กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเปตองเพื่อสุขภาพ ชุมชนเมืองใหม่ ประจำปี 2563

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเปตองเพื่อสุขภาพ ชุมชนเมืองใหม่ ประจำปี 2563
รหัสโครงการ L7255-02-01
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนเมืองใหม่เทศบาลเมืองคลองแห
วันที่อนุมัติ 25 กันยายน 2562
ปี 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 12,963.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางไพจิตร เภาทอง ประธานชุมชนเมืองใหม่เทศบาลเมืองคลองแห
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ประเด็น
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานความปลอดภัยทางถนน
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) ขนาด 10.00
  2. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 20.00
  3. ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่สูบบุหรี่ ขนาด 1.00
  4. มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(มาตราการ) ขนาด 1.00
  5. มาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ(จำนวนมาตรการ) ขนาด 0.00

การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งภูมิต้านทานโรค สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลของประชาชน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่เข้าร่วมการออกกำลังกายได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน และส่งเสริมให้มีสุขภาพทางจิตใจที่ดีและห่างไกลยาเสพติดพร้อมทั้งเป็นการเสริมสร้างความรักความสามัคคีและสัมพันธภาพที่ดีต่อกันของสมาชิกในชุมชนและครอบครัว ซึ่งที่ผ่านมาทางชุมชนเมืองใหม่และพื้นที่ใกล้เคียงได้จัดกิจกรรมคัดกรองสุขภาพในชุมชน พบผู้มีความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน ภาวะรอบเอวเกิน ร้อยละ 35 และส่งการออกกำลังกาย เป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้อีกวิธีหนึ่ง

คณะกรรมการชุมชนเมืองใหม่ เครือข่ายสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง ได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนจึงได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพแบบยั่งยืนเน้นการสร้างสุขภาพและเล็งเห็นว่ากิจกรรมการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ในรูปแบบ ออกกำลังกายแบบยืดเหยียดแอโรบิก เต้นซุมบ้า การเล่นเปตอง เพื่อสุขภาพสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน และหลอดเลือดสมอง และป้องกันเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลบุหรี่ สารเสพติดจากการประชุมมีมติให้กรรมการชุมชนเมืองใหม่จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเปตองเพื่อสุขภาพ ชุมชนเมืองใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2563 และพื้นที่ข้างเคียง เพื่อให้มีความตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆการมีสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และป้องกันเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลบุหรา สารเสพติก และมีการเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งสร้างแกนนำในการออกกำลังกายของชุมชนเองโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน
  2. เพื่อเพิ่มจำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ
  3. เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
  4. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
  5. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและเหมาะสม และประเมินสุขภาพผู้เข้าร่วม
  3. กิจกรรมออกกำลังกายโดยการเล่นเปตองอย่างต่อเนื่อง
  4. การประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังออกกำลังกาย
  5. กิจกรรมออกกำลังกายโดยการเล่นเปตองอย่างต่อเนื่อง
  6. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและเหมาะสม และประเมินสุขภาพผู้เข้าร่วม
  7. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  8. การประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังออกกำลังกาย
วิธีดำเนินการ
  1. ประชุมกรรมการชุมชน เครือข่ายสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห และประชาชนชุมชนเมืองใหม่ เพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการ
  2. ประชาสัมพันธ์ในชุมชนถึงการดำเนินโครงการ “โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเปตองเพื่อสุขภาพ ชุมชนเมืองใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2563”และดำเนินการ รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
  3. ประเมินสภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน รอบเอว  ก่อน - หลัง ดำเนินโครงการ
  4. อบรมให้ความรู้ในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกวิธี และเหมาะสมกับวัย
  5. ดำเนินการออกกำลังกายทุกวันและต่อเนื่อง จัดให้มีผู้นำการออกกำลังกายมานำการออกกำลังกายที่ถูกวิธีใน เวลา 17.00 น. - 19.30 น. อย่างน้อยสัปดาห์ละ ไม่น้อยกว่า 3 วัน โดยมีผู้นำออกกำลังกายวันละ 1 คน
  6. บันทึกจำนวนผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมทุกวัน
  7. ประเมินผลก่อน – หลังดำเนินโครงการโดยการประเมินสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในชุมชนได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องมีการใส่ใจตัวเองในการดูแลสุขภาพมากขึ้นส่งผลให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
2. ประชาชนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
3. ประชาชนชุมชนเมืองใหม่เป็นชุมชนปลอดสารเสพติด