กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ปี พ.ศ 2562
รหัสโครงการ 62-LNK-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสุขภาพชุมชนตำบลนาเกตุ
วันที่อนุมัติ 26 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 59,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเยี่ยม คงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางประภัสสร ขวัญกะโผะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.744,101.155place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 59,710.00
รวมงบประมาณ 59,710.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกมานานมากกว่า 50 ปีและเริ่มมีการระบาดของไข้เลือดออกอย่างชัดเจน ในปี พ.ศ.2501 โดยเฉพาะผู้ป่วยผู้ป่วยที่ตรวจพบในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่นั้นมาก็มีรายงานการระบาดกระจายออกไปทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2530 มีรายงานผู้ป่วยสูงสุดในประเทศไทยเท่าที่มีรายงานมา พบผู้ป่วยมีจำนวน 174,285 ราย เสียชีวิต 1,007 ราย ในปี พ.ศ.2562 นี้ พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 24,630 คน เสียชีวิต จำนวน 41 ราย อัตราป่วยคิดเป็น16,000 ต่อแสนประชากร ซึงพบว่าเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ การกระจายของโรคไข้เลือดออกพบว่าภาคใต้มีอัตราป่วยมากที่สุด ในจังหวัดปัตตานีพบผู้ป่วยจำนวน 352 คน คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร 49.90 ซึ่งให้เคียงกับเกณฑ์มาตรฐานที่ไว้ อัตราป่วยต่อแสนประชากรไม่ควรเกิน 50
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย ที่มีฝนตกตลอดทั้งปีทำให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของยุงลาย ผู้ป่วยไข้เลือดออจะติดโรคโดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่กัดในเวลากลางวันเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากธรรมชาติของยุงลายจะหากินเวลากลางวัน โดยจะเริ่มจากอาการไข้ ตัวร้อน ในผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจจะทำให้ช๊อกและเสียชีวิตได้ในที่สุด ปัจจัยที่ความสำคัญต่อการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ เช่นภูมิต้านทานของประชาชน ความหนาแน่นของประชากร ชนิดของไวรัส สภาพภูมิอากาศ แต่ที่มีลักษณะเหมือนกันที่ก่อให้เกิดการะบาดของไข้เลือดออกได้มากที่สุด การขาดความรู้ความเข้าใจและความตระหนักของประชาชนในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง รวมไปถึงการดำเนินงานควบคุมโรคอย่างจริงจังของเจ้าหน้าที่
ตำบลนาเกตุ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปี 2562 จำนวน 19 คน คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร 237 ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 50 ต่อแสนประชากร จำนวนผู้ป่วยที่มากทำให้ยากต่อการควบคุมและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นวงกว้าง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุเล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อการดำเนินงานควบคุมป้องกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้สามารถควบคุมป้องกันไข้เลือดออกได้อย่างทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือกออกในพื้นที่

 

0.00
3 เพื่อให้คนในชุมชนมีความตระหนักและร่วมกันควบคุมป้องกันไข้เลือดออกให้เกิดความยั่งยืน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 59,710.00 1 59,710.00
1 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมเฝ้าระวังและควบคุมไข้เลือดออก 0 59,710.00 59,710.00

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.นาเกตุ 2. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม, ผู้นำชุมชน 3.ดำเนินงานตามแผนกิจกรรมที่วางไว้ 3.1 กิจกรรมกำจัดยุงลายตัวแก่ พ่นหมอกควันครอบคลุมพื้นที่จำนวน 7 หมู่บ้าน 3.2 กิจกรรมควบคุมลูกน้ำยุงลาย อสม ร่วมกับประชาชนในพื้นทีร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง จำนวนทั้งหมด 8 ครั้ง 3.3 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์/ให้ความรู้เรื่องการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายผ่านทางเสียงตามสายหรือรถกู้ชีพของ อบต.นาเกตุ จำนวน 1 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 2.ชุมชนมีส่วนร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2562 13:29 น.