กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. สร้างนโยบายชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย
ตัวชี้วัด : 1. สร้างนโยบายชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ ๙๐
1.00

 

2 2. ทีมควบคุมโรคในชุมชนได้รับการฟื้นฟูความรู้
ตัวชี้วัด : 2. ทีมควบคุมโรคในชุมชนได้รับการฟื้นฟูความรู้ อย่างน้อย ๑ ครั้ง/ปี และร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
1.00

 

3 3. ลดปัจจัยเสี่ยงงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
ตัวชี้วัด : 3. ลดปัจจัยเสี่ยงงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายไม่เกิน ร้อยละ ๑๐
1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 65 69
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65 69
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. สร้างนโยบายชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย (2) 2. ทีมควบคุมโรคในชุมชนได้รับการฟื้นฟูความรู้ (3) 3. ลดปัจจัยเสี่ยงงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย       โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่งที่สามารถป้องกันได้ ซึ่งการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตเนื่องจากโรคไข้เลือดออกส่งผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในปี 2561 (ม.ค.-ธค.) มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกกระจายทั่วทั้งจังหวัดสตูลอย่างต่อเนื่องมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศ  และพบผู้ป่วยในพื้นที่อำเภอเมืองสตูล  จากลักษณะการระบาดในอดีตกล่าวคือระบาด 2 ปีเว้น 1 ปี  และจากสถานการณ์ในต้นปี 2561 ถ้าไม่มีการดำเนินการรณรงค์ควบคุมและป้องกันอย่างจริงจังและต่อเนื่องแล้ว  คาดว่าจะเกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น ในปี 2562       ผู้นำชุมชน  อบต. อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ได้ร่วมกันจัดการประชุมแบบมีส่วนร่วม (AIC) เพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ขึ้น ได้มีการรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลาย พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย  เสนอแนวทางการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก คือ ต้องให้ประชาชนตระหนักถึงความร้ายแรงและเห็นความจำเป็นพร้อมทั้งร่วมมือป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและจริงจัง  ดังนั้นกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกับรพ.สต.เจ๊ะบิลังจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกขึ้นในพื้นที่ถ้าไม่ได้รับการควบคุมและการป้องกันโรคอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่อง จะทำให้เกิดการระบาดได้อย่างรวดเร็ว และหากมีผู้ป่วยเกิดขึ้นไม่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดการเสียชีวิตของผู้ป่วยในอัตราค่อนข้างสูง
      จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกดังที่กล่าวมาข้างต้นทำให้คาดการณ์ได้ว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก อาจจะมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นกว่าในปัจจุบัน ถ้าชุมชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในครัวเรือนของชุมชน จึงได้จัดโครงการพัฒนาความรู้ การดูแลสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคไข้เลือดออก สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและลดความเสี่ยงการเกิดโรค

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก เน้นหนักเรื่องการควบคุมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งทางกายภาพ,ชีวภาพและเคมี (2) 2. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข คณะกรรมการชุมชน และทีม SRRT

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh