กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.ร้อยละ ๘๐ ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถแปรงฟันได้ถูกวิธี 2.ร้อยละ 20 ของเด็กที่มีคามจำเป็นต้องอุดฟันได้รับการอุดฟันด้วยวิธี SMART technique 3.ร้อยละ 10 ของเด็กที่มีคามจำเป็นต้องเคลือบฟลูออไรด์

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้มีกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี
ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ ๘๐ ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถแปรงฟันได้ถูกวิธี
0.00

 

2 2.เพื่อกระตุ้นให้เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรักการดูแลทำความสะอาดช่องปาก
ตัวชี้วัด : 2.ร้อยละ 20 ของเด็กที่มีคามจำเป็นต้องอุดฟันได้รับการอุดฟันด้วยวิธี SMART technique
0.00

 

3 3.เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก
ตัวชี้วัด : 3.ร้อยละ 10 ของเด็กที่มีคามจำเป็นต้องเคลือบฟลูออไรด์
0.00

 

4 4.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็ก
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555 พบว่า เด็กอายุ 3 ปีซึ่งเป็นขวบปีแรกที่มีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่ มีความชุกในการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 51.8 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด(dmft) 2.7 ซี่/คน แม้จะเพิ่งมีฟันน้ำนมขึ้นครบ แต่ร้อยละ 3.2 ของเด็ก เริ่มมีประสบการณ์การสูญเสียฟันในช่องปากแล้ว นอกจากนี้พบว่า ในกลุ่มเด็กที่มีประสบการณ์โรคฟันผุนั้น เกือบทั้งหมดจะเป็นรอยโรคฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา คือ ร้อยละ 50.6 หรือเฉลี่ย 2.6 ซี่/คน อัตราการเกิดโรคฟันน้ำนมผุในเด็กเล็กนี้ พบสูงสุดในเขตภาคใต้ สำหรับจังหวัดพัทลุงนั้นมีความชุกของโรคฟันน้ำนมผุสูง ตั้งแต่ปี 2554-2558นั้นพบว่ามีร้อยละของฟันน้ำนมผุ เท่ากับ 65.97, 65.05, 60.73, 62.97และ 51.41ตามลำดับ และความชุกของโรคฟันน้ำนมผุ ในอำเภอเขาชัยสนนั้น พบว่า เด็กเล็กมีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 69.86, 60.68, 49.66, 53.92 และ 54.78 ตามลำดับ ซึ่งยังคงมีความชุกโรคฟันน้ำนมผุสูงกว่าระดับจังหวัดและระดับประเทศ         โรคฟันผุในเด็กเล็ก ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญปัญหาหนึ่ง แต่มักเป็นปัญหาที่ถูกมองข้าม เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้ในเด็กเกือบทุกคนและความรุนแรงไม่มากจนถึงแก่ชีวิต ส่งผลให้ผู้ปกครองขาดความตระหนักและไม่ให้ความสำคัญ โรคฟันผุถือเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน แต่มีปัจจัยหลักอยู่ 3 ปัจจัยด้วยกัน ปัจจัยแรก คือการได้รับเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ พบว่าเด็กที่ฟันผุมีเชื้อMutan Streptocooci สูงกว่าเด็กโดยทั่วไป ปัจจัยที่สอง คือ การให้อาหารแก่เด็กไม่ถูกต้อง เช่น การให้นมหวานแก่เด็ก การรับประทานอาหารระหว่างมื้อ และปัจจัยที่สาม คือ การดูแลทำความสะอาดช่องปากของเด็กไม่ดี พบว่า เด็กที่ฟันไม่ผุ ส่วนมากแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ ต่างจากเด็กที่ฟันผุซึ่งแปรงฟันไม่สม่ำเสมอ แปรงน้อย หรือไม่แปรงเลย และเด็กที่พ่อแม่แปรงฟันให้จะมีฟันผุน้อยกว่าเด็กที่แปรงฟันด้วยตนเอง               ดังนั้นกลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลเขาชัยสน ได้เห็นความสำคัญของกิจกรรมที่สร้างเสริมพัฒนาการที่ดีของเด็กเล็ก เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในเด็กอนุบาล แต่งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณสุขไม่เพียงพอต่อจำนวนเป้าหมาย จึงได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาชัยสน สำหรับการจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพและการอุดฟันอย่างง่าย(SMART technique)กลุ่มอายุ3-5ขวบ อำเภอเขาชัยสน จ.พัทลุง ปี 2562

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้มีกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี (2) 2.เพื่อกระตุ้นให้เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรักการดูแลทำความสะอาดช่องปาก (3) 3.เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก (4) 4.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็ก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอุดฟันอย่างง่าย(SMART technique) และฟลูออไรด์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh