กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเป็นผู้สูงวัยที่มีความสุข ประจำปี 2563

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเป็นผู้สูงวัยที่มีความสุข ประจำปี 2563
รหัสโครงการ L7255-02-05
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนหลังบิ๊กซี
วันที่อนุมัติ 25 กันยายน 2562
ปี 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 58,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาง พรทิพย์ พละสินธ์ุ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนหลังบิ๊กซี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ประเด็น
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานผู้สูงอายุ
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน) ขนาด 30.00
  2. จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน) ขนาด 15.00
  3. จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น ขนาด 20.00
  4. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 20.00

จากการศึกษาข้อมูลพบว่าโครงสร้างประชากรของประเทศไทย กลุ่มประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจาก
  การพัฒนาด้านสาธารรณสุขและทางแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุ ถือว่าเป็น ปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก และเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย แต่ในปัจจุบัน เป็นสังคมที่มีการแข่งขันในเรื่องการทำงาน บุตรหลานซึ่งเป็นวัยทำงาน จะต้องออกไปนอกบ้าน กว่าจะกลับมาก็ค่ำ ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่าง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้สูงวัยลดน้อยลง มีช่องว่างระหว่างวัย ผู้สูงอายุถูกปล่อยให้อยู่กับบ้าน รู้สึกน้อยใจ ไม่มีคุณค่า ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
  จากการสำรวจข้อมูลด้านผู้สูงอายุ มีจำนวนผู้สูงอายุที่ติดบ้านและมีปัญหาในเรื่อง นอนไม่หลับ เศร้า และมีปัญหาในการพูดคุยกับลูกหลานในครอบครัว และไม่สามารถไปร่วมกิจกรรมนอกพื้นที่ได้ จำนวน 30 คนในการนี้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนหลังบิ๊กซี ร่วมกับ ชุมชนทุ่งทอง ชุมชนประชาสรรค์ ชุมชนวัดคลองแห ชุมชนเมืองใหม่ ได้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ และความเป็นอยู่ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ การปรับตัว การอยู่ร่วมกับ ครอบครัว และสังคม ได้อย่างมีความสุข ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ
  2. เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
  3. เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมประชุม
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้และประเมินสุขภาพ จำนวน 3 วัน วันที่ 1 ภาคทฤษฎี วันที่ 2และ 3 ภาคปฏิบัติ
  3. ตืดตามเยี่ยมบ้านประเมินสุขภาพ
  4. ติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินสุขภาพ
  5. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
  6. อบรมให้ความรู้และประเมินสุขภาพผู้สูงอายุและแกนนำ วันที่ 1
  7. อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุและแกนนำ วันที่ 2
  8. อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุและแกนนำ วันที่ 3
  9. ประชุมสรุปโครงการ
วิธีดำเนินการ

1.จัดประชุมสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนหลังบิ๊กซี ร่วมกับ ชุมชนทุ่งทอง ชุมชนประชาสรรค์ ชุมชนวัดคลองแห ชุมชนเมืองใหม่ เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานตามโครงการ
2.จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจาก สปสช.เทศบาลเมืองคลองแห
3.ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ผู้นำกลุ่มต่างๆ เช่น รพ.สต.คลองแห แกนนำสุขภาพชุมชน อสม. ผู้แทนชุมชน กรรมการกลุ่มจิตอาสา สายธารทิพย์สู่ชุมชน เพื่อเตรียมการอบรม
4.ประสานงานกับวิทยากร/จัดหาวัสดุอุปกรณ์/สถานที่อบรม
5.ดำเนินการตามโครงการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันให้แก่ผู้สูงอายุ และผู้ที่จะก้าวสู่การเป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในเขตภูมิลำเนาพื้นที่คลองแห
6.ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้การเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และมีทักษะในการปฏิบัติตน รวมทั้งสามารถแก้ปัญหา ด้านสุขภาพด้วยตนเอง
  2. ผู้สูงอายุ ได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้ลดภาวะโรคเครียด หรือโรคซึมเศร้า
  3. ผู้สูงอายุ มีทัศนคติที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี