กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตังและรับบริการที่คลินิก โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน จำนวน 60 คน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง  แต่มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 66 คน ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคแทรกซ้อน การประเมินความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือด การสร้างเกราะป้องกันภัยห่างไกลโรคแทรกซ้อน และการเล่าเรื่องผ่านประสบการณ์จริง...ผ่านผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พร้อมแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๔ ฐาน ได้แก่  ฐานกินยาถูกต้อง ถูกวิธี...ชีวีปลอดจากโรคแทรกซ้อน ฐานปรับเปลี่ยนอาหาร ..ลดโรคแทรกซ้อน ฐานสมาธิบำบัด (SKT).... ลดความดันโลหิตสูง และฐานปรับเปลี่ยนออกกำลังกาย... ห่างภัยโรคแทรกซ้อน โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง
  2. มีการประเมินความพึงพอใจในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ ผู้เข้าร่วมประชุมตอบ กลับใบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 54 คน สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่  มีระดับความพึงพอใจโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 82.2 มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านวิทยากรและกิจกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 87.4 รองลงมา คือด้านความรู้ ความเข้าใจ มีความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 82 เช่นเดียวกับด้านสถานที่ /ระยะเวลา/อาหาร มีความพึงพอใจมาก และด้านการเตรียมความพร้อม มีความพึงพอใจมากเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 81 , 80 ตามลำดับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ควรจัดโครงการเช่นนี้ในปีถัดไป
  3. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ และติดตามเยี่ยมฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำซึ่งมีผู้ป่วยได้รับการติดตาม/เยี่ยมบ้าน ฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ จำนวน 39 ราย
    1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าอบรม จำนวน 66 คน ได้รับความรู้ และมีความเข้าใจ ในการดูแลตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี (มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขฯ) จำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 72.96 และผู้ป่วยที่อยู่ในเขตรับผิดชอบที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี จำนวน 514 คน คิดเป็นร้อยละ 36.33
    2. อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) หัวใจ โรคไตวายในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่เกิน 10% จากผลการดำเนินงานพบว่า

- อัตราป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คิดเป็นร้อยละ 0.47
- ในปีงบประมาณ 2562 พบผู้ป่วยรายใหม่โรคหลอดเลือดสมองจำนวน 10 ราย
- อัตราอุบัติใหม่ของโรคหลอดเลือดสมอง คิดเป็นร้อยละ 83.40 (ที่มา : https://trg.hdc.moph.go.th ฐานข้อมูลสาธารณสุขจังหวัด (43 แฟ้ม) 6. สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 20,950.- บาท ดังนี้ - ค่าสมนาคุณวิทยากร  เป็นเงิน  7,200 บาท - ค่าอาหารกลางวัน  เป็นเงิน  4,200 บาท   - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  เป็นเงิน  3,600 บาท - ค่ากระเป๋าใส่เอกสารพร้อมสกรีน  เป็นเงิน  3,000 บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แบบประเมิน  เป็นเงิน    720 บาท - ค่าป้ายโครงการและสื่อประชาสัมพันธ์  เป็นเงิน  1,350 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์/อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน    880 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับความรู้ มีความเข้าใจ เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ และจำเป็นในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ /อัมพาต) โรคหัวใจ โรคไตวาย
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์/ อัมพาต) โรคหัวใจ และโรคไตวาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) โรคหัวใจ โรคไตวาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 10 %
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60 66
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 66
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง  ได้รับความรู้ มีความเข้าใจ เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ และจำเป็นในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ /อัมพาต)  โรคหัวใจ  โรคไตวาย (2) เพื่อลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์/ อัมพาต) โรคหัวใจ และโรคไตวาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (2) กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh