กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2562

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L6895-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 ตุลาคม 2561 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 30,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลเมืองกันตัง ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 3417 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภัยเงียบของโรค Metabolic(โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง) ได้คุกคามชีวิตของคนไทยจำนวนมากซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วย พิการและเสียชีวิต  ตลอดจนเป็นภาระต่องบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ดังจะเห็นได้จากสถานบริกาสาธารณสุข
ทั้งของภาครัฐเอกชนและสถานบริการทุกระดับตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ ต่างแออัดไปด้วยผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้ สำหรับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามรายหัวประชากรจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายด้านยา บุคลากร การจัดสถานที่ และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ในขณะที่งบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด
การมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค Metabolic โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค  โดยมีเป้าหมายเป็นประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ด้วยการวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูงและการวัดเส้นรอบพุง การเจาะน้ำตาลในเลือด เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง โดยเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  รวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย  ในรายที่ป่วยแล้วได้รับการตรวจประเมินภาวะโรคอันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรค
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตังจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ35ปีขึ้นไปเขตเทศบาลเมืองกันตังขึ้น  เพื่อดำเนินงาน ตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังแก่ประชาชน  พร้อมเจ้าหน้าที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพราย บุคคลตามบริบทของแต่ละบุคคลในชุมชนและประชาชนเกิดความตระหนัก ใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเองครอบครัวและชุมชนสามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่าเหมาะสมในระดับหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ตรวจคัดกรองพบมีความเสี่ยงได้รับความรู้ในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา

 

0.00
4 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน มีความรู้และทักษะ สามารถร่วมดำเนินงาน คัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,400.00 3 30,400.00
11 มี.ค. 62 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 24,800.00 25,032.00
12 มี.ค. 62 กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 0 1,500.00 1,528.00
1 - 31 พ.ค. 62 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเชิงรุกในชุมชนแก่กลุ่มเสี่ยง 0 4,100.00 3,840.00
  1. เสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง /คณะกรรมการกองทุนฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  2. ประชุมชี้แจงแกนนำสุขภาพในชุมชน ร่วมสำรวจข้อมูลประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง
  3. อบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพในชุมชนจำนวน 100 คน เพื่อร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร่วมกับ จนท. พร้อมประเมินความรู้และทักษะก่อน-หลังเข้ารับการอบรม
  4. ประสานภาคีเครือข่าย เช่น ผู้นำชุมชน อสม. เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน
  5. จัดทำแผนปฏิบัติงานลงพื้นที่คัดกรองในชุมชน พร้อม ปชส.การคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงผ่านประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย และแผ่นปลิว
  6. ดำเนินการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แก่กลุ่มเป้าหมายในชุมชน 12 ชุมชน คืนข้อมูลสู่ชุมชน พร้อมให้ความรู้/คำปรึกษาแนะนำแก่กลุ่มเป้าหมายในการดูแลสุขภาพรายบุคคล
  7. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเชิงรุกในชุมชน  แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ
  8. นำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพต่อไป
  9. บันทึกผลการดำเนินงานลงโปรแกรม HOSxP_PCU ส่งข้อมูลให้ สสจ.ตรัง เพื่อประมวลผลการดำเนินงานภาพรวมของระดับอำเภอและจังหวัด
  10. สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 90 ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ และความตระหนักเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อติดตาม และกลุ่มสงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
  4. แกนนำสุขภาพในชุมชน มีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการประเมินก่อน-หลังการอบรม สามารถดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร่วมกับ จนท.
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2562 11:58 น.