กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดตามและสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบล LTC และกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัดผ่านกลไกพี่เลี้ยง 3 กองทุน จังหวัดสงขลา ปี2563

นิเทศงานกองทุนอำเภอสทิงพระ โดย นาย ศุภชัย และนาง เพียงขวัญและทีมพี่เลี้ยง14 สิงหาคม 2563
14
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย เพียงขวัญ กาญจนเพ็ญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 แจ้งแนวทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2564

1.1 กองทุนสุขภาพตำบลใช้แนวทางปี 2563 และไม่สนับสนุนงบประมาณหากมีเงินคงเหลือ เกิน 2 เท่า

1.2 กองทุนดูแลระยะยาวผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) จะไม่มีการจัดสรรเงินค่าบริการสาธารณสุข จำนวน 100,000 บาท แก่ CUP หรือ คู่สัญญาปฐมภูมิแล้ว แต่จะสนับสนุนให้ อปท.เป็น 6,000 บาท/ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง 1 ราย

1.3 กองทุนฟื้นฟูคนพิการระดับจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบบริหารกองทุนดังกล่าว จะมีจัดสรรให้ 5 บาท/หัว ปชก. เพิ่มการออกแบบและจ่าย intermediate care:IMC

2.เป้าหมายการดำเนินงาน ปี 64 คือ

2.1 การเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างอัตตลักษณ์การจัดบริการสุขภาพชุมชนโดย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.2 เพิ่มการเข้าถึงบริการ การควบคุมป้องกัน NCDs การเข้าถึงบริการสุขภาพเด็ก

2.3 การดูแลผู้สูงอายุ และการแก้ปัญหาของสุขภาพตามประเด็นของพื้นที่

3.การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร เน้น

3.1 พัฒนาความร่วมมือภาคียุทธศาสตร์

3.2 ถอดบทเรียนและจัดการองค์ความรู้

3.3 พัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของกลไกในระดับพื้นที่

3.4 สร้างอัตลักษณ์การจัดการสุขภาพชุมชนร่วมกับ อปท.

3.5 การประเมินผลการดำเนินงานกองทุน

3.6 การพัฒนาโปรแกรมกองทุนสุขภาพตำบล

4.การจัดสรรเงินกองทุนสุขภาพตำบล ปี 64 คาดการณ์จะมีกองทุนเข้าข่ายไม่ได้รับจัดสรร 509 แห่ง เขต 12 สงขลา ประมาณ 59 แห่ง

คืนเงินให้ส่วนกลาง ประมาณ 21 ล้านบาท ซึ่งเขตสามารถปรับเกลี่ยแบบ global budget สำหรับกองทุนที่มีผลงานดี และสมทบเกินตามที่ประกาศฯกำหนด

5.แนะนำการใช้งานโปรแกรม และการจัดทำแผนงานโครงการบริหารจัดการกองทุน ปี 2564

6.คุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็น

6.1 แนวทางการปฎิบัติงาน กรณีที่ นายกฯ หรือคณะกรรมการลาออกหรือพ้นสภาพในกรณีต่างๆ

6.2 แนวทางในการให้ค่าตอบแทนลูกจ้างจัดประชุม

6.3 แนวทางในการขยายโครงการในช่วงสถานการโควิด-19 สามารถขยายโครงการได้ตามเหมาะสมขึ้นอยู่กับดุลพินิจและรูปแบบกิจกรรม ตามแนวทางของคณะกรรมการกองทุนแต่ละพื้นที่

6.4 แนะนำการใช้ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ฉบับที่ 3 ข้อ 10/1 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ 10 ได้ทันต่อเหตุการณ์ให้ประธานตามข้อ 12 มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขเกิดการระบาดโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็น ได้ไม่เกิน 1 แสนบาท ต่อโครงการ โดยถือว่าโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย แล้วรารายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราย ยกตัวอย่างโรคหัดระบาด สามารถใช้ ประกาศฉบับที่ 3ได้ แต่ถ้าหมอกควันอินโดให้ใช้ 10(5)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจากการนิเทศปี 2563 และชี้แจงแนวทาง การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่และ กองทุนดูแลระยะยาวผู้สูงอายุและบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง ปี 2564

1 กองทุนทราบแนวทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2564.

1.1กองทุนสุขภาพตำบลใช้แนวทางปี 2563. และไม่สนับสนุนงบประมาณหากมีเงินคงเหลือ เกิน 2 เท่า

1.2กองทุนดูแลระยะยาวผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) จะไม่มีการจัดสรรเงินค่าบริการสาธารณสุข จำนวน 100,000 บาท แก่ CUP หรือ คู่สัญญาปฐมภูมิแล้ว แต่จะสนับสนุนให้ อปท.เป็น 6,000 บาท/ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง 1 ราย

1.3กองทุนฟื้นฟูคนพิการระดับจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบบริหารกองทุนดังกล่าว จะมีจัดสรรให้ 5 บาท/หัว ปชก. เพิ่มการออกแบบและจ่าย intermediate care:IMC

2.กองทุนทราบเป้าหมายการดำเนินงาน ปี 64 คือ

2.1 การเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างอัตตลักษณ์การจัดบริการสุขภาพชุมชนโดย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.2เพิ่มการเข้าถึงบริการ การควบคุมป้องกัน NCDs การเข้าถึงบริการสุขภาพเด็ก

2.3การดูแลผู้สูงอายุ และการแก้ปัญหาของสุขภาพตามประเด็นของพื้นที่

3.กองทุนเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร เน้น

3.1.พัฒนาความร่วมมือภาคียุทธศาสตร์

3.2.ถอดบทเรียนและจัดการองค์ความรู้

3.3.พัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของกลไกในระดับพื้นที่

3.4.สร้างอัตลักษณ์การจัดการสุขภาพชุมชนร่วมกับ อปท.

3.5.การประเมินผลการดำเนินงานกองทุน

3.6.การพัฒนาโปรแกรมกองทุนสุขภาพตำบล

4.กองทุนฯทราบวิธีการและแนวทางการจัดสรรเงินกองทุนสุขภาพตำบล ปี 64 คาดการณ์จะมีกองทุนเข้าข่ายไม่ได้รับจัดสรร 509 แห่ง เขต 12 สงขลา ประมาณ 59 แห่ง

คืนเงินให้ส่วนกลาง ประมาณ 21 ล้านบาท ซึ่งเขตสามารถปรับเกลี่ยแบบ global budget สำหรับกองทุนที่มีผลงานดี และสมทบเกินตามที่ประกาศฯกำหนด

5.กองทุนสามารถเรียนรู้ใช้งานโปรแกรม และการจัดทำแผนงานโครงการบริหารจัดการกองทุน ปี 2564

6.เกิดเวทีคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็น ต่างๆดังต่อไปนี้

6.1.แนวทางการปฎิบัตินายกฯ หรือคณะกรรมการลาออกหรือพ้นสภาพในกรณีต่างๆ

6.2.แนวทางในการให้ค่าตอบแทนลูกจ้างจัดประชุม

6.3.แนวทางในการขยายโครงการในช่วงสถานการโควิด-19 สามารถขยายโครงการได้ตามเหมาะสมขึ้นอยู่กับดุลพินิจและรูปแบบกิจกรรม ตามแนวทางของคณะกรรมการกองทุนแต่ละพื้นที่

6.4. มีข้อเสนอแนะว่า การจัดทำแผนสุขภาพของกองทุน ให้มีประสิทธิภาพ และได้รับข้อมูลที่เป็นจริง จึงมีความจำเป็นในการขอข้อมูลจาก หน่วยงานด้านสุขภาพ เช่น สสอ. และ รพ.สต.ในพื้นที อยากจะให้ สปสช.เขต 12 จัดทำหนังสือราชการ ขอความอนุเคราะห์หรืออำนวยความสะดวกในการขอข้อมูลด้านสุขภาพ ให้แก่ สำนักเลขากองทุนฯแต่ละท้องถิ่นต่อไปท