสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน 3. แจ้งผล/ติดตามและส่งต่อผู้ป่วยกรณีพบความผิดปกติทุกราย 4. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือผู้ป่วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เปิดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในวันหยุดราชการ  แก่กลุ่มเป้าหมายส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในวันเวลาราชการได้  เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงการบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง  ในวันที่  24 กุมภาพันธ์ 2562 วันที่ 24  มีนาคม  2562  และ วันที่  28 เมษายน  2562  มีผู้รับบริการจำนวน 17 ราย พร้อมป้ายเซลล์ส่งสไลด์ตรวจมะเร็งปากมดลูกส่งทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลตรัง รอรับผลส่งตรวจเพื่อส่งข้อมูลให้ผู้รับบริการต่อไป โดยค่าใช้จ่ายทางห้องปฏิบัติการเบิกจ่ายจากเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกันตัง
  2. หญิงอายุ 30-70 ปีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในเดือนมีนาคม -เมษายน  2562  จำนวน  79  ราย  พร้อมให้สุขศึกษาและสาธิต  แนะนำวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่กลุ่มเป้าหมาย
  3. บันทึกข้อมูลการให้บริการลงโปรแกรม HosXp_PCU พร้อมส่งข้อมูลเป็นแบบ E-Electronic File
    แก่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง
  4. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อใช้ในการรณรงค์คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
  5. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลกันตัง  2  ราย
  6. ผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก เดือนตุลาคม 61 - กันยายน 62 เป้าหมาย 1). ร้อยละ 20 ของสตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 2,002 คน คิดเป็น 401 คน ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2). ร้อยละ 90 ของสตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 2,519 คน คิดเป็น 2,268 คน ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ผลงาน 1) สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ  30 – 60 ปี  ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  จำนวน  82  คน  คิดเป็นร้อยละ  4.10  ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้
    • ปกติ จำนวน   73  คน
    • มีการอักเสบ จำนวน     1  คน
    • ฝ่อ จำนวน     5  คน
    • รอผลตรวจ จำนวน     3  คน 2) สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ  30 – 70 ปี  ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม  จำนวน  2,318  คน  คิดเป็นร้อยละ  92.02  ผลการตรวจ ดังนี้
    • ปกติ จำนวน 2,317  คน
    • ผิดปกติพบก้อน จำนวน       1  คน
    • ส่งต่อ จำนวน       1  คน 3) สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่เหมาะสมร้อยละ 100

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพสตรีในชุมชน จำนวน 100 คน ให้มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการเกิดโรค อีกทั้งสามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเองและขยายต่อในชุมชนได้ ในวันที่ 31 มกราคม 2562 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง มีค่าใช้จ่าย ดังนี้
  2. ทดสอบความรู้ก่อน-หลังเข้ารับการอบรม  ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่อง มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก (คำถามแบบกากถูกกากผิดหน้าข้อความ จำนวน 15 ข้อๆ ละ 1 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 15 คะแนน) สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
    • ก่อนการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 89 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 14 คะแนน จำนวน 6 คน รองลงมาคือ 13 คะแนน จำนวน 9 คน 12 คะแนน จำนวน 14 คน 11 คะแนน จำนวน 27 คน 10 คะแนน จำนวน 23 คน 9 คะแนน จำนวน 9 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 8 คะแนน จำนวน 2 คน จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 11 คะแนนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.34 รองลงมาคือ 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 25.84, 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 14.28, 12 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 15.73 , 13 และ 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 10.11 , 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 5.62 และ 8 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 2.25 ตามลำดับ
    • หลังการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 9 ชุด พบว่าผู้เข้าอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 15 คะแนน จำนวน 5 คน รองลงมาคือ 14 คะแนน จำนวน 13 คน  13 คะแนน จำนวน 29 คน
      12 คะแนน จำนวน 16 คน 11 คะแนน จำนวน 8 คน 10 คะแนน จำนวน 9 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 9 คะแนน จำนวน 10 คน จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 13 คะแนนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 32.22 รองลงมาคือ 12 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 17.78 , 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 14.44 , 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 11.00 , 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 10, 11 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 8.89 และ 15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 5.56 ตามลำดับ
  3. ประเมินทักษะแกนนำสุขภาพสตรีในการเข้ากลุ่มฝึกปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองสามารถสรุปผลการประเมินทักษะได้ว่า แกนนำสุขภาพสตรีสามารถผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  4. เปิดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในวันหยุดราชการ แก่กลุ่มเป้าหมายส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในวันเวลาราชการได้ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงการบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 วันที่ 24 มีนาคม  2562 และ วันที่ 28 เมษายน 2562 มีผู้รับบริการจำนวน 17 ราย พร้อมป้ายเซลล์ส่งสไลด์ตรวจมะเร็งปากมดลูกส่งทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลตรัง รอรับผลส่งตรวจเพื่อส่งข้อมูลให้ผู้รับบริการต่อไป โดยค่าใช้จ่ายทางห้องปฏิบัติการเบิกจ่ายจากเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกันตัง
  5. หญิงอายุ 30-70 ปีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในเดือนมีนาคม -เมษายน 2562 จำนวน 79 ราย พร้อมให้สุขศึกษาและสาธิต แนะนำวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่กลุ่มเป้าหมาย
  6. บันทึกข้อมูลการให้บริการลงโปรแกรม HosXp_PCU พร้อมส่งข้อมูลเป็นแบบ E-Electronic File
    แก่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง
    1. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อใช้ในการรณรงค์คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
    2. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลกันตัง 2 ราย
    3. ผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก เดือนตุลาคม 61 - กันยายน 62 เป้าหมาย 1). ร้อยละ 20 ของสตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 2,002 คน คิดเป็น 401 คน ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2). ร้อยละ 90 ของสตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 2,519 คน คิดเป็น 2,268 คน ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ผลงาน 1) สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 4.10 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้
    • ปกติ จำนวน  73 คน
    • มีการอักเสบ จำนวน  1 คน
    • ฝ่อ    จำนวน  5 คน
    • รอผลตรวจ จำนวน  3 คน 2) สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จำนวน 2,318 คน คิดเป็นร้อยละ 92.02 ผลการตรวจ ดังนี้
    • ปกติ จำนวน 2,317 คน
    • ผิดปกติพบก้อน จำนวน    1 คน
    • ส่งต่อ จำนวน    1 คน 3) สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่เหมาะสมร้อยละ 100
  7. สรุปค่าใช้จ่ายในโครงการ เป็นเงินจำนวน 30,340.- บาท รายละเอียดดังนี้   10.1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเงินจำนวน 21,300 บาท รายละเอียดดังนี้

- ค่าวิทยากรบรรยายและแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ  เป็นเงิน  6,000  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน  6,000  บาท - ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน  7,000  บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน  1,000  บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์  เป็นเงิน  300  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ เป็นเงิน 1,000  บาท   10.2 กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก เป็นเงิน จำนวน 9,040 บาท
      รายละเอียดดังนี้     - ค่าสื่อประชาสัมพันธ์/เอกสารแผ่นปลิว เป็นเงิน  4,000 บาท - ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานวันหยุดราชการ เป็นเงิน  5,040  บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้แกนนำสตรี ได้รับความรู้โรคมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
ตัวชี้วัด : 1. สตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 401 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2. สตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 2,519 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
0.00

 

3 เพื่อให้ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อีกทั้งได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมให้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาจากแพทย์ทุกราย
0.00

 

4 เพื่อลดอัตราป่วย-ตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในสตรี
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 100 100
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 0
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้แกนนำสตรี ได้รับความรู้โรคมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง (2) เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว (3) เพื่อให้ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อีกทั้งได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมให้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง (4) เพื่อลดอัตราป่วย-ตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในสตรี

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมแกนนำสตรี (2) กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสตรียุคใหม่ ใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2562 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 62-L6895-01-03

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด