กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองผู้สูงอายุและผู้พิการตามเกณฑ์ประเมินศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL)

ให้ความรู้เรื่องการคัดกรองผู้สูงอายุและผู้พิการตามเกณฑ์ประเมินศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน( ADL)16 กรกฎาคม 2562
16
กรกฎาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาปูน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา  12.00 น. -  12.30 น. ลงทะเบียน/รับเอกสาร เวลา  12.30 น.  - 13.00 น. พิธีเปิด เวลา 13.00 น. – 14.30 น.                          ให้ความรู้เรื่องการคัดกรองผู้สูงอายุและผู้พิการตามเกณฑ์ประเมินศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน( ADL) เวลา 14.30 น. – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 14.45 น. – 16.15 น.                          ให้ความรู้เรื่องการคัดกรองผู้สูงอายุและผู้พิการตามเกณฑ์ประเมินศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน( ADL) (ต่อ) เวลา 16.15 น. - 16.30 น. พิธีปิด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประเมิน ADL การจำแนกผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน การจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินงานดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มศักยภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่ายและผู้ทรงคุณวุฒิได้ประยุกต์จากเกณฑ์การประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (ฺBarthel ADL index) ซึ่งมีคะแนน ดังนี้ 1.ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุที่พึงพาตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ ชุมชนและสังคมได้(กลุ่มติดสังคม) มีผลรวมคะแนน ADL ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป 2.ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2 ผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองได้บ้าง ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง(กลุ่มติดบ้าน) มีผลรวมคะแนน ADL อยุ่ในช่วง 5-11 คะแนน 3.ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุที่พึ่งตนเองไม่ได้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ หรือทุพพลภาพ(กลุ่มติดเตียง) มีผลรวมคะแนน ADL อยู่ในช่วง 0-4 คะแนน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม 1.เพื่อให้ทราบสถานะสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการขั้นพื้นฐาน 2.เพื่อให้จัดระบบการดูแลตามกลุ่มศักยภาพ จากการทำกิจกรรมโครงการดังกล่าว พบว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งคณะทำงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนได้สรุปดังนี้ 1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ตั้งแต่เริ่มต้นของโครงการคัดกรองผู้สูงอายุและผู้พิการ ตามเกณฑ์ประเมินศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) จนถึงวันปิดการฝึกอบรม 2. วิทยากร ให้ความเป็นกันเองและให้ความรู้อย่างทั่วถึง