กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูงคิดเป็นร้อยละ 95.91 และได้รับการคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือดคิดเป็นร้อยละ 93.77     กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองมีภาวะความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 28.40 และมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 11.68
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยส่วนใหญ่มีความรู้ในการปฏิบัติตัวและป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน รวมทั้งมีความรู้ในเรื่องการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคดังกล่าว
  3. ผู้ทึี่ตรวจคัดกรองพบความเสี่ยงได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์และรับการตรวจวินิจฉัยที่ถุูกต้อง แต่ยังมีผู้เสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานบางรายที่ปฏิเสธการพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค
  4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับความรู้ในเรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนโดยใช้ตารางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี แต่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้น้อย และไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ กลุ่มเสี่ยงกลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่เนื่องจากไม่สามารถปรับเปลียนพฤติกรรมได้ และกลุ่มป่วยเองก็ไม่ได้ให้ความสำคัญในการรักษา ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้จากหลายๆ สาเหตุส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนตามมา บางรายต้องกลายเป็นผู้พิการ สาเหตุที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของตัวเองได้ มีดังนี้     4.1 ไม่มารับยาอย่างต่อเนื่อง จากสาเหตุ           - ไม่มีอาการของโรค           - ไม่มีคนพามารับยา           - ทานยาสมุนไพร (พืชที่เชื่อว่าเป็นยาสมุนไพร, ชื่อยาที่เชื่อว่าเป็นยาสมุนไพรมารับประทาน)     4.2 ไม่รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง จากสาเหตุ           - คิดว่าหายและเพราะไม่มีอาการของโรค           - มีความเชื่อว่าหากรับประทานยาพร้อมอาหารหรือผลไม้บางอย่างอาจทำให้เมาได้ 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และความตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเองจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
ตัวชี้วัด : ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคร้อยละ 80
1230.00

 

2 3. เพื่อให้ผู้ที่ตรวจคัดกรองพบภาวะเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : 1. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 50 2. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้งร้อยละ 50 3. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการส่งพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องร้อยละ 80
1230.00

 

3 4. เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย
ตัวชี้วัด : 1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องร้อยละ 80 2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนรายใหม่ลดลงร้อยละ 10
1230.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1230
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,230
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และความตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเองจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน (2) 3. เพื่อให้ผู้ที่ตรวจคัดกรองพบภาวะเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง (3) 4. เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ติดตามการรักษาของกลุ่มป่วย (2) ให้ความรู้ในกลุ่มเป้าหมาย (3) การตรวจคัดกรองภาวะของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (4) กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (5) ส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงพบแพทย์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh