กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิค หรือบาสโลบ ชุมชนวัดคลองแห ประจำปี 2563

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิค หรือบาสโลบ ชุมชนวัดคลองแห ประจำปี 2563
รหัสโครงการ L7255-02-03
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนวัดคลองแห ทม.คลองแห
วันที่อนุมัติ 25 กันยายน 2562
ปี 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 31,510.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาย ยุทธศักดิ์ ดวงสุวรรณ ประธานชุมชนวัดคลองแห
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ประเด็น
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) ขนาด 20.00
  2. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 5.00
  3. ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ขนาด 25.00
  4. ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ขนาด 30.00
  5. กิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ(กิจกรรม) ขนาด 1.00

การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งภูมิต้านทานโรค สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลของประชาชน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่เข้าร่วมการออกกำลังกายได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน และส่งเสริมให้มีสุขภาพทางจิตใจที่ดีและห่างไกลยาเสพติดพร้อมทั้งเป็นการเสริมสร้างความรักความสามัคคีและสัมพันธภาพที่ดีต่อกันของประชาชนในชุมชนวัดคลองแห ซึ่งที่ผ่านมาทางชุมชนได้จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัยในชุมชนวัดคลองแห และชุมชนใกล้เคียงมาอย่างต่อเนื่องเนื่อง และจากการจัดทำโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ในชุมชน พบกลุ่มที่เสี่ยงเป็นเบาหวาน จำนวน 15 คน เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง16คนรอบเอวเกิน 12คนดัชนีมวลกายเกิน 15คน
      คณะกรรมการชุมชนวัดคลองแห เครือข่ายสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห และประชาชนชุมชนวัดคลองแห ในพื้นที่ใกล้เคียง ได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนจึงได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพแบบยั่งยืนเน้นการสร้างสุขภาพและเล็งเห็นว่ากิจกรรมการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ในรูปแบบ ออกกำลังกายแบบยืดเหยียดบาสโลบแอโรบิก เพื่อสุขภาพสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน และหลอดเลือดสมอง ชุมชนจึงได้ให้ชุมชนวัดคลองแห เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิก หรือบาสโลบ ชุมชนวัดคลองแห ปี 2563 เพื่อให้มีความตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆการมีสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค และมีการเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งสร้างแกนนำในการออกกำลังกายของโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
  2. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
  3. เพื่อเพิ่มกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ
  4. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
  5. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการ ( เต้นแอโรบิก เต้นบาสโลบ )
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
  3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
  5. กิจกรรมการออกกำลังกายโดยการ ( เต้นแอโรบิก เต้นบาสโลบ )
  6. อบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ
วิธีดำเนินการ
  1. ประชุมกรรมการ เครือข่ายสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห และประชาชนชุมชนวัดคลองแห  เพื่อชี้แจงโครงการ
  2. ประชาสัมพันธ์ถึงการดำเนินโครงการ “โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยวิธีเต้นแอโรบิก และบาสโลบ
    ปี 2563 ”และดำเนินการ รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
  3. ประเมินสภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน รอบเอว  ก่อน- หลัง ดำเนินโครงกา ร
  4. อบรมให้ความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกวิธี และเหมาะสมกับวัย
  5. ดำเนินการออกกำลังกายทุกวันและต่อเนื่อง จัดให้มีผู้นำการออกกำลังกายมานำการออกกำลังกายที่ถูกวิธีใน เวลา 18.00 น. - 19.30 น. อย่างน้อยสัปดาห์ละ ไม่น้อยกว่า 3 วัน โดยมีผู้นำออกกำลังกายวันละ 1 คน
  6. บันทึกจำนวนผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมทุกวัน
  7. ประเมินผลก่อน – หลังดำเนินโครงการโดยการประเมินสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สมาชิกชมรม ประชาชนในชุมชน ได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องมีการใส่ใจตัวเองในการดูแลสุขภาพมากขึ้นส่งผลให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน
2.มีกิจกรรมทางกายโดยการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆเพิ่มขึ้น
3.ลดอัตราเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเบาหวาน ในชุมชน