กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

ให้ความรู้แกนนำ กลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเป็กกลุ่มโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง13 สิงหาคม 2562
13
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลบาโลย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำแผนกำหนดวันคัดกรองและอบรม 1.2 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ 1.3 แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ 2. ขั้นตอนดำเนินการ 2.1 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป 2.2 จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และแกนนำ ระยะ 1 วัน - ผู้เข้ารับการอบรมชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจวัดไขมันในร่างกาย วัดและตรวจดัชนีมวลกาย วัดส่วนสูง,วัดความดันโลหิต,วัดรอบเอว,วัดรอบสะโพก,เจาะน้ำตาลในเลือด,และทำแบบสัมภาษณ์ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อทดสอบความรู้และประเมินพฤติกรรมสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ - ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค/การปฏิบัติตัวโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงและผู้ดูแลเพื่อป้องกันภาวะแกรกซ้อน - ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย - ให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม - ทำแบบทดสอบความรู้หลังอบรม 2.3 ผู้ที่ผ่านการอบรมสามารถเป็นแกนนำในการขยาย ผลสู่สมาชิกที่อาจเป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ที่อยู่ในชุมชนของตนเอง โดยการถ่ายทอดความรู้เรื่องเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2.4 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ติดตามตรวจ /ประเมินภาวะสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ดังนี้ ชั่งน้ำหนัก,วัดรอบเอว,รอบสะโพก เพื่อประเมินค่าดัชนีมวลกาย ,สัดส่วนร่างกาย,วัดความดันโลหิต,ตรวจน้ำตาลในเลือด ทุก 3 เดือน 2.5 สรุปและประเมินผลโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรม/ตัวชี้วัด/ตัวชี้วัด 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้ 2. เพื่อสร้างแกนนำในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเส่ายงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในชุมชน 3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตาม/ประเมินภาวะสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงาน 1. ร้อยละ 95.22  ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ในเรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 2. ร้อยละ 91.32  ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมการบริโภค,การออกกำลังกาย และจัดการความเครียด,ดื่มสุราและบุหรี่ ที่ถูกต้อง 3. ร้อยละ 0.41 ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ปี 2561 ป่วยเป็นเบาหวาน ปี 2562 4. ร้อยละ 0.32 ของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ปี 2561 ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ปี 2562 5. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมสุขศึกษา ในระดับมาก