กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ คน อบต.นาเกตุ อุ่นใจ เครือข่ายร่วมใจคัดแยกขยะ
รหัสโครงการ 60-LNK-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสุขภาพชุมชนตำบลนาเกตุ
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กุมภาพันธ์ 2562 - 31 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2562
งบประมาณ 81,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเยี่ยม คงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางประภัสสร ขวัญกะโผะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.744,101.155place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ก.พ. 2562 31 มี.ค. 2562 81,250.00
รวมงบประมาณ 81,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะจะทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปการขยายตัวของประชากรและการอยู่อาศัยในเขตเมือง ซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดปริมาณขยะมากกว่าการอาศัยอยู่ในชนบท การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการแข่งขันทางอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ผลิตพยายามพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ เช่น อุปกรณ์อิเล็คโทรนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ที่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น ส่งผลปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอัตราที่เพิ่มขึ้น ธนาคารโลกรายงานว่า เมื่อปี 1990 โลกของเรา มีประชากรที่อาศัยในเขตเมืองประมาณ 220 ล้านหรือ 13% ของประชากรโลก และก่อให้เกิดขยะประมาณ 300,000 ตัน/วัน แต่เพียงสิบปีผ่านไป ประชากรที่อาศัยในเขตเมืองจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 2.9 พันล้านคน 49% ของประชากรโลก ทำให้เกิดปริมาณขยะเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านตัน/วัน จากการสำรวจสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ พบว่าปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี โดยในปี 2556 มีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ถึง 2 ล้านตัน และในปี 2557 มีปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน ประมาณ 26.19 ล้านตัน ซึ่งขยะที่ได้เก็บขนและนำไปกำจัดโดย อปท. จำนวน 4,422 แห่ง พบว่ามีขยะร้อยละ 75 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งประเทศเป็นขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดยังสถานที่ที่ถูกต้องประมาณ 7.88 ล้านถูกต้อง ขณะเดียวกันในพื้นที่อีก 3,355 แห่งไม่มีการให้บริการเก็บขนขยะ ประชาชนจะดำเนินการกำจัดขยะในครัวเรือนเอง โดยการเทกอง เผาในที่โล่ง และลักลอบทิ้งในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีจำนวนขยะคิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้มีปริมาณลดลง ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนมีการดำเนินการคัดแยกขยะมูลฝอยลดลง และเมื่อพิจารณาอัตราการผลิตขยะต่อคนต่อวัน ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีอัตราเพิ่มขึ้น โดยในปี 2551 มีอัตราการผลิตขยะต่อคนเท่ากับ 0.3 กก./คน/วัน แต่ในปี 2557 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 1.11 กิโลกรัม/คน/วัน แสดงให้เห็นถึงการขาดความตระหนัก ความเข้าใจ และความรับผิดชอบของสมาชิกในชุมชนตั้งแต่ระดับครัวเรือนซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด เครือข่ายสุขภาพชุมชนจึงได้จัดทำโครงการ คน อบต.นาเกตุ อุ่นใจ เครือข่ายร่วมใจคัดแยกขยะ ขึ้นเพื่อให้เครือข่ายสุขภาพในชุมชนได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนในพื้นที่ รพ.สต. เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะจากต้นทาง คือ ครัวเรือนของตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ มีสุขภาพที่ดีปราศจากขยะมูลฝอยในชุมชน

ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่ลดลงอย่างน้อย 60 %

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนสามารถขยะมารีไซเคิลประดิษฐ์เป็นของใช้ในรูปแบบต่าง ๆได้ ลดปริมาณขยะ ในชุมชน

มีสิ่งประดิษฐ์จากขยะมูลฝอยใช้ในครัวเรือนและชุมชน

0.00
3 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความตระหนักในการกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยด้วยตนเอง เริ่มต้นจากครัวเรือนของตนเอง สร้างเป็นวินัยในการปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างของชุมชนต่อไป

ประชาชนสามารถคัดแยกขยะเป็นลดค่าใช้จ่าย สร้างรายได้ให้เกิดขึ้น และเป็นครัวเรือนต้นแบบในการกำจัดขยะของชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 81,250.00 0 0.00
20 - 28 ก.พ. 62 จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้สามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องเริ่มต้นจากครัวเรือนตนเอง 0 81,250.00 -
  1. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการให้ทุกส่วนราชการในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม
  2. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ ที่ถูกต้องเริ่มต้นจากครัวเรือน
  3. จัดอบรมนำขยะที่มีในบ้านเรือนมาจัดทำกระถางต้นไม้ รีไซเคิล
  4. ให้ความรู้เกี่ยวกับการนำขยะมารีไซเคิลในรูปแบบต่าง ๆ
  5. ออกหน่วยบริการ ขยะแลกภาษี ในพื้นที่ทุกหมู่บ้าน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง
  2. ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  3. ประชาชนเป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมการกำจัดขยะในทุกรูปแบบ
  4. สามารถนำขยะรีไซเคิลมาใช้ในการประดิษฐ์ของใช้ในครัวเรือน
  5. ประชาชนจะสามารถป้องกันสุขภาพด้วยการกำจัดขยะ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2562 16:42 น.