กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555 พบว่า เด็กอายุ 3 ปีซึ่งเป็นขวบปีแรกที่มีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่ มีความชุกในการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 51.8 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด(dmft) 2.7 ซี่/คน แม้จะเพิ่งมีฟันน้ำนมขึ้นครบ แต่ร้อยละ 3.2 ของเด็ก เริ่มมีประสบการณ์การสูญเสียฟันในช่องปากแล้ว นอกจากนี้พบว่า ในกลุ่มเด็กที่มีประสบการณ์โรคฟันผุนั้น เกือบทั้งหมดจะเป็นรอยโรคฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา คือ ร้อยละ 50.6 หรือเฉลี่ย 2.6 ซี่/คน อัตราการเกิดโรคฟันน้ำนมผุในเด็กเล็กนี้ พบสูงสุดในเขตภาคใต้ สำหรับจังหวัดพัทลุงนั้นมีความชุกของโรคฟันน้ำนมผุสูง ตั้งแต่ปี 2554-2558นั้นพบว่ามีร้อยละของฟันน้ำนมผุ เท่ากับ 65.97, 65.05, 60.73, 62.97และ 51.41ตามลำดับ และความชุกของโรคฟันน้ำนมผุ ในอำเภอเขาชัยสนนั้น พบว่า เด็กเล็กมีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 69.86, 60.68, 49.66, 53.92 และ 54.78 ตามลำดับ ซึ่งยังคงมีความชุกโรคฟันน้ำนมผุสูงกว่าระดับจังหวัดและระดับประเทศ         โรคฟันผุในเด็กเล็ก ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญปัญหาหนึ่ง แต่มักเป็นปัญหาที่ถูกมองข้าม เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้ในเด็กเกือบทุกคนและความรุนแรงไม่มากจนถึงแก่ชีวิต ส่งผลให้ผู้ปกครองขาดความตระหนักและไม่ให้ความสำคัญ โรคฟันผุถือเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน แต่มีปัจจัยหลักอยู่ 3 ปัจจัยด้วยกัน ปัจจัยแรก คือการได้รับเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ พบว่าเด็กที่ฟันผุมีเชื้อMutan Streptocooci สูงกว่าเด็กโดยทั่วไป ปัจจัยที่สอง คือ การให้อาหารแก่เด็กไม่ถูกต้อง เช่น การให้นมหวานแก่เด็ก การรับประทานอาหารระหว่างมื้อ และปัจจัยที่สาม คือ การดูแลทำความสะอาดช่องปากของเด็กไม่ดี พบว่า เด็กที่ฟันไม่ผุ ส่วนมากแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ ต่างจากเด็กที่ฟันผุซึ่งแปรงฟันไม่สม่ำเสมอ แปรงน้อย หรือไม่แปรงเลย และเด็กที่พ่อแม่แปรงฟันให้จะมีฟันผุน้อยกว่าเด็กที่แปรงฟันด้วยตนเอง               ดังนั้นกลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลเขาชัยสน ได้เห็นความสำคัญของกิจกรรมที่สร้างเสริมพัฒนาการที่ดีของเด็กเล็ก เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในเด็กอนุบาล แต่งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณสุขไม่เพียงพอต่อจำนวนเป้าหมาย จึงได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาชัยสน สำหรับการจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพและการอุดฟันอย่างง่าย(SMART technique)กลุ่มอายุ3-5ขวบ อำเภอเขาชัยสน จ.พัทลุง ปี 2562

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้มีกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี (2) 2.เพื่อกระตุ้นให้เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรักการดูแลทำความสะอาดช่องปาก (3) 3.เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก (4) 4.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็ก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอุดฟันอย่างง่าย(SMART technique) และฟลูออไรด์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

 

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ