กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อเสริมสร้างวินัยการจราจรและปฏิบัติตามกฎหมายจราจรด้วยการให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะของการใช้รถใช้ถนนกับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ให้ได้รับความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน2. เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในจุดเสี่ยงของชุมชนลงของการใช้รถใช้ถนนกับนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในชุมชน
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่เข้าอบรมเกิดวินัยการจราจรและปฏิบัติตามกฎหมายจราจรด้วยการให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะของการใช้รถใช้ถนน - ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาและประชาชนทั่วไปเกิดการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในจุดเสี่ยงของชุมชนลงของการใช้รถใช้ถนนกับนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในชุมชน
40.00 3.00 3.00

จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้ถูกตอบรับเป็นอย่างดี

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150 133
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 0
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 133
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 0

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อเสริมสร้างวินัยการจราจรและปฏิบัติตามกฎหมายจราจรด้วยการให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะของการใช้รถใช้ถนนกับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ให้ได้รับความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน 2. เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในจุดเสี่ยงของชุมชนลงของการใช้รถใช้ถนนกับนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมหลักที่ 1
1.1 การจัดเวทีให้ความรู้ในครั้งนี้ทางผู้จัดได้ขอความร่วมมือกับทางบริษัทพิธานภาณิชย์ปัตตานี จำกัดในการเป็นวิทยากรบรรยายและวิทยากรกระบวนการ ณ ห้องสัมมนาชั้น 6 อาคารเทคโนโลยีและสารสนเทศสำนักวิทยบริการ โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 133 คน เนื้อหาในการบรรยายประกอบไปด้วย - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย พรบ.ว่าด้วยการขับขี่ - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์รถจักรยายนต์ เช่น การสวมใสหมวกนิรภัยที่ถูกต้อง การตรวจความพร้อมของรถจักรยานยนต์ก่อนการขับขี่ - การดูแลบำรุงรักษาสภาพรถจักยานยนต์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ - การเซฟตี้ตัวผู้ขับขี่ ขณะขับขี่รถจักยานยนต์ - ให้ความรู้เกี่ยวกับวินัยจราจร 1.2 เดินรณรงค์ถนนปลอดอุบัติเหตุภายในชุมชนและมหาวิทยาลัย
การเดินรณรงค์ปลอดอุบัติเหตุในครั้งนี้จะประกอบด้วยผู้เข้าร่วมจากคณะกรรมการดำเนินงานจัดกิจกรรมจำนวน 113 คน นักศึกษา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี โดยมีกิจกรรมต่างๆ ในการเดินขบวน ดั้งนี้
-มีการนำป้ายข้อความรณรงค์เสริมสร้างวินัยจารจรเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน -มีมาสคอร์ตร่วมในการเดินขบวนรณรงค์เช่น มาสคอร์ตสัญญาณจราจร มาสคอร์ตสวมหมวกนิรภัย มาสคอร์ตการใช้ป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้รถ 1.3 กาจัดแสดงนิทรรศการด้านวินัยจราจรเพื่อความปลอดภัยทางถนน การจัดนิทรรศการ ทางผู้จัดได้ขอความความอนุเคราะห์วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนสื่อต่างๆ ในการจัดแสดงนิทรรศการด้านส่งเสริมวินัยจราจร จากสำนักงานขนส่ง จังหวัดยะลา ประกอบไปด้วยสื่อต่างๆดังนี้
-โปสเตอร์ รณรงค์การขับขี่ปลอดภัย -โปสเตอร์สัญลักษณ์เครื่องหมายจราจร -วารสารและแผ่นพับให้ความรู้เรื่องระเบียบวินัยจราจร -การฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนน


(2) กิจกรรมหลักที่ 2 ผลจากการถอดบทเรียนจากผู้เข้าร่วมโครงการจากตัวแทนกลุ่มต่างๆดังนี้ กลุ่มที่ 1 : ตัวแทนจากกลุ่มนักศึกษาต่างประเทศ กลุ่มที่ 2 : ตัวแทนกลุ่มนักศึกษาไทย กลุ่มที่ 3 : แกนนำองค์การบริหารนักศึกษาชาย กลุ่มที่ 4 : แกนนำองค์การบริหารนักศึกษาหญิง กลุ่มที่ 5 : นักศึกษาทั่วไป

สรุปผลจากกลุ่มทั้ง 5 กลุ่ม ดังนี้ 1.จุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการใช้ถนนในชุมชน
จากการที่ถอดบทเรียนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงจุดเสี่ยงต่างๆที่มีอยู่ในชุมชนทั้งสิ้นประมาณ 8 จุดเสี่ยง คือ - 3 แยกสปอร์ตไลท์ - 3 แยกทางไป จาเราะบองอ - บริเวณหน้ากุโบร์โสร่ง - ทางเข้าบ้านโสร่งสายยะลา-ปัตตานี - ทางโค้งหน้า โรงเรียน บ้านต้นสน - 3แยกหัวโค้งมัสยิดจาโระสโตร์ - ทางแยกตัดทางหลวง ยะลา-ปัตตานี - ถนนเส้นหลังทางเข้ายะลา

  1. จุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการใช้ถนนในมหาวิทยาลัย จากการที่ถอดบทเรียนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงจุดเสี่ยงต่างๆที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น ประมาณ 10 จุดเสี่ยง คือ

- บริเวณหน้าประตูมหาวิทลัยฟาฏอนี - บริเวณซุ้มโค้งหน้าหอประชุมวันมูหะหมัดนอร์ มะทา - บริเวณทางโค้งคณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ - บริเวณทางโค้งทางขึ้นศูนย์กุรอาน - บริเวณทางขึ้นหอพัก - ถนนเส้นทางเข้าคณะศึกษาศาสตร์ - ถนนเส้นหน้ามัสยิดฮะรอมัยน์ทางไปคณะวิทยาศาสตร์ - ถนนหน้าสนามบาสเก็ตบอล - ทางขึ้นอาคารเฉลิมพระเกียรติ - วงเวียนหน้าหอประชุมวันมูหะหมัดนอร์ มะทา

  1. ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนน จากการที่ถอดบทเรียนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนนทั้งสิ้น ประมาณ 10 ปัจจัย

- ขับรถด้วยความประมาท - ไม่ทราบถึงกฎหมายจราจร - ไม่ทราบวิธีการใช้รถอย่างถูกวิธี - ทัศนวิสัยในการใช้ถนนไม่ดี - สภาพพื้นผิวถนนเป็นปัญหา - ป้ายสัญลักษณ์ไม่เพียงพอ - ไฟถนนไม่เพียงพอ - มีสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านอยู่บนท้องถนน - จุดตรวจของทหารวางแคบเกินไปเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ - มีดินไสลด์ลงบนพื้นผิวถนน

  1. แนวทางการแก้ไขเพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุ จากการที่ถอดบทเรียนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการแก้ไขเพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุทั้งสิ้น ประมาณ 10 แนวทาง

- รณรงค์ให้ขับรถด้วยความไม่ประมาท - รณรงค์ให้ทราบถึงกฎหมายจราจร - รณรงค์ให้ทราบวิธีการใช้รถอย่างถูกวิธี - ปรับทัศนวิสัยในการใช้ถนนให้ดีขึ้น - แก้ไขสภาพพื้นผิวถนน - เพิ่มป้ายสัญลักษณ์จราจร ตาม 3 สาม และ 4 แยกให้เพียงพอ - เพิ่มไปกระพริบสีส้มตามตาม 3 สาม และ 4 แยกเพื่อให้การมองเห็นได้ชัด - เพิ่มไฟถนนให้เพียงพอ - จัดระเบียบสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านไม่ให้มาอยู่บนท้องถนน - แก้ไขจุดตรวจของทหารให้เหมาะสมไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ - แก้ปัญหาดินไสลด์ลงบนพื้นผิวถนน (3) กิจกรรมหลักที่ 3 - จัดติดตามผลการดำเนินงาน -รวบรวมเอกสารเพื่อประกอบการสรุปผลการดำเนินงาน -สรุปโคงการเป็นเอกสารและพร้อมเข้าเล่ม

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1)
- ให้นำผลจากการเสนอแนะแนวทางการแก้ไขของผู้เข้าร่วมโครงการไปพัฒนาตามความเหมาะสมต่อไป เช่น ให้มีการติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจรและไฟเตือนตามสามแยกและสี่แยกต่างๆเพื่อเพิ่มความระมัดระวังให้กับผู้ขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh