กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการงานมหกรรมพลังสร้างสุขภาพ ชุมชนพอเพียง อบต.นาเกตุ ครั้งที่ 2
รหัสโครงการ 60-LNK-4-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อบต.นาเกตุ
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 เมษายน 2560 - 7 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประภัสสร ขวัญกะโผะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางประภัสสร ขวัญกะโผะ
พื้นที่ดำเนินการ ห้องประชุมอเนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.744,101.155place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มหกรรมสร้างสุขภาพ คือ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ผสมผสานต่อเนื่องและใช้ชุมชนเป็นฐานตลอดจนเป็นบริการด่านหน้าที่สำคัญถือเป็นจุดคานงัดคุณภาพบริการสุขภาพ เพราะเป็นระบบบริการสุขภาพื้นฐานที่เป็นหลักประกันความเป็นธรรมทางสังคมการบริการสุขภาพที่อยู่ใกล้ชิดติดกับวิถีชีวิตของผู้คนและชุมชน เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งสนับสนุนให้เกิดภาคีเครือข่ายสุขภาพประชาชนที่หลากหลายให้มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นการสร้างชุมชนให้เกิดความพอเพียงโดยนำปรัชญาการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ให้อยู่ในความพอเพียง พอประมาณและมีเหตุผล ทั้งนี้จะต้องอาศัยองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ความรอบคอบและความระมัดระวังในขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชุมชนให้มีสำนึกในคุณธรรมและจริยธรรม
กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อบต.นาเกตุ ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ ได้มีการส่งเสริมให้กลุ่มองค์กรและประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ ซึ่งให้งบประมาณสนับสนุน ในการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในเขตตำบลนาเกตุ ภายหลังจากดำเนินการพบว่า มีหลายชุมชนที่ได้พัฒนาโครงการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีหรือเป็นต้นแบบชุมชนที่มีการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม จึงได้จัดงานมหกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพฯ ในครั้งนี้ได้รวมกิจกรรมของภาคีเครือข่ายสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ที่มีอยู่ทุกรูปแบบมาจัดซุ้มกิจกรรมแต่ละชมรมเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีและความสมานฉันท์เกิดขึ้นในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพของตนเอง และชุมชน

ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพของตนเอง และชุมชน

2 เพื่อให้ประชาชนตำบลนาเกตุตระหนักถึงการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และวิธีการป้องกันรักษา

ประชาชนตำบลนาเกตุตระหนักถึงการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และวิธีการป้องกันรักษา

3 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเครือข่ายด้านสุขภาพ

เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเครือข่ายด้านสุขภาพ

4 เพื่อส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในด้านสุขภาพ

ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในด้านสุขภาพ

5 เพื่อเผยแพร่ระบบการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม

เผยแพร่ระบบการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม

6 เพื่อประชาสัมพันธ์งานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อบต.นาเกตุ

ประชาสัมพันธ์งานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อบต.นาเกตุ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การจัดเวทีบรรยาย ด้านสุขภาพอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและธรรมนูญสุขภาพตำบลนาเกตุ
  2. การจัดตลาดนัดสุขภาพ และการนำเสนอนวัตกรรมสุขภาพการจัดการขยะในชุมชน
  3. การให้บริการความรู้ด้านสุขภาพ และการบริการด้านสุขภาพ
  4. จัดซุ้มกิจกรรมต่าง ๆ ของแต่ละชุมชน
  5. จัดกิจกรรมการแสดงต่าง ๆ เครือข่ายสุขภาพ
  6. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 7 ป้าย ขนาด 1.2 x 2.4 ม. โดยมีข้อความ“ซุ้มกิจกรรมต่าง ๆ “
  7. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการทุกหมู่บ้าน ขนาด 1.2 x 2.4 ม. จำนวน 7 ป้าย
  8. ประกวดปิ่นโตอาหารสุขภาพ
  9. มอบประกาศเกียรติบัตรบุคคลต้นแบบด้านส่งเสริมสุขภาพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพของตนเอง และชุมชน 2.ประชาชนตำบลนาเกตุตระหนักถึงการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และวิธีการป้องกันรักษา 3.เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเครือข่ายด้านสุขภาพ 4.ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในด้านสุขภาพ 5.เผยแพร่ระบบการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม 6.ประชาสัมพันธ์งานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อบต.นาเกตุ
7.ประชาชนในท้องถิ่นเห็นความสำคัญของปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ 8.สามารถสร้างความตระหนักในเรื่องสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
9.ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของตนเองและชุมชนเกิดความรักและความสามัคคีขึ้นในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2560 15:26 น.