กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินในพื้นที่ ประจำปี 2563

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินในพื้นที่ ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63 - L7255 -05-01
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 25 กันยายน 2562
ปี 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 500,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ โดย นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ประเด็น
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม(คน) ขนาด 5000.00
  2. จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหมอกควันไฟใหม้ป่า(คน) ขนาด 5000.00
  3. จำนวนเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(คน) ขนาด 300.00
  4. จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน) ขนาด 5000.00
  5. จำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบด้วยโรคติดต่อที่เกิดขึ้นใหม่ ขนาด 5000.00

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ไว้ 5 ประเภท ซึ่งได้ระบุให้ประเภทที่ 5 ใช้ในกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของเทศบาลเมืองคลองแหในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย สาธารณภัย ภัยพิบัติต่างๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทำให้การแพร่ระบาดของโรคสายพันธุ์ต่างๆ    การเกิดปัญหาหมอกควันจากประเทศอินโดนีเซียในอดีต สาเหตุเกิดจากการเผาป่าเพื่อทำทุ่งของชาวบ้าน ทำให้เกิดหมอกควันในจังหวัดสงขลาอย่างหนาแน่น ส่งผลให้ประชาชนเริ่มมีอาการแสบตา และหายใจติดขัด ปัญหาการเกิดน้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่ในอดีตตั้งแต่ปี 2376-2553 นับจำนวน 14 ครั้ง ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ซึ่งโรคที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษจำนวน 7 โรค ได้แก่ ตาแดง ฉี่หนู ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง มือ เท้า ปาก การเกิดโรคติดต่อในโรงเรียนในช่วงหน้าฝนมักพบโรคมือเท้าปากในปี 2560 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยมากที่สุดในภาคใต้จำนวน 390 ราย ในปี 2561 จำนวน 220 ราย แนวโน้มการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ อาจจะมีเพิ่มขึ้นในอนาคตเนื่องจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เทศบาลเมืองคลองแหเป็นพื้นที่หนึ่งที่เคยประสบภัยพิบัติจากภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและผลกระทบจากโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายในเขตเทศบาลเมืองคลองแห เพื่อให้การ ปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุข งานบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลเมืองคลองแห ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชน จึงได้ดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ เพื่อการป้องกันควบคุมโรคไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง และให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อลดผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ด้านสาธารณสุข

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม(คน)
  2. เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(คน)
  3. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
  4. เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหมอกควันไฟใหม้ป่า(คน)
  5. ลดปัญหาผลกระทบในการป้องโรคที่เกิดขึ้นใหม่
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การแก้ไขปํญหาทางด้านสุขภาพที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติละโรคระบาด
  2. กิจกรรมการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. จัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ในการแก้ไขและป้องกันภัยพิบัติและระบาดในพื้นที่ตำบลคลองแห
  4. ประชุมทีมงาน เช่น จนท.,อสม.,ชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อม วางแผนการดำเนินงาน
  5. การประชาสัมพันธ์โครงการ
  6. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง
  7. จัดซื้อครุภัณฑ์ในการแก้ไขปัญหาโรคระบาดและภัยพิบัติ
  8. อบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  9. ประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
วิธีดำเนินการ
  1. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
        2. ติดตามสถานการณ์และรวบรวมข้อมูล
        ๓. ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
        4. ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง/ อสม. เพื่อวางแผนการป้องกันและควบคุมสถานการณ์ การเกิดภาวะ ฉุกเฉินทางสุขภาพ
        ๕. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ให้เพียงพอในการป้องกันและควบคุมโรค
        6. ติดตามเยี่ยมและประเมินสุขภาพของประชาชนภายในเขตเทศบาล
        7. ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคและผลกระทบจากภัยสุขภาพ
        8. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จ
        9. สรุปปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในเขตเทศบาลมีความรู้เกี่ยวกับโรคและสามารถปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคและภัยทางสุขภาพได้ อย่างถูกต้อง
  2. ประชาชนภายในเขตเทศบาลสามารถเตรียมตัวป้องกันภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
  3. ประชาชนในเขตเทศบาลได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ