กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพ สร้างสุข ลดโรค ด้วยการออกกำลังกาย ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L6895-01-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 16,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลเมืองกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไปจากอดีต ดังจะเห็นได้จากบริบทการทำงาน เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการแข่งขันทั้งทางด้านข่าวสารสารสนเทศและเทคโนโลยี ทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคมต้องเร่งรีบและแข่งขันตามกลไกเศรษฐกิจ แต่ในความเจริญนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆเกิดขึ้นด้วย  ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ  มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย  บางคนเข้าใจว่าเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง  จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ การออกกำลังกายเป็นการสร้างสุขภาพที่ดี  ซึ่งการมีสุขภาพที่ดี  มิได้หมายถึงเพียงการมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพเท่านั้น  ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ  เพราะโรคบางโรคสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายดีกว่าการรอให้เกิดการเจ็บป่วยแล้วรักษา  จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณในการดูแลรักษาจำนวนมาก การที่คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดี    เมื่อสุขภาพกายดี  สุขภาพจิตก็ดีไปด้วย เป็นการสร้างและส่งเสริมความสุขทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้น ประชาชนจึงควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตนเองมีสุขภาพร่างกายและใจที่แข็งแรง ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง  ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยการออกกำลังกาย จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายเพราะการออกกำลังกาย นอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรงผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจถึงหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ป้องกันอันตราย และบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเกิดการรวมกลุ่มออกกำลังกาย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง

 

0.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพในพื้นที่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 16,700.00 1 16,700.00
29 เม.ย. 62 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 80 16,700.00 16,700.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำแผนงานเพื่อให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง และเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติ 1.2 เขียนแผนการปฏิบัติงานโครงการ 1.3 ประสานวิทยากร และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเสี่ยงรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ: 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการออกกำลังกาย ด้วยการยืดเหยียดร่างกายแบบโยคะพื้นฐาน 2.3 ประเมินความพึงพอใจโครงการ
  3. ขั้นสรุปและรายงานผล 3.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้อง สามารถป้องกันอันตรายและบาดเจ็บไม่ให้เกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการเสริมสร้างสุขภาพ ด้วยการออกกำลังกายยืดเหยียดร่างกายแบบโยคะพื้นฐานสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค metabolic ได้ระดับหนึ่ง
  3. เกิดเครือข่ายด้านสุขภาพส่งเสริมการออกกำลังกายในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2562 14:13 น.