กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

พัฒนาระบบการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองเขารูปช้าง

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนาระบบการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองเขารูปช้าง
รหัสโครงการ 63-L5215-4-1
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายเลขานุการกองทุนฯ
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2562
ปี 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 559,960.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบุญเลิศ แก้วเอียด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ประเด็น
แผนงานสุรา , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ 2545 มาตรา13 (3) มาตรา18 (4) (8) (9) และมาตรา 47 ประกอบกับประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบริหารจัดการระบบ หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่พ. ศ. 2561 ข้อ 6 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยให้มีกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการสาธารณสุข ของหน่วยบริการ  สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุขหน่วยงานหรือองค์กรหรือ คณะประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึง บริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้และมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นวรรณกรรมชิ้นสำคัญในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและประสานหน่วยงานองค์กรและการผลิตเครือข่าย ในพื้นที่เข้ามาค้นปัญหาและความต้องการของประชาชนร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพ  ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาสุขภาพเชิงรุกและฟื้นฟูสมรรถภาพ    ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ด้วยการนำแผนยุทธศาสตร์หรือแผนสุขภาพชุมชนมาเป็นเครื่องมือบริหาร การเปลี่ยนแปลงจนทำให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเองและสร้างกลไกทางสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. พัฒนาระบบการบริหารจัดการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน
  3. ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง
วิธีดำเนินการ

1.รวบรวมข้อมูลภาวะสุขภาพเพื่อกำหนดแผนสุขภาพชุมชนและวางแผนบริหารจัดการ 2.เสนอขออนุมัติโครงการ 3.ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพื่อให้การดำเนินงานกองทุนและดำเนินกิจกรรมต่างๆสอดคล้องตามแผนงาน 4.จัดเวทีประชาคมเพื่อจัดทำแผนสุขภาพชุมชนโดยภาคีเครือข่ายสุขภาพกลุ่มต่างๆรร่วมเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ไข 5.ประชาสัมพันธ์กองทุนฯ 6.รายงานผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คณะกรรมการกองทุนฯและผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ 2.มีการดำเนินงานอย่างบูรณาการและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิทธิประโยชน์ที่เป็นภูมิปัญาของท้องถิ่นและสอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกำหนด 3.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์การดำเนินงานให้สอดคล้องตามสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด 4.มีพื้นที่ต้นแบบที่มีผลงานป็นนวัตกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 5.เผยแพร่ผลงานและเกิดการขยายผลการดำเนินงานสุขภาพในชุมชนอื่น