กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  • ผลการดำเนินงาน
  1. จัดตั้งเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนต้นแบบ เพื่อสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงใน ชุมชนโดยให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง การใช้แบบประเมินโรคทางจิตเวช การช่วยเหลือเบื้องต้น และการส่งต่อผู้ป่วย
  2. เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโดยใช้แบบคัดกรองฯ ทั้งในสถานบริการและในชุมชน โดย อสม. และช่วยส่งต่อผู้ป่วยในรายที่ผลการคัดกรองผิดปกติมายัง รพ.สต.ปันแต
    1. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยโรคจิตเวช และครอบครัวเพื่อลดอัตราการขาดนัด ขาดยา และอาการกำเริบ หลังขาดยา
    2. ติดตามผลการรักษาของผู้ป่วย และติดตามเยี่ยมบ้านร่วมกับเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้คำแนะนำแก่ครอบครัว หรือผู้ดูแลและประเมินผลการดูแลรักษาโดยใช้แบบคัดกรองฯ ประเมินผู้ป่วย ร่วมด้วย
  3. ประสานการส่งต่อผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคทางจิตเวชหรือผู้ป่วยเก่า อาการกำเริบ ไปยังเครือข่าย ระดับอำเภอ/จังหวัดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว
  4. จัดทำทะเบียนการช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทางจิตเวช
  5. จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต การส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในสถานบริการและ ในชุมชน ทุกกลุ่มอายุ กลุ่มที่เผชิญภาวะวิกฤติ และกลุ่มเสี่ยง

- ระยะเวลาดำเนินการและสถานที่ดำเนินการ 1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยจิตเวชและภาคีเครือข่ายในเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั้งระบบ วันที่ 26 เมษายน 2562 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 2 ออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชร่วมกับ อสม.และภาคีเครือข่ายในชุมชน เดือน เมษายน 2562 พื้นที่ หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง - การเบิกจ่ายงบประมาณ กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยจิตเวชและภาคีเครือข่ายในเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั้งระบบ งบประมาณ 1,900 บาท รายละเอียดดังนี้
1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้จัดอบรม จำนวน 40 คน x 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 2 ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง x 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท - ผลที่ได้รับ 1 ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม
2. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง
3. ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้รับการดูแล ไม่ขาดยา ลดอันตรายจากอาการก้าวร้าวชุมชนปลอดภัย
4. ผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่ได้รับการค้นหา ช่วยเหลือ รักษาอย่างถูกต้อง ไม่เป็นภาระของชุมชน
- ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน ระยะเวลาในการอบรมน้อยเกินไป

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม ข้อที่ 2 ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง
ตัวชี้วัด : ข้อที่ 1 ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม ข้อที่ 2 มีภาคีเครือข่ายทีเข้มแข็งในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
0.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 38
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 38
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม  ข้อที่ 2 ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและภาคีเครือข่ายในเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั้งระบบ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh