กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบ้านสะอาด ปราศจากยุงลาย ห่างไกลไข้เลือดออก บ้านทุ่งคลองควาย

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการบ้านสะอาด ปราศจากยุงลาย ห่างไกลไข้เลือดออก บ้านทุ่งคลองควาย
รหัสโครงการ 62-L3341-2-02
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อ รพ.สต.บ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2562
ปี 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 31 มีนาคม 2562
งบประมาณ 25,680.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายจรัล ชนะรัตน์ 2.นายสมบัติ ช่อคง. 3.นายนิกร บุญยัง 4.นายวิเชียร จงรัตน์ 5.นายคลาย ทองจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ประเด็น
แผนงานยาสูบ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วยบุคคลเชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าวไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคลต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ ไม่มีขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค จึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค โดยเฉพาะแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้านหรือทุกชุมชนสามารถปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้น ๆ มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน
      ข้อมูลจากการสำรวจและศึกษาของชุมชนโดยการสังเกตและสัมภาษณ์ เมื่อเดือนมกราคม 2562 พบว่าในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาประชาชนหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งคลองควาย ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 241.25 ต่อประชากรแสนคน ป่วยด้วยโรคชิกุนคุนยา จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 482.51 ต่อประชากรแสนคน มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จำนวน 94 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 39.2 จากสถานการณ์ข้างต้น อาจทำให้ปัญหาไข้เลือดออกและไข้ชิคุนกุนยาระบาดมากขึ้น ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคดังกล่าว จึงได้ทำทำโครงการ “บ้านสะอาด ปราศจากยุงลาย ห่างไกลไข้เลือดออก” เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลางในการปรับภูมิทัศน์ และกำจัดลูกน้ำยุงลาย เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันให้ได้ผลและเกิดความยั่งยืนพร้อมทั้งยังสะท้อนความสำเร็จของภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของคนในชุมชน

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. 1. เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการรักษาความสะอาดภายในบ้านเรือนและชุมชนของตนเอง
  2. 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  3. 3. เพื่อส่งเสริมให้บ้านสะอาดปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมการอบรมให้ความรู้
  2. กิจกรรมการรณรงค์ทำความสะอาดบ้าน
  3. กิจกรรมการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
วิธีดำเนินการ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ขั้นเตรียมการ (Plan)     1.1 สำรวจและศึกษาชุมชนในพื้นที่บ้านทุ่งคลองควาย หมู่ที่ 2     1.2 นำข้อมูลที่ได้มารวบรวม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล     1.3 ทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อเสนอปัญหา ความจำเป็นและความต้องการ     1.4 ประชุมคณะเพื่อดำเนินการ วางแผนและกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน     1.5 นำเสนอรูปแบบโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากผอ.รพ.สต.บ้านป่าบากและอาจารย์ผู้ดูแลรับผิดชอบ     1.6 จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ     1.7 ประสานงานกับคณะดำเนินงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ และขอความร่วมมือในการดำเนินการ การประชาสัมพันธ์โครงการกับหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง     1.8 ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้หอกระจายข่าวและป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อแจ้งรายละเอียดโครงการแก่ประชาชนและเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมโครงการ     1.9 จัดเตรียมป้ายโครงการ โดยใช้เอกสาร บอร์ดให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการกำจัดลูกน้ำยุงลาย 2. ขั้นดำเนินการ (Do)     2.1 ประชุม ชี้แจง และประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนบ้านทุ่งคลองควาย หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง     2.2 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และการกำจัดลูกน้ำยุงลาย     2.3 ปรับภูมิทัศน์ภายในชุมชน กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย     2.4 สำรวจลูกน้ำยุงลายภายในบ้านและบริเวณบ้าน 3. ขั้นสรุปและประเมินโครงการ (Check)     3.1 ประเมินผลการดำเนินการ     3.2 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ     3.3 นำเสนอผลการดำเนินงานต่อผอ.รพ.สต.บ้านป่าบาก และอบต.ทุ่งนารี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดความตระหนักในการรักษาความสะอาดภายในบ้านเรือนและชุมชนของตนเองเพิ่มขึ้น
  2. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  3. ภายในชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย