กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านโหล๊ะหาร

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านโหล๊ะหาร
รหัสโครงการ 62-L3341-1-06
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร
วันที่อนุมัติ 23 กรกฎาคม 2562
ปี 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 31 ธันวาคม 2562
งบประมาณ 27,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนราวุฒิ แก้วหนูนวล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ประเด็น
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

ไข้เลือกออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคและนอกจากจะเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข ของประเทศไทยแล้วยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้นเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย โดยมียุงตัวเมียกัดคนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็กและในปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคกับผู้ใหญ่และมีจำนวนมากขึ้นทุกปีตามบ้านเรือน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการและชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ จานรองกระถางต้นไม้ เป็นต้น       ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพประชาชน จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกประจำปี 2562ขึ้น เพื่อเป็นการให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบและครอบคลุมทุกครัวเรือนพร้อมทั้งกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกและเพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกและเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
  2. เพื่อลดความชุกของพาหะนำโรคไข้เลือดออก
  3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
วิธีดำเนินการ

วิธีดำเนินการ
๑. ประชุมชี้แจ้งแนวทางการดำเนินงานฯ ๒. จัดประชุมกลุ่มเป้าหมายฯ ๓. สุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายแต่ละหมู่บ้าน ๔. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเป้าหมายมีความเกี่ยวกับไข้เลือดออกที่ถูกต้อง ๒. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของแต่ละหมู่บ้าน น้อยกว่า ๑๐ ๓. ประชาชนตื่นตัวและให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น ๓. ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่