กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากการดำเนินงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน พบเด็กมีภาวะทุพโภชนาการในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอกทั้งหมด 80 คน จากการตรวจประเมินภาวะโภชนาการและการติดตามเยี่ยมในเด็กทั้งหมด 1,046 คน คิดเป็นร้อยละ 7.64 ของประชากรเด็ก 0-72 เดือนทั้งหมด สาเหตุส่วนใหญ่พบว่าเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการทั้งหมดเกิดจากสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ 1.การเลี้ยงดูไม่ถูกต้อง การให้รับประทานอาหารไม่ถูกหลักและมีสารอาหารไม่ครบถ้วน การให้เด็กรับประทานขนมขบเคี้ยวอื่นๆ ก่อนอาหารมื้อปกติ ทำให้ความสามารถในการรับประทานอาหารลดลง การป้อนอาหารไม่ตรงเวลา และความจำเจของอาหาร ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอาหารหรือรสชาติอาหาร ทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายในการรับประทานอาหาร ทำให้เด็กมีปัญหาทุพโภชนาการเกิดขึ้นตามมา
2.มีบุตรมาก ทำให้การดูแลเลี้ยงดูบุตรไม่ทั่วถึง ซึ่งการมีบุตรมากเป็นปัญหาสืบเนื่องยาวนานที่มีความพยายามในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีความเชื่อที่ผิดในเรื่องของการคุมกำเนิด เชื่อว่าการคุมกำเนิดเป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักการทางศาสนา ในหลักความจริงในบทบัญญัติทางศาสนาอิสลามยิมยอมให้มีการคุมกำเนิดเพื่อควบคุมการมีบุตรได้ชั่วคราวและเว้นช่วงการตั้งครรภ์ หรือพักการตั้งครรภ์เป็นการชั่วคราวในช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งนี้โดยการกำหนดร่วมกันของคู่สามีภรรยาและด้วยความพอใจของทั้งสองฝ่าย เพราะฉะนั้นการมีบุตรมากจึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาทุพโภชนาการเกิดขึ้น 3.ความยากจน เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของเด็ก เนื่องจากครอบครัวขาดความสามารถในแสวงหาอาหารที่มีคุณค่าและมีปริมาณที่ไม่เพียงพอสำหรับการเลี้ยงดูบุตรให้มีการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ในส่วนของการดำเนินโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน ได้มีการดำเนินการร่วมกันขององค์กรในพื้นที่ โดยมีวิธีการแก้ไขปัญหาเป็นไปตามสภาพปัญหา ได้แก่ 1.การดำเนินกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรแก่ผู้ปกครองเด็ก ซึ่งจากการประเมินความรู้ของผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายพบว่ามีระดับดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการรับรู้และการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ทำให้ปัญหาเด็กมีภาวะทุพโภชนาการลดลง 2.การดำเนินกิจกรรมให้อาหารเสริมนมแก่เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ สำหรับกลุ่มที่มีสาเหตุปัญหาจากการความยากจนและการมีบุตรมาก ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความสอดคล้องสืบเนื่องกัน ในเบื้องต้นสถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอกได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเตงนอกในการจัดสรรอาหารเสริมนมเพื่อสนับสนุนแก่เด็กที่ประสบปัญหาขาดสารอาหารจากภาวะความยากจนและมีบุตรมาก ร่วมกับมาตรการควบคุมเพื่อให้เด็กได้รับอาหารที่เพียงพอต่อความจำเป็นต่อการสร้างเสริมให้มีการเจริญเติบโตตามวัย หลังจากการดำเนินโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก พบว่าภาวะทุพโภชนาการของกลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น จากที่พบเด็ก 0-5 ปีมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 7.64 ลดลงเหลือร้อยละ 5.64 ดังนั้นการที่จะเห็นความสำเร็จต้องอาศัยความต่อเนื่องในการดำเนินโครงการการเฝ้าระวังและการแก้ไขปัญหาจากทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือนที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ
ตัวชี้วัด :

 

2 2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยก่อนเรียนพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
ตัวชี้วัด :

 

3 3.เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพกาย สุขภาพจิต และป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคในเด็ก 0-72 เดือน
ตัวชี้วัด :

 

4 4.เพื่อคัดกรองเด็กทีมีภาวะทุพโภชนาการพร้อมให้การดูแล รักษาและฟื้นฟูต่อไป
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือนที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ (2) 2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยก่อนเรียนพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย (3) 3.เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพกาย สุขภาพจิต และป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคในเด็ก 0-72 เดือน (4) 4.เพื่อคัดกรองเด็กทีมีภาวะทุพโภชนาการพร้อมให้การดูแล รักษาและฟื้นฟูต่อไป

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh