กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการขยะในชุมชนตำบลนาเกตุ ปี 2560
รหัสโครงการ 60-LNK-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสุขภาพชุมชนตำบลนาเกตุ
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 60,180.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเจะรอหะนี บ่อเตย
พี่เลี้ยงโครงการ นางประภัสสร ขวัญกะโผะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.744,101.155place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัญหาขยะ ปัญหาขยะจะทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปการขยายตัวของประชากรและการอยู่อาศัยในเขตเมือง ซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดปริมาณขยะมากกว่าการอาศัยอยู่ในชนบท การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการแข่งขันทางอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ผลิตพยายามพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ เช่น อุปกรณ์อิเล็คโทรนิกส์เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ที่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น ส่งผลปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอัตราที่เพิ่มขึ้น ธนาคารโลกรายงานว่า เมื่อปี 1990 โลกของเรา มีประชากรที่อาศัยในเขตเมืองประมาณ 220 ล้านหรือ 13% ของประชากรโลก และก่อให้เกิดขยะประมาณ 300,000 ตัน/วัน แต่เพียงสิบปีผ่านไป ประชากรที่อาศัยในเขตเมืองจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 2.9 พันล้านคน 49% ของประชากรโลก ทำให้เกิดปริมาณขยะเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านตัน/วัน จากการสำรวจสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ พบว่าปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี โดยในปี 2556 มีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ถึง 2 ล้านตัน และในปี 2557 มีปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนประมาณ 26.19 ล้านตัน ซึ่งขยะที่ได้เก็บขนและนำไปกำจัดโดย อปท. จำนวน 4,422 แห่ง พบว่ามีขยะร้อยละ 75 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งประเทศเป็นขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดยังสถานที่ที่ถูกต้องประมาณ 7.88 ล้านถูกต้อง ขณะเดียวกันในพื้นที่อีก 3,355 แห่งไม่มีการให้บริการเก็บขนขยะ ประชาชนจะดำเนินการกำจัดขยะในครัวเรือนเอง โดยการเทกอง เผาในที่โล่ง และลักลอบทิ้งในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีจำนวนขยะคิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้มีปริมาณลดลง ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนมีการดำเนินการคัดแยกขยะมูลฝอยลดลง และเมื่อพิจารณาอัตราการผลิตขยะต่อคนต่อวัน ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีอัตราเพิ่มขึ้น โดยในปี 2551 มีอัตราการผลิตขยะต่อคนเท่ากับ 0.3 กก./คน/วัน แต่ในปี 2557 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 1.11 กิโลกรัม/คน/วัน แสดงให้เห็นถึงการขาดความตระหนัก ความเข้าใจ และความรับผิดชอบของสมาชิกในชุมชนตั้งแต่ระดับครัวเรือนซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด จากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่ตำบลนาเกตุ ปรากฏว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับขยะดังนี้ ข้อมูลสถานการณ์ขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ ปี 2559 ประกอบด้วย 1. ขยะมูลฝอยทั่วไป ประมาณ 504 ตันต่อปี 2. ขยะอินทรีย์ ประมาณ 124 ตันต่อปี 3. ขยะรีไซเคิล ประมาณ 450 ตันต่อปี 4. ขยะอันตราย ประมาณ 3 กิโลกรัม ข้อมูลขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ ปี 2560 ประกอบด้วย 1. เศษอาหาร 25.42 กิโลกรัมต่อวัน 2. กระดาษ 43.15 กิโลกรัมต่อวัน 3. พลาสติก 52.75 กิโลกรัมต่อวัน 4. แก้ว 26.55 กิโลกรัมต่อวัน 5. โลหะ 22.80 กิโลกรัมต่อวัน 6. ไม้ ,ใบไม้ 14.25 กิโลกรัมต่อวัน 7. อื่นๆ 4.17 กิโลกรัมต่อวัน รวมขยะทั้งสิ้น 189.09 กิโลกรัมต่อวัน
จากปัญหาดังกล่าวเครือข่ายสุขภาพชุมชนตำบลนาเกตุ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชนตำบลนาเกตุ หมู่ที่ 1 , 2 , 3, 4 , 6 และ 7 ขึ้น โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ชุมชนตระหนักและเข้าใจในการจัดการขยะเพื่อสุขภาพที่ดี

ทำให้ชุมชนตระหนักและเข้าใจในการจัดการขยะเพื่อสุขภาพที่ดี

2 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ

ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ

3 ปริมาณขยะที่ต้องจัดการลดลง

สามารถลดปริมาณขยะที่ต้องจัดการลดลง

4 เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน ประชาชนมีสุขภาพดี ปราศจากขยะที่ไม่เกิดประโยชน์

สามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน ประชาชนมีสุขภาพดี ปราศจากขยะที่ไม่เกิดประโยชน์

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะที่ถูกต้อง แก่หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 6 และ 7
  2. จัดอบรมสาธิตการทำน้ำหนักจากขยะอินทรีย์
  3. กำหนดกติกาการกำจัดขยะในชุมชน
  4. มีศูนย์การรับซื้อขยะรีไซเคิล สร้างรายได้ ลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชน
  5. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ชุมชนตระหนักและเข้าใจในการจัดการขยะเพื่อสุขภาพที่ดี
  2. ครัวเรือนสามารถคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ
  3. สามารถลดปริมาณขยะที่ต้องจัดการลดลง
  4. สามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน ประชาชนมีสุขภาพดี ปราศจากขยะที่ไม่เกิดประโยชน์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2560 14:01 น.