กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพสตรีในชุมชน จำนวน 100 คน ให้มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการเกิดโรค อีกทั้งสามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเองและขยายต่อในชุมชนได้ ในวันที่ 31 มกราคม 2562 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง มีค่าใช้จ่าย ดังนี้
  2. ทดสอบความรู้ก่อน-หลังเข้ารับการอบรม  ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่อง มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก (คำถามแบบกากถูกกากผิดหน้าข้อความ จำนวน 15 ข้อๆ ละ 1 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 15 คะแนน) สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
    • ก่อนการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 89 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 14 คะแนน จำนวน 6 คน รองลงมาคือ 13 คะแนน จำนวน 9 คน 12 คะแนน จำนวน 14 คน 11 คะแนน จำนวน 27 คน 10 คะแนน จำนวน 23 คน 9 คะแนน จำนวน 9 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 8 คะแนน จำนวน 2 คน จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 11 คะแนนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.34 รองลงมาคือ 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 25.84, 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 14.28, 12 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 15.73 , 13 และ 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 10.11 , 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 5.62 และ 8 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 2.25 ตามลำดับ
    • หลังการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 9 ชุด พบว่าผู้เข้าอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 15 คะแนน จำนวน 5 คน รองลงมาคือ 14 คะแนน จำนวน 13 คน  13 คะแนน จำนวน 29 คน
      12 คะแนน จำนวน 16 คน 11 คะแนน จำนวน 8 คน 10 คะแนน จำนวน 9 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 9 คะแนน จำนวน 10 คน จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 13 คะแนนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 32.22 รองลงมาคือ 12 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 17.78 , 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 14.44 , 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 11.00 , 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 10, 11 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 8.89 และ 15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 5.56 ตามลำดับ
  3. ประเมินทักษะแกนนำสุขภาพสตรีในการเข้ากลุ่มฝึกปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองสามารถสรุปผลการประเมินทักษะได้ว่า แกนนำสุขภาพสตรีสามารถผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  4. เปิดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในวันหยุดราชการ แก่กลุ่มเป้าหมายส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในวันเวลาราชการได้ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงการบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 วันที่ 24 มีนาคม  2562 และ วันที่ 28 เมษายน 2562 มีผู้รับบริการจำนวน 17 ราย พร้อมป้ายเซลล์ส่งสไลด์ตรวจมะเร็งปากมดลูกส่งทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลตรัง รอรับผลส่งตรวจเพื่อส่งข้อมูลให้ผู้รับบริการต่อไป โดยค่าใช้จ่ายทางห้องปฏิบัติการเบิกจ่ายจากเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกันตัง
  5. หญิงอายุ 30-70 ปีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในเดือนมีนาคม -เมษายน 2562 จำนวน 79 ราย พร้อมให้สุขศึกษาและสาธิต แนะนำวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่กลุ่มเป้าหมาย
  6. บันทึกข้อมูลการให้บริการลงโปรแกรม HosXp_PCU พร้อมส่งข้อมูลเป็นแบบ E-Electronic File
    แก่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง
    1. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อใช้ในการรณรงค์คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
    2. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลกันตัง 2 ราย
    3. ผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก เดือนตุลาคม 61 - กันยายน 62 เป้าหมาย 1). ร้อยละ 20 ของสตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 2,002 คน คิดเป็น 401 คน ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2). ร้อยละ 90 ของสตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 2,519 คน คิดเป็น 2,268 คน ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ผลงาน 1) สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 4.10 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้
    • ปกติ จำนวน  73 คน
    • มีการอักเสบ จำนวน  1 คน
    • ฝ่อ    จำนวน  5 คน
    • รอผลตรวจ จำนวน  3 คน 2) สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จำนวน 2,318 คน คิดเป็นร้อยละ 92.02 ผลการตรวจ ดังนี้
    • ปกติ จำนวน 2,317 คน
    • ผิดปกติพบก้อน จำนวน    1 คน
    • ส่งต่อ จำนวน    1 คน 3) สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่เหมาะสมร้อยละ 100
  7. สรุปค่าใช้จ่ายในโครงการ เป็นเงินจำนวน 30,340.- บาท รายละเอียดดังนี้   10.1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเงินจำนวน 21,300 บาท รายละเอียดดังนี้

- ค่าวิทยากรบรรยายและแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ  เป็นเงิน  6,000  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน  6,000  บาท - ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน  7,000  บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน  1,000  บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์  เป็นเงิน  300  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ เป็นเงิน 1,000  บาท   10.2 กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก เป็นเงิน จำนวน 9,040 บาท
      รายละเอียดดังนี้     - ค่าสื่อประชาสัมพันธ์/เอกสารแผ่นปลิว เป็นเงิน  4,000 บาท - ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานวันหยุดราชการ เป็นเงิน  5,040  บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้แกนนำสตรี ได้รับความรู้โรคมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
ตัวชี้วัด : 1. สตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 401 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2. สตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 2,519 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
0.00

 

3 เพื่อให้ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อีกทั้งได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมให้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาจากแพทย์ทุกราย
0.00

 

4 เพื่อลดอัตราป่วย-ตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในสตรี
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 100 100
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 0
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้แกนนำสตรี ได้รับความรู้โรคมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง (2) เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว (3) เพื่อให้ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อีกทั้งได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมให้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง (4) เพื่อลดอัตราป่วย-ตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในสตรี

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมแกนนำสตรี (2) กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh