กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมป้องกัน ใส่ใจสุขภาพ และตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปี 2562

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง17 มิถุนายน 2562
17
มิถุนายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ประชาสัมพันธ์ แจ้งผู้นำชุมชน ขอความร่วมมือร่วมรณรงค์ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในแต่ละพื้นที่

  2. อาสาสมัครสาธารณสุข/แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่ร่วมกันลงตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มอายุ 35 – 74 ปี ด้วยการตรวจวัดความดัน เจาะเลือดปลายนิ้ว และวัดรอบเอว

  3. ให้ความรู้เป็นรายกลุ่มเรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3 อ. 2 ส

  4. จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

  5. จัดทำเอกสารบันทึกผลการตรวจคัดกรองการตรวจโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

  6. จัดซื้ออุปกรณ์เครื่องวัดความดันและเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ตัวชี้วัดกิจกรรม ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ เบาหวานและความดันโลหิตสูงปีละ 1 ครั้ง จากการลงตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครในพื้นที่ลงคัดกรอง ตั้งเป้าลงคัดกรองทั้ง 11 หมู่บ้านจำนวน 1,100 คน ผู้มารับการคัดกรองจำนวนทั้งสิ้น 1,176 คน ซึ่งเกินเป้าหมายที่วางไว้ และประชาชนมีความสนใจมากในการตรวจคัดกรองสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 106.90

ผลของการตรวจคัดกรองเบาหวาน ในจำนวน 1,176 คน พบว่า

  • กลุ่มปกติ 1,044 คน คิดเป็นร้อยละ 88.77

  • กลุ่มเสี่ยง 132 คน คิดเป็นร้อยละ 11.22

  • กลุ่มป่วย (รายใหม่) 6 คน คิดเป็นร้อยละ 0.51

ผลของการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง ในจำนวน 1,176 คน พบว่า

  • กลุ่มปกติ 871 คน คิดเป็นร้อยละ 74.06

  • กลุ่มเสี่ยง 205 คน คิดเป็นร้อยละ 17.43

  • กลุ่มป่วย (รายใหม่) 10 คน คิดเป็นร้อยละ 0.85

ผลการตรวจประเมินค่า BMI ในจำนวน 1,176 คน พบว่า

  • น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 4.59

  • สมส่วน จำนวน 606 คน คิดเป็นร้อยละ 51.53

  • น้ำหนักเกิน จำนวน 353 คน คิดเป็นร้อยละ 30.01

  • โรคอ้วน จำนวน 129 คน คิดเป็นร้อยละ 10.96

  • โรคอ้วนอันตราย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 1.19