กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ29 เมษายน 2562
29
เมษายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย ชื่อกองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • พิธีเปิดโครงการ
  • บรรยายเรื่อง หลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมมีประสิทธิภาพและป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่องโยคะพื้นฐานและประโยชน์ของการฝึกโยคะ
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • บรรายพร้อมฝึกปฏิบัติ เรื่อง การออกกำลังกายแบบโยคะพื้นฐาน
  • อภิปราย/ตอบข้อซักถาม/ประเมินความพึงพอใจ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงในเขต  ส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายยืดเหยียดร่างกายแบบโยคะพื้นฐาน  อันจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค Metabolic เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน  โรคอ้วนลงพุง  เป็นต้น  อีกทั้งเป็นสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพในพื้นที่ร่วมด้วย  ซึ่งมีประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงเข้ารับการอบรม  จำนวน  80  คน  เมื่อวันที่  29  เมษายน  2562  ณ  อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง
    2.  การประเมินความพึงพอใจการดำเนินงานโครงการ ผู้เข้าร่วมประชุมตอบกลับใบประเมินความพึงพอใจ  จำนวน  80  คน สามารถสรุปผลได้ดังนี้
    1). เพศ ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 76 คน คิดเป็นร้อยละ 95 2). อายุ ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 51-60 ปี  28 คน คิดเป็นร้อยละ 35  รองลงมาเป็นช่วงอายุ 41-50 ปี 18 คน คิดเป็นร้อยละ 22.5  อายุมากกว่า 60 ปี  16 คนคิดเป็นร้อยละ 20  อายุ 31-40 ปี  11 คน คิดเป็นร้อยละ 13.75 อายุ 20-30 ปี  5 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 และต่ำกว่า 20 ปี 2  คน  คิดเป็นร้อยละ 2.5 ตามลำดับ 3). การศึกษา ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยม 25 คนคิดเป็นร้อยละ 31.25 รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา 24 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ระดับปริญญาตรี 21 คน คิดเป็นร้อยละ 26.25ระดับอนุปริญญา 9 คน คิดเป็นร้อยละ 11.25 และสูงกว่าปริญญาตรี 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25 ตามลำดับ 4). อาชีพ ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่จำนวน 36 คนมีอาชีพค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 45 รองลงมาอาชีพรับจ้าง 25 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25 อาชีพข้าราชการบำนาญ 7 คน คิดเป็นร้อยละ 8.75 อาชีพเกษตร5 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 อาชีพอื่นๆ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5 และอาชีพ น.ร./นศ. 3 คนคิดเป็นร้อยละ 3.75 ตามลำดับ 5). ระดับความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดกิจกรรมโครงการ
    5.1) ความรู้ความเข้าใจก่อนการฝึกอบรม อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 37.5
    5.2) ความรู้ความเข้าใจหลังการฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 67.5 5.3) เรียนรู้หลักการออกกำลังกายที่ถูกต้อง อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50 5.4) สร้างเครือข่ายด้านสุขภาพ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60 5.5) รูปแบบและวิธีการจัดฝึกอบรมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก  คิดเป็นร้อยละ 62.5
          รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 30 และ 7.5 ตามลำดับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  ควรจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายทุกปีเพื่อสร้างกระแสการออกกำลังกายให้ตื่นตัวมากขึ้น  และต้องการให้มีวิทยากรผู้นำออกกำลังกายมาสอนเป็นประจำและต่อยอดไปในท่าโยคะอื่นๆ  บางคนเสนอแนะการออกกำลังกายแบบไทเก๊กในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป