กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนย่าตำบลควน ปี 2562

โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิกุนคุนย่า23 สิงหาคม 2562
23
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลควน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ดำเนินงานตามโครงการ การดำเนินงานตามโครงการมีการจัดกิจกรรม ดังนี้ 1.1 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน รพ.สต. และอื่น ๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ 1.2 ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย 1.3 รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลาย โดยวิธี 1.4 ทางกายภาพ รณรงค์ให้ชุมชนร่วมโรงเรียน ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน 1.5 ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียนโดย อสม.
  และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย 1.6 ทางชีวภาพ สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง 1.7 จัดซื้อ วัสดุ ครุภัณฑ์ และสารเคมี ดังนี้ - จัดซื้อทรายอะเบท            จำนวนเงิน  5,000.00 บาท - จัดซื้อน้ำยาเคมีพ่นยุงลาย        จำนวนเงิน  3,400.00 บาท - จัดซื้อเครื่องพ่นหมอกควัน(ชนิดเล็ก)  จำนวนเงิน  7,300.00 บาท - จัดซื้อแก๊สกระป๋อง            จำนวนเงิน  3,000.00 บาท - พ่นหมอกควันเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนย่า จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ1,200บาท จำนวนเงิน 2,400บาท

  1. การประเมินผล

2.1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 (ม.ค.-20 ส.ค.62) เท่ากับ 0 คนต่อแสนระชากร   (ไม่มีผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังในระบบรายงาน) 2.2 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก (ประเมินจากการออกสำรวจและ-
เยี่ยมบ้าน 2.3 ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก (ประเมินจาก
การออกสำรวจและ-เยี่ยมบ้าน
2.4. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
    (ประเมินจาก การออกสำรวจและ-เยี่ยมบ้าน
2.5. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย (ประเมินจากค่าการสำรวจลูกน้ำยุงลาย)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน ๕๐ คนต่อแสนประชากร 2. ลดอัตราป่วยด้วยโรคชิคุนกุนย่า 3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนย่า 4. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนย่า             5. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ             6. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย