กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด สู่การใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชนบ้านทุ่งนารี

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการเยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด สู่การใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชนบ้านทุ่งนารี
รหัสโครงการ 62-L3341-2-07
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคชุมชนบ้านทุ่งนารี
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2562
ปี 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2562 - 31 ธันวาคม 2562
งบประมาณ 14,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 นางยุพิน มณีสุวรรณ 2 นางสมพร ขวัญคง 3 นส.รัชนี ศิริมุสิกะ 4 นายนิพนธ์ คำแก้ว 5 นางศิชารัชต์ แสงจง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ประเด็น
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล(Rational Drug Use : RDU) เป็นนโยบายหลักของกระทรวงสาธารณสุข ที่มี เป้าหมายเพื่อลดปัญหาการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม เช่น การใช้ยาโดยไม่มีข้อบ่งชี้, การใช้ยาซ้ำซ้อนหลายขนานมากเกินความจำเป็น และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผล เป็นต้น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก(WHO) ประเมินว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของการใช้ยาเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านยาต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศ เมื่อปี 2553 มีมูลค่าสูงถึง ร้อยละ 46.7 ซึ่งสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วประมาณ 4 เท่า นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของไทยเพิ่มขึ้นทุกปีโดยในปี พ.ศ. 2555 โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการข้าราชการสูงถึงกว่าเจ็ดหมื่นล้านบาท
ปีงบประมาณ 2560 ผลการดำเนินงาน RDU ของ รพ.ป่าบอน ในภาพรวมผลงานยังต่ำกว่าเกณฑ์ ดังนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (URI : Upper Respiratory tract Infection) ในผู้ป่วยนอก เท่ากับ ร้อยละ 25.43 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 20), การใช้ยาปฏิชีวนะในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea) เท่ากับ ร้อยละ 21.30 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 20), การใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ เท่ากับ ร้อยละ 72.45 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 40) และการใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงหลังคลอดปกติครบกำหนดทางช่องคลอด เท่ากับ ร้อยละ 13.79 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10)  ส่วนผลการดำเนินงาน RDU ใน รพ.สต. ภาพรวมของอำเภอป่าบอน พบว่า ผ่านร้อยละ 100 ทั้ง 2 ตัวชี้วัด คือ อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea) และอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (URI)  นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยติดเตียงที่ติดเชื้อดื้อยา และต้องนอนรักษาตัวต่อที่บ้านเพิ่มขึ้น จึงเกิดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดเชื้อดื้อยาในชุมชน จากการใช้ยาอย่างไม่สม ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคชุมชนบ้านทุ่งนารี  ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อดื้อยาในชุมชน โดยการให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่แกนนำด้านสุขภาพเพื่อเป็นแกนนำในการดำเนินงานของชุมชนบ้านทุ่งนารี

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อให้แกนนำเยาวชนต้นกล้าตาสับปะรด บ้านทุ่งนารี มีความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU)
  2. เพื่อสำรวจการใช้ยาในครัวเรือนของชุมชนบ้านทุ่งนารี
  3. เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์การใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) ของชุมชนบ้านทุ่งนารี
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมอบรม ให้ความรู้ เรื่องการใช้ยาในครัวเรือนอย่างสมเหตุผล (RDU)
  2. การสำรวจการใช้ยาในครัวเรือน
  3. -ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ในชุมชน โดยใช้สื่อ คณะโขนตะลุง
วิธีดำเนินการ

1) ประชุมอบรม ให้ความรู้ เรื่องการใช้ยาในครัวเรือนอย่างสมเหตุผล (RDU) แก่เยาวชนแกนนำจำนวน 15 คน 2) การสำรวจการใช้ยาในครัวเรือน จำนวน 3 หมู่บ้านๆ ละ 20 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 60 ครัวเรือน พร้อมให้ความรู้การใช้ยาในครัวเรือน ตลอดจนมีการค้นหาปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล, ยาปฏิชีวนะเหลือใช้ โดยมีการสร้างแรงจูงใจผ่านกิจกรรมยาเหลือใช้แลกไข่
3) ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ความรู้ในชุมชน ผ่านสื่อโขนตะลุงที่พัฒนาต่อยอดจากหนังตะลุงซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดพัทลุง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) เยาวชนแกนนำด้านสุขภาพของชุมชนบ้านทุ่งนารี ได้รับการให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU)
2) เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(RDU) ในชุมชน อย่างยั่งยืน 3) ครัวเรือนในชุมชนบ้านทุ่งนารี มีความปลอดภัยด้านการใช้ยา