กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากในเด็กนักเรียน เครือข่ายโรงเรียน “ตากใบยิ้มสวย” อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ปี 2560

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
จัดกิจกรรมเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพแก่นักเรียน,กิจกรรมแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ หลังอาหารกลางวัน และกิจกรรมคิดค้นนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 1 นวัตกรรมต่อโรงเรียน 24 ก.ค. 2560 24 ก.ค. 2560

 

  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 วางแผนจัดทำโครงการ 1.2 เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ 1.3 ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน 1.4 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ ๒. ขั้นดำเนินการ กิจกรรมดำเนินงานที่ ๒.๑ จัดทำเล่มแบบการตรวจสุขภาพช่องปากและการแปรงฟันพร้อมลงบันทึกประจำตัวนักเรียน ป.๑ - ป.๖ โดยครู/ผู้ปกครองลงข้อมูลการตรวจ หากพบปัญหาฟันแท้ผุและปัญหาเร่งด่วนจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับบริการทันตกรรมและแก้ไขปัญหา กิจกรรมดำเนินงานที่ ๒.๒ จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพโดยทันตบุคลากรโรงพยาบาลตากใบ
    กิจกรรมดำเนินงานที่ ๒.๓ โรงเรียนจัดกิจกรรมให้นักเรียนคิดค้นนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากโรงเรียนละ 1 นวัตกรรม กิจกรรมดำเนินงานที่ ๒.๔ โรงเรียนจัดกิจกรรมแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในสถานศึกษาหลังอาหารกลางวันเป็นประจำทุกวัน โดยสถานศึกษา มีบทบาทในการจัดสถานที่และน้ำที่ใช้แปรงฟัน จัดหาและจัดเก็บอุปกรณ์การแปรงฟัน จัดกิจกรรมแปรงฟันอย่างเป็นระบบ และจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพการแปรงฟัน เช่น การตรวจความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอ การฝึกทักษะการแปรงฟัน การจัดการเรียนรู้ เรื่อง การดูแลทันตสุขภาพ การให้ทันตสุขศึกษารายกลุ่ม โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม เพื่อกระตุ้นความสนใจ สร้างกระแส  และสร้างเจตคติที่ดีให้แก่เด็ก ภายใต้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ บริหารจัดการ และทรัพยากรที่จำเป็นจากสถานบริการสุขภาพ กิจกรรมดำเนินงานที่ ๒.๕ การพัฒนาทีมงาน เพื่อให้มีเจตคติ และทักษะในการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนร่วมกับครอบครัวและชุมชน กิจกรรมดำเนินงานที่ ๒.๖ นิเทศติดตามการดำเนินงานจากทันตบุคลากรโรงพยาบาล ปีละ 2 ครั้ง

 

เกิดระบบการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากในกลุ่มเด็กนักเรียนและเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษามีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการดูสุขภาพช่องปากของตนเอง