กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.1 กิจกรรมสำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน ก่อนดำเนินกิจกรรมอบรมและหลังดำเนินกิจกรรมรณรงค์ควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออก โดย อสม.ในชุมชน ซึ่งมีข้อมูลผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน 2562 ดังแสดงในตารางนี้ เดือน จำนวนบ้านที่สำรวจ (หลัง) จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำ (หลัง) ค่า HI ค่า CI ค่า BI กุมภาพันธ์ 156 48 30.76 8.17 39.10 มีนาคม 159 43 27.04 8.34 38.36 เมษายน 155 43 27.74 8.26 41.93 พฤษภาคม 158 42 26.58 7.93 41.13 มิถุนายน 153 43 28.10 8.19 43.79 กรกฎาคม 106 35 33.02 9.43 45.28 สิงหาคม 155 59 38.06 11.54 61.29 กันยายน 143 44 30.77 9.52 48.25

จากผลการสำรวจดังกล่าว พบว่า ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI) สูงที่สุดในเดือนสิงหาคม ร้อยละ 38.06 และในเดือนกันยายน ลดลงจากเดือนสิงหาคมร้อยละ 7.29 และน้อยที่สุดในเดือนพฤษภาคม ร้อยละ 26.58
1.2 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2562 ณ ชุมชนตรอกลิเก แต่มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 51 คน โดยมีวิทยากรจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 จ.ตรัง มาให้ความรู้ในเรื่องสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และการดูแลเบื้องต้นผู้ป่วย ชีววิทยาของยุง การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สาธิตการทำปูนแดงตะไคร้หอมและมอบปูนแดงตะไคร้หอมแก่ครัวเรือนที่สนใจนำไปใช้ 1.3 จัดกิจกรรมควบคุม/ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยการทำปูนแดงตะไคร้หอม และเดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปรับสภาพจัดสิ่งแวดล้อมในชุมชน พร้อมแจกเอกสารหรือแผ่นปลิว และปูนแดงตะไคร้หอม ให้กับครัวเรือนที่สนใจนำไปใช้ในชุมชน 1.4 ครัวเรือนในชุมชนตรอกลิเกที่นำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้ จำนวน 141 หลัง คิดเป็นร้อยละ 62.95 ของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน 1.5 ประเมินความพึงพอใจการใช้ปูนแดงตะไคร้หอมในครัวเรือนที่นำปูนแดงตะไคร้หอมไปใช้ จำนวน 141 หลัง ซึ่งมีผลการประเมินดังตารางนี้ รายการความพึงพอใจ  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแปลผล ด้านการใช้ประโยชน์ 80.21 4.01 มาก - ทำให้ท่านหรือญาติของท่านมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 82.2 4.11 มาก - มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน มีความสะดวก 78.58 3.93 มาก - มีประโยชน์ต่อท่าน และประชาชนในชุมชน 79.86 3.99 มาก ด้านความปลอดภัย
- สามารถใช้ปูนแดงตะไคร้หอมได้  โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย 80.43 4.02 มาก ด้านความสวยงาม
- นวัตกรรมมีความน่าสนใจ 77.59 3.88 มาก ด้านความคุ้มค่า คุ้มทุน
- ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ  ไม่ฟุ่มเฟือย 80.28 4.01 มาก สามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้ 76.88 3.84 มาก ได้รับคำแนะนำให้ใช้ปูนแดงตะไคร้หอมกำจัดลูกน้ำยุงลายจาก อสม. 83.26 4.16 มาก การเข้าถึงของ อสม. ใน การนำปูนแดงมาแจกจ่าย 83.3 4.19 มาก 1.6 สรุปค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ จำนวน 20,000.- บาท รายละเอียดดังนี้ - ค่าสมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แผ่นปลิว/แบบประเมิน เป็นเงิน 1,020 บาท - ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 300 บาท     - ค่าป้าย ปชส.ไข้เลือดออก เป็นเงิน 600 บาท - ค่าเช่าเต็นท์/โต๊ะ/เก้าอี้ เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าจัดซื้อเครื่องปั่นไฟฟ้าสำหรับปั่นตะไคร้หอม เป็นเงิน 1,990 บาท - ค่าจัดซื้อตาชั่งน้ำหนัก เป็นเงิน 430 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 4,060 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีป้องกันและควบคุมโรคด้วยตนเอง ให้กับประชาชนในชุมชน ให้มีความตระหนักในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในครัวเรือน
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน
ตัวชี้วัด : ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน House Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ≤10)
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 51
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 51
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก  วิธีป้องกันและควบคุมโรคด้วยตนเอง ให้กับประชาชนในชุมชน  ให้มีความตระหนักในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในครัวเรือน (2) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลาย (2) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ (3) กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh