กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2562

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเชิงรุกในชุมชนแก่กลุ่มเสี่ยง11 กรกฎาคม 2562
11
กรกฎาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย ชื่อกองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเชิงรุกในชุมชน  12 ชุมชน  แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเชิงรุกในชุมชน 12 ชุมชนแก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 120 คน  ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 11  กรกฎาคม – 22  สิงหาคม 2562  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมจำนวน  147  คน

กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง12 มีนาคม 2562
12
มีนาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย ชื่อกองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานภาคีเครือข่าย เช่น ผู้นำชุมชน อสม. เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน
  2. จัดทำแผนปฏิบัติงานลงพื้นที่คัดกรองในชุมชน พร้อม ปชส.การคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงผ่านประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย และแผ่นปลิว
  3. ดำเนินการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  แก่กลุ่มเป้าหมายในชุมชน 12 ชุมชน  คืนข้อมูลสู่ชุมชน พร้อมให้ความรู้/คำปรึกษาแนะนำแก่กลุ่มเป้าหมายในการดูแลสุขภาพรายบุคคล
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับแกนนำสุขภาพในชุมชน ปฏิบัติงานคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป สรุปผลดำเนินงานการคัดกรอง ดังนี้
1. โรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 4,857 คน ได้รับการคัดกรอง 4,410 คน คิดเป็นร้อยละ 90.80 1.1 กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 1,415 คน ได้รับการคัดกรอง 1,240 คน คิดเป็นร้อยละ 87.63
1.2 ประชากร 35 ปีขึ้นไปที่ไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 3,442 คน ได้รับการคัดกรอง 3,170 คน คิดเป็นร้อยละ 92.10 จำแนกเป็นกลุ่มปกติ จำนวน 1,437 คนคิดเป็นร้อยละ 45.33 กลุ่มเสี่ยง 1,598 คน คิดเป็นร้อยละ 50.41 กลุ่มสงสัย 132 คน คิดเป็นร้อยละ 4.16 2. โรคเบาหวาน เป้าหมาย 4,712 คน ได้รับการคัดกรอง 4,278 คน คิดเป็นร้อยละ 90.79
2.1 กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน เป้าหมาย 613 คน ได้รับการคัดกรอง 529 คน คิดเป็นร้อยละ 86.30 2.2 ประชากร 35 ปีขึ้นไปที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน เป้าหมาย 4,099 คน ได้รับการคัดกรอง 3,749 คน คิดเป็นร้อยละ 91.46 จำแนกเป็นกลุ่มปกติ จำนวน 3,528 คนคิดเป็นร้อยละ 94.11 กลุ่มเสี่ยง 200 คน คิดเป็นร้อยละ 5.33 กลุ่มสงสัย 17 คน คิดเป็นร้อยละ 0.45

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ11 มีนาคม 2562
11
มีนาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย ชื่อกองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • บรรยายเรื่อง บทบาทแกนนำสุขภาพกับการจัดการสุขภาพในชุมชนเรื่องโรคติดต่อไม่เรื้อรัง
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่อง รู้ตน รู้โรค ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยปิงปองจราจรชีวิต 7 สี
  • พักประทานอาหารกลางวัน
  • แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้/ประเมินทักษะ   - ฐานที่ 1 การวัดความดันโลหิตที่ถูกวิธีและการแปลผล   - ฐานที่ 2 การเจาะหาน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วและการแปลผล   - ฐานที่ 3การวัดรอบเอว การคำนวณค่าดัชนีมวลกายและการแปลผล   - ฐานที่ 4 การจำแนกกลุ่มตามความเสี่ยงด้วยปิงปองจราจรชีวิต 7 สี
  • ประเมินความรู้หลังการอบรม/อภิปรายและสรุปผลการเรียนรู้
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพในชุมชน  เพื่อร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งมีแกนนำสุขภาพในชุมชนเข้ารับการอบรมจำนวน 100 คน  เมื่อวันที่  11  มีนาคม  2562  ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง
1. ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่องการวัดความดันโลหิต-การแปลผล, การตรวจน้ำตาลในเลือด (ปลายนิ้ว)-การแปลผล,ดัชนีมวลกายและการวัดรอบเอว-การแปลผล. 3 อ 2 ส. ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ,ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี (คำถามแบบกากถูกหรือผิดหน้าข้อความ จำนวน 15 ข้อๆละ 1 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 15 คะแนน) สามารถสรุปผลการประเมินได้ดังนี้ - ก่อนการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  จำนวน 93 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนสูงสุดอยู่ที่ 13 คะแนน จำนวน 6 คน ร้อยละ 6.45 , 12 คะแนน จำนวน 12 คนร้อยละ 12.90 , 11 คะแนน จำนวน 8 คน ร้อยละ 16.13 , 10 คะแนน จำนวน 19 คน ร้อยละ 20.43  ,9 คะแนน จำนวน 12 คน  ร้อยละ 12.90, 8 คะแนน จำนวน 18 คน ร้อยละ 19.35  ,7 คะแนน จำนวน 8 คน  ร้อยละ 8.60 และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 6 คะแนน จำนวน 3 คน จะเห็นได้ว่าก่อนเข้ารับการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 10 คะแนนมากที่สุด ร้อยละ 20.43 รองลงมาคือ 8 คะแนนและ  11 คะแนน  ร้อยละ 19.35 และ 16.13 ตามลำดับ - หลังการอบรม ได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 89 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 15 คะแนน  จำนวน 5 คน  ร้อยละ  5.62 รองลงมาคือ 14 คะแนน  จำนวน 10 คน ร้อยละ 11.23, 13 คะแนน จำนวน  19 คน ร้อยละ 21.35  , 12 คะแนน จำนวน  13 คน ร้อยละ 14.61, 11 และ 10 คะแนน จำนวน 12 คน ร้อยละ  13.48 เช่นเดียวกัน 9 คะแนนจำนวน 10 คน ร้อยละ 11.23 และคะแนนต่ำสุดอยูที่ 8 คะแนน จำนวน 8 คน ร้อยละ 8.99 ตามลำดับ 2. ฝึกปฏิบัติโดยจัดเป็นฐานให้ความรู้ 4 ฐานพร้อมทำแบบประเมินทักษะการเข้าฐาน ดังนี้ ฐานที่ 1 การวัดความดันโลหิตที่ถูกวิธีและการแปลผล ฐานที่ 2 การเจาะหาน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วและการแปลผล ฐานที่ 3การวัดรอบเอว การคำนวณค่าดัชนีมวลกายและการแปลผล  ฐานที่ 4 การจำแนกกลุ่มตามความเสี่ยงด้วยปิงปองจราจรชีวิต 7 สี