โครงการ กาย จิต สัมพันธ์ สร้างพลังต้านภัยโรค เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2563
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ในการจัดทำโครงการดังกล่าว ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน60 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน โดยวิทยากรได้ให้ความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1)โรคฟันผุ (Dental caries) คือการที่ฟันถูกทำลาย ทำให้เป็นรูหรือโพรง การทำลายนี้จะเป็นไปเรื่อย ๆ โดยร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมฟันส่วนที่ทำลายไปให้กลับเป็นปกติเหมือนเดิมได้
ฟันผุแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
-ฟันผุระยะที่ 1 มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น แนวทางการรักษา แปรงฟันให้สะอาดและถูกวิธี ใช้ฟลูออไรด์เสริม
-ฟันผุระยะที่ 2 มีลักษณะเป็นรอยดำ และมีรู บางครั้งอาจมีอาการเสียวฟัน แนวทางการรักษา อุดฟัน ครอบฟัน
-ฟันผุระยะที่ 3 มีลักษณะเป็นรูกว้างลึก มีอาการปวดเวลาดื่มน้ำร้อน-น้ำเย็น แนวทางการรักษา รักษาคลองรากฟัน ถอนฟัน ใส่ฟันปลอมทดแทน
2)โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อของเหงือก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกระดูก และเนื้อเยื่อปริทันต์รอบๆที่ช่วยพยุงฟัน โรคเหงือกนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากคราบพลัค (แผ่นคราบจุลินทรีซึ่งมีลักษณะเหมือนแผ่นฟิล์มเหนียวไร้สีที่ค่อยๆเกาะรวมตัวกันบนผิวฟัน) ถ้าการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามปกติไม่สามารถขจัดคราบพลัคออกได้หมด คราบพลัคจะเริ่มก่อตัวขึ้น และสร้างเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกและฟัน รวมถึงเนื้อเยื่อเหงือก และกระดูกที่ช่วยพยุงฟัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการฟันโยก ฟันหลุด หรือถูกถอนฟันออกในที่สุด
-แนวทางการรักษาได้ง่ายโดยการขูดหินน้ำลาย (ขูดหินปูน) ร่วมกับการพัฒนาวิธีการแปรงฟันและใช้อุปกรณ์เสริมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสะสมใหม่ของคราบจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค โดยสำหรับคนส่วนใหญ่ควรได้รับการขูดหินน้ำลายทุกๆ 6-12 เดือน
3)โรคตามระบบ เป็นโรคที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเดิมที่เป็นอยู่และมีผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากและฟัน เช่น โรคเบาหวาน การทานยาบางชนิด เช่น ยาความดันโลหิต และการตั้งครรภ์
-แนวทางการรักษา ขูดหินปูน แปรงฟันให้สะอาด ปรึกษาแพทย์
4)ฟันสึก หรือฟันกร่อน เป็นอาการที่ส่วนของฟิวหน้าที่เคลือบฟันอยู่ด้านนอกหลุดลอกหายไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะฟัน เช่น ฟันลึกเป็นหลุม จนเศษอาหารเข้าไปติดได้ง่ายๆ ก่อให้เกิดอาการฟันผุได้หากไม่ดูแลความสะอาดให้ดีพอ หรือหากผิวเคลือบฟันสึกกร่อนมากขึ้นจนถึงเนื้อฟัน อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันขึ้นได้ โดยจะสร้างความเจ็บปวดแบบเสียวแปล๊บๆ เสียวจี๊ดๆ เมื่อทานอาหารเย็นจัด ร้อนจัด หรือเคี้ยวอาหารที่มีความเหนียวหรือแข็ง
-แนวทางการรักษา อุดฟัน ใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม แปรงฟันเบาๆ
การตรวจช่องปากด้วยตนเอง เป็นวิธีการเบื้องต้น ในการดูแลสุขภาพฟันและเหงือก สามารถปฏิบัติได้ง่าย และประหยัดเวลา โดยใช้อุปกรณ์เพียงกระจกเงาส่องหน้าธรรมดา อาจจะใช้กระจกเงาเล็กๆ อีกหนึ่งอัน ช่วยสะท้อนให้เห็นบริเวณที่มองเห็นตรงๆไม่ได้ การตรวจฟันควรทำหลังจากแปรงฟันเสร็จแล้ว การตรวจนี้จะทำให้เราเห็นว่า เราแปรงฟันได้สะอาดจริงหรือไม่ มีฟันที่เริ่มมีรอยดำ หรือเป็นจุดแล้วบ้างหรือไม่ หรือเหงือกบริเวณไหนมีการบวมแดงอักเสบเกิดขึ้น ซึ่งหากพบปัญหา จะได้รีบแก้ไข ก่อนที่จะมีอาการรุนแรง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เวลา และไม่ทรมาน
การตรวจฟันด้วยตนเอง ทำเพื่อ
-ตรวจความสะอาดในช่องปาก หลังจากแปรงฟันแล้ว ว่ามีเศษอาหารติดตามตัวฟัน หรือซอกฟันหรือไม่ตรวจดูว่า สุขภาพของเหงือก ในแต่ละบริเวณเป็นอย่างไร มีหินปูน มีเหงือกร่น หรือคอฟันสึกหรือไม่
-ตรวจดูว่า มีฟันผุ หรือมีสภาพที่อุดฟันเก่าผิดปกติหรือไม่
วิธีการตรวจ หลังแปรงฟัน ควรล้างมือให้สะอาดก่อนตรวจ แล้วลงมือตรวจตามขั้นตอนดังนี้
-ตรวจฟันหน้าบนและล่าง โดย ยิ้ม ยิงฟันกับกระจก ให้เห็นฟันหน้าบนทั้งหมด ทั้งตัวฟัน และเหงือกตรวจฟันกรามด้านติดแก้ม โดยยิ้มให้กว้างไปถึงฟันกราม อาจใช้นิ้วมือช่วยดึงมุมปาก เพื่อให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น
-ตรวจด้านในของฟันล่าง โดยก้มหน้าอ้าปากกว้าง กระดกลิ้นขึ้น เมื่อตรวจดูฟันกรามตรวจด้านบดเคี้ยวของฟันกรามล่าง โดยอ้าปากดูด้านบดเคี้ยวของฟันล้างตรวจฟันบนด้านเพดาน และด้านบดเคี้ยว เงยหน้า อ้าปากดูในกระจก ส่วนฟันหน้าด้านเพดาน อาจใช้กระจกบานเล็กช่วยสะท้อนให้เห็นในกระจกส่องหน้า
ซึ่งหลังจากที่วิทยากรได้ให้ความรู้แล้ววิทยากรก็ได้ให้ผู้เข้ารับการอบรมแบ่งกลุ่มกัน โดยมีคำถามที่เกี่ยวกับการอบรม ซึ่งวิทยากรได้ตั้งคำถามและให้แต่ละกลุ่มที่รู้คำตอบและคิดว่าถูกต้องที่สุดยกมือขึ้นเพื่อตอบคำถามที่วิทยากรถาม จากการสังเกตพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาดังกล่าวเป็นอย่างดีและสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง โดยอธิบายถึงทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้อย่างถูกวิธี ร้อยละ 80 และทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ตนเองได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง โดยการตรวจฟันของตนเอง เพื่อเป็นการป้องกันโรคที่เกิดจากฟันผุได้
-จึงสรุปได้ว่าสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ ข้อที่ 1
1.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และข้อเท้า ข้อเข่า โดยวิทยากรได้ให้ความรู้และทักษะในการดูแลป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจาสุขภาพจากการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และข้อเท้า ข้อเข่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึงโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งพบมากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ
สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม
-เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย
-น้ำหนักตัวเกิน
-การใช้งาน ท่าทาง กิจกกรมที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก
-ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ
-ประสบอุบัติเหตุมีการบาดเจ็บที่ ข้อเอ็น
-การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่า จากการทำงานหรือการเล่นกีฬา
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
-เริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า
-มีอาการข้อฝืดขัด
-มีเสียงดังในข้อ
การดูแลตนเองเพื่อถนอมข้อเข่า
-การนั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้ไม่ควรนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆหรือนั่งราบบนพื้น
-การนอน ควรนอนบนเตียงสูงระดับเข่า ไม่ควรนอนราบกับพื้น
-การยืน ควรยืนตรงให้น้ำหนักตัวลงขาทั้งสองข้างเท่าๆกัน
-การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ยหรือไม่มีส้นพื้นนุ่มกระชับพอเหมาะ
-การใช้ห้องน้ำ ควรใช้ชักโครกหรือถ้าเป็นห้องส้วมนั่งยองควรใช้เก้าอี้นั่งมีรูตรงกลางหรืออุปกรณ์ 3 ขา มาวางคร่อมบนส้วมซึมแทน
-ควบคุมน้ำหนักตัว ควรอยู่ในเกณฑ์สมส่วน
6 ท่าบริหารพิชิตข้อเข่าเสื่อม
ท่าที่ 1 นั่งบนเก้าอี้ค่อยๆยกต้นขาขึ้นหนึ่งข้างแล้วผายขาออกไปแตะพื้นด้านข้างทำสลับกัน 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 เหยียดขาตรงมาด้านหน้าทั้ง 2 ข้าง เตะขาสลับข้างเท้าลอยพื้น เกร็งขา เพิ่มความยากด้วยการเตะสลับไล่ความสูงขึ้นเรื่อยๆ
ท่าที่ 3 นั่งเก้าอี้ในท่าปกติ ยกต้นขาขึ้นตั้งฉาก 1 ข้างและเกร็งกล้ามเนื้อช่วงต้นขาหน้า ค่อยๆยืนหน้าแข็งให้ขนานพื้นค้างไว้ 1 วินาที และชักหน้าแข้งกลับที่เดิม
ท่าที่ 4 ยืดขาให้สุด วางฝ่าเท้าให้ติดพื้นและค่อยๆลากเข้าหาลำตัวช้าๆ
ท่าที่ 5 นั่งเก้าอี้เหยียดขาไปด้านหน้า 1 ข้าง กดเข่าให้ตึงวางฝ่าเท้าไว้กับพื้นกระดกปลายเท้า และวค่อยๆไล่มือลงไปตั้งแต่ต้นขา หัวเข่า หน้าแข้งและปลายเท้า
ท่าที่ 6 ยืนจับเก้าอี้ ยกปลายเท้า 1 ข้างมาด้านหลังและจับปลายเท้าไว้ให้เข่ายืดทรง ไม่เอียงไปด้านข้าง
การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
-ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและตรวจเช็คค่าความดันโลหิตให้อยู่เกณฑ์ปกติ
-ทำความสะอาดเท้าทุกวัน
-สำรวจเท้าและเล็บเท้าอย่างละเอียดทุกวัน
-หากมองไม่เห็นมองไม่ชัดให้ใช้กระจกส่องหรือญาติสำรวจให้
-ใช้ครีมหรือโลชั่นทาบางๆบริเวณฝ่าเท้า
-แช่เท้าในน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 32-35 องศา
-หากมีอาการเท้าเย็นเวลากลางคืนให้ใส่ถุงเท้า
-ควรตัดเล็บอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
-หากมีหนังด้านเกิดขึ้นควรปรึกษาแพทย์
-ควรสวมถุงเท้าหรือถุงน่องที่ไม่แน่นเกินไปก่อนใส่รองเท้าเสมอ
-ตรวจดูรองเท้าภายในและภายนอกทุกครั้งก่อนสวมใส่
-ควรเลือกใส่รองเท้าที่พอดีถูกสุขลักษณะและเหมาะสมกับรูปเท้า
ท่าบริหารเท้ามี 4 ท่า ดังนี้
1)กระดกเท้าขึ้นและลงสลับกันช้า
2)หมุนข้อเท้าโดยหมุนเข้าและหมุนออกช้าๆ
3)ใช้นิ้วเท้าจิกผ้าที่วางอยู่บนพื้น เพื่อบริหารกล้ามเนื้อเล็กๆในเท้า
4)นั่งยกขาขึ้น เหยียดเข่าตึงแล้วกระดกข้อเท้าขึ้น ค้างไว้นับ 1-6 ในใจถือเป็น 1 ครั้ง
ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับเท้ามี 9 ข้อ ดังนี้
1)ห้ามสูบบุหรี่
2)ควรหลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง
3)ห้ามสวมถุงเท้าหรือพันผ้ายืดรอบขาแน่นเกิน
4)ห้ามตัดเล็บลึกถึงจมูกเล็บ
5)ห้ามตัดหนังด้านด้วยตนเอง
6)ห้ามใช้สารเคมีใดๆ ลอกหนังด้านด้วยตนเอง
7)หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าทั้งในบ้านและนอกบ้าน
8)ห้ามเดินเท้าเปล่าบนพื้นผิวที่ร้อน
9)ห้ามใส่รองเท้าแตะประเภทคีบระหว่างนิ้วเท้า
วิธีเลือกซื้อรองเท้ามีด้วยกัน 9 วิธี ดังนี้
1)ลักษณะรองเท้าที่เหมาะสม มีส่วนปิดป้องกันปลายเท้า
2)เลือกรูปทรงรองเท้าที่เหมาะสมกับรูปเท้า
3)ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนของขนาดรองเท้า
4)ลองสวมรองเท้าทั้งสองข้างเสมอ
5)ความยาวของรองเท้าที่เหมาะสม
6)ความกว้างของรองเท้าที่เหมาะสม
7)ส้นเท้าต้องอยู่พอดีกับส้นรองเท้า
8)ถ้าใส่วัสดุเสริมในรองเท้าต้องเปลี่ยนขนาดรองเท้าให้เหมาะสม
9)เท้าเปลี่ยนขนาดได้ตามเวลาและชนิดของกิจกรรม
จากการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมให้มีความรู้และทักษะในการดูแลป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และข้อเท้า ข้อเข่า มีจำนวนคำถามทั้งหมด 10 ข้อ พบว่ากลุ่มเป้าหมายได้คะแนน ดังนี้
ก่อนการอบรม หลังการอบรม
คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ
7 10 16.67 8 10 16.67
8 10 16.67 9 15 25.00
9 15 25.00 10 35 58.33
10 25 41.66
รวม 60 100 รวม 60 100
จากตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรม กลุ่มเป้าหมายทำคะแนนได้อยู่ระหว่าง 7-10 คะแนน ได้คะแนนสูงสุดที่ 10 คะแนน จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 41.66 รองลงมา 9 คะแนน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 25.00 คะแนน น้อยที่สุดที่ 7 คะแนน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 และความถี่ที่ได้มากที่สุด คือ 10 คะแนน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 41.66 หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมายทำคะแนนได้อยู่ระหว่าง 8-10 คะแนน ได้คะแนนสูงสุดที่ 10 คะแนน จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 58.33 รองลงมา 9 คะแนน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 25.00 คะแนน น้อยที่สุดที่ 8 คะแนน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 24.24 และความถี่ที่ได้มากที่สุด คือ 10 คะแนน จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 58.33 เมื่อนำมาเปรียบเทียบการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อละ 91.67 และมีความรู้เท่าเดิม จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 8.33
-จึงสรุปได้ว่าสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ ข้อที่ 2
1.3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม โดยทางผู้จัดได้ใช้กิจกรรมเล่นเกมส์ ตอบคำถาม ฝึกทักษะการจดจำและใช้ไหวพริบ จากการสังเกตการทำกิจกรรมร่วมกันพบว่า ผู้สูงอายุมีความสุขในการเล่นเกมส์และมีความสนุกสนาน ยิ้มแย้มแจ่มใส สามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และสามารถจดจำและใช้ไหวพริบในการเล่นเกมส์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน ร้อยละ 80
-จึงสรุปได้ว่าสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ ข้อที่ 3
1.4 วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการบำบัดฟื้นฟูข้อเท้าและข้อเข่า ด้วยระบบวารีบำบัด
จากการทำกิจกรรมบำบัด ข้อเท้า ข่อเข่า โดยวิธีแช่น้ำเย็น (ลงสระ) (จำนวน 8 ครั้ง) พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่สามารถลดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจาก ข้อเท้า และข้อเข่า และสามารถฟื้นฟูให้หายจากอาการเจ็บป่วยด้วยระบบวารีบำบัดได้โดยวธีแช่น้ำเย็น (สระว่ายน้ำ) คิดเป็นร้อยละ 80 (สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ ข้อที่ 4) โดยมีเนื้อหาในการอบรม ดังนี้
ธาราบำบัด (Aquatic Therapy) คือการนำคุณสมบัติของน้ำมาใช้ในการบำบัดรักษาโรคหรืออาการผิดปกติต่างๆ โดยน้ำจะมีแรงลอยตัว ช่วนลดแรงกดดันข้อต่อ และการเคลื่อนไหวช้าๆในทิศทางต่างๆ น้ำจะเป็นเสมือนแรงพยุงช่วยให้เคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น ในขณะที่การเคลื่อนไหวในน้ำเร็วๆแรงๆนั้น ส่งผลให้น้ำกลายเป็นแรงต้านเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนั้นเอง เมื่อเราประสบปัญหาปวดเข่า หรือได้รับบาดเจ็บทางเข่า เราก็ควรออกกำลังกายที่ไม่ใช้เข่า ซึ่งการออกกำลังกายภายในน้ำนอกจากจะมีการว่ายน้ำ การเดินหรือการวิ่งในน้ำ การเต้น Aerobic ในน้ำ ยังมีการออกกำลังกายชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจในขณะนี้นั้นคือ ธาราบำบัด ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ ปวดเข่า หรือมีปัญหาทางเข่า
-วันที่ 7 มกราคม 2563 เวลา 14.00-15.00 น. เป็นวันแรกของการลงสระทำข้อตกลงการใช้สระ อธิบายข้อดีของสระว่ายน้ำระบบเกลือ คือ อะไร ต่างจากระบบคลอรีนอย่างไร สระว่าน้ำระบบเกลือ เป็นสระว่ายน้ำที่คุมระบบน้ำให้สะอาดด้วยเกลือ โดยใช้เครื่องผลิตคลอรีนอัตโนมัติจากเกลือ ระบบนี้จะใช้เกลือธรรมชาติในการฆ่าเชื้อโรคแทนคลอรีน และไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนังอีกด้วย วิทยากรได้แจ้งให้ทราบถึงกิจกรรมท่าการออกกำลังกายของวันนี้มีดังต่อไปนี้
1)การยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนลงสระ
2)ลงสระจะเน้นช่วงล่างลดอาการปวดเข่าปวดข้อ
3)กิจกรรมเข้าจังหวะช้าๆจังหวะเร็วๆ
4)ฟิตเนต
5)คลายกล้ามเนื้อ
6)ขึ้นจากสระอาบน้ำล้างตัว
-วันที่ 14 มกราคม 2563 เวลา 14.00-15.00 น. วิทยากรได้แจ้งให้ทราบถึงกิจกรรมท่าการออกกำลังกายของวันนี้มีดังต่อไปนี้
1)การยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนลงสระ
2)กิจกรรมลดความดันสูง น้ำตาลสูง ไขมันสูง
3)กิจกรรมเข้าจังหวะช้าๆจังหวะเร็วๆ
4)ฟิตเนต
5)คลายกล้ามเนื้อ
6)ขึ้นจากสระอาบน้ำล้างตัว
-วันที่ 21 มกราคม 2563 เวลา 14.00-15.00 น. วิทยากรได้แจ้งให้ทราบถึงกิจกรรมท่าการออกกำลังกายของวันนี้มีดังต่อไปนี้
1)การยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนลงสระ
2)กิจกรรมลดความดันสูง น้ำตาลสูง ไขมันสูง
3)กิจกรรมเข้าจังหวะช้าๆจังหวะเร็วๆ
4)ฟิตเนต
5)คลายกล้ามเนื้อ
6)ขึ้นจากสระอาบน้ำล้างตัว
-วันที่ 28 มกราคม 2563 เวลา 14.00-15.00 น. วิทยากรได้แจ้งให้ทราบถึงกิจกรรมท่าการออกกำลังกายของวันนี้มีดังต่อไปนี้
1)การยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนลงสระ
2)กิจกรรมลดความดันสูง น้ำตาลสูง ไขมันสูง
3)กิจกรรมเข้าจังหวะช้าๆจังหวะเร็วๆ
4)ฟิตเนต
5)คลายกล้ามเนื้อ
6)ขึ้นจากสระอาบน้ำล้างตัว
-วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 14.00-15.00 น. วิทยากรได้แจ้งให้ทราบถึงกิจกรรมท่าการออกกำลังกายของวันนี้มีดังต่อไปนี้
1)การยืดเหยียดกล้ามเนื้อในสระ
2)เน้นช่วงล่างและการทรงตัวกิจกรรมลดความดันสูง น้ำตาลสูง ไขมันสูง
3)กิจกรรมเข้าจังหวะช้าๆจังหวะเร็วๆ
4)ฟิตเนต
5)คลายกล้ามเนื้อ
6)ขึ้นจากสระอาบน้ำล้างตัว
-วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 14.00-15.00 น. วิทยากรได้แจ้งให้ทราบถึงกิจกรรมท่าการออกกำลังกายของวันนี้มีดังต่อไปนี้
1)การยืดเหยียดกล้ามเนื้อในสระ
2)เน้นช่วงล่างและช่วงบน
3)กิจกรรมลดความดันสูง น้ำตาลสูง ไขมันสูง กิจกรรมเข้าจังหวะช้าๆจังหวะเร็วๆ
4)ฟิตเนต
5)คลายกล้ามเนื้อ
6)ขึ้นจากสระอาบน้ำล้างตัว
-วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 14.00-15.00 น. วิทยากรได้แจ้งให้ทราบถึงกิจกรรมท่าการออกกำลังกายของวันนี้มีดังต่อไปนี้
1)การยืดเหยียดกล้ามเนื้อในสระ
2)เน้นช่วงล่างและช่วงบน(โดยใช้หลักสมาธิ)
3) กิจกรรมเข้าจังหวะช้าๆจังหวะเร็วๆ
4)ฟิตเนต
5)คลายกล้ามเนื้อ
6)ขึ้นจากสระอาบน้ำล้างตัว
-วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 14.00-15.00 น. วิทยากรได้แจ้งให้ทราบถึงกิจกรรมท่าการออกกำลังกายของวันนี้มีดังต่อไปนี้
1)การยืดเหยียดกล้ามเนื้อบนสระกิจกรรมลดความดันสูง น้ำตาลสูง ไขมันสูง
2)เน้นช่วงล่างและการทรงตัว
3) กิจกรรมเข้าจังหวะช้าๆจังหวะเร็วๆ
4)ฟิตเนต
5)คลายกล้ามเนื้อ
6)ขึ้นจากสระอาบน้ำล้างตัว
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย | |
---|---|---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ร้อยละ 80 |
80.00 | 80.00 |
|
|
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และข้อเท้า ข้อเข่า ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และข้อเท้า ข้อเข่า ฝ่าเท้า มากขึ้น ร้อยละ 80 |
80.00 | 80.00 |
|
|
3 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรมทางสังคม |
80.00 | 80.00 |
|
|
4 | .เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการบำบัดฟื้นฟูข้อเท้าและข้อเข่า ด้วยระบบวารีบำบัด ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการบำบัดฟื้นฟูข้อเท้าและข้อเข่า ฝ่าเท้า ด้วยระบบวารีบำบัด |
80.00 | 80.00 |
|
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 60 | 60 | |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | |||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | - | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | - | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | 10 | |
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | 50 | |
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | |||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 0 | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | - | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | - | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | - | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] | - |
บทคัดย่อ*
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบันสถานการณ์ประชากรทั้งหมดของประเทศไทยปี 2560 ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 67.6 ล้านคน และมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 11.3 ล้านคน หรือ 16.7% ของจำนวนประชากรทั้งหมด วัยทำงานอายุ 15-59 ปี จำนวน 44.60 ล้านคน วัยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 11.60 ล้านคน โดยวัย ผู้สูงอายุยังคงทำงานอยู่ราว 3.9 ล้านคน จากการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 จะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป สัดส่วนสูงถึง 20% และในปี 2574 ประเทศไทยจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึง 28% ทั้งในปัจจุบันสัดส่วนวัยทำงานดังกล่าวยังสามารถดูแลผู้สูงอายุได้ 1 ต่อ 4 คน แต่ในปี 2574 สัดส่วนการดูแลผู้สูงอายุจะเฉลี่ยที่ 1 : 1 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) สำหรับปัญหาสุขภาพซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งกับผู้สูงอายุพบว่าผู้สูงอายุอยู่ในสภาวะติดเตียง ร้อยละ 2 ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ร้อยละ 19 และยังพบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 41 เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 18 และเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ลดหลั่นลงมา ซึ่งโรคเหล่านี้หากไม่ได้รับการรักษาดูแลอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบ่งเป็น ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อายุ เพศ และพันธุกรรม และปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง และภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และนอกจากโรคเรื้อรังดังกล่าวยังพบอีกว่าผู้สูงอายุมีโรคข้อเข่าที่เกิดจากความเสื่อมของระบบการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะระบบกล้ามเนื้อและการไหลเวียนเลือด ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และจะมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไปรวมถึงปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันที่ส่งผลให้เกิดฟันผุ/รากทับฟันผุ โรคปริทันต์ นำไปสู่การเป็นมะเร็งช่องปากได้
ซึ่งหากผู้สูงอายุไม่รักษาสุขภาพช่องปากให้ดีถ้าหากสูญเสียฟันไปแล้ว จะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุเป็นอย่างมากอีกทั้งยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันด้านบุคลิกภาพ การเข้าสังคม การพูดคุย การบดเคี้ยวอาหาร และการรับรส เป็นต้น สถานการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ซึ่งพบผู้สูงอายุผู้หญิงเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ใน 5 อันดับแรกของการสูญเสียปีสุขภาวะ รองจากโรคเรื้อรัง ซึ่งสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ คือ ความวิตกกังวล ซึมเศร้านอนไม่หลับ ภาวะสมองเสื่อม ปัญหาเรื่องเพศ นอกจากนี้การสำรวจสุขภาพจิตผู้สูงอายุโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติด้วยแบบคัดกรองความสุข 15 ข้อ พบว่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าคนทั่วไปโดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุ เป็นผู้ที่มีความเปราะบางทางจิตใจ และมีสาเหตุมาจากโรคเรื้อรัง ความรู้สึกที่มีคุณค่าในตัวเองลดลง
เขตเทศบาลตำบลฉลุง เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประสบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้นเช่นเดียวกัน ผลจากการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขพบว่า ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่มีจำนวน 261 คน คิดเป็นร้อยละ 11.08 ของประชากรทั้งหมด 2,355 คน เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีภาวะเสี่ยง จำนวน 214 คน คิดเป็นร้อยละ 82 เจ็บป่วยด้วยโรคข้อเท้า จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 70.83 อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุดังกล่าวขาดความมั่นใจความสุขในการดำรงชีวิตประจำวัน
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลฉลุง ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงจัดทำโครงการ กาย จิต สัมพันธ์ สร้างพลังต้านภัยโรค ประจำปี 2563 ขึ้น โดยใช้กลยุทธ์หลักการ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว สร้างความสุขให้ผู้สูงอายุ ประกอบกระบวนการให้ความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย แก่ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ที่เตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ อนึ่งการดำเนินงานดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในการดำรงชีวิตประจำวัน มีภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันโรคต่อไป
หมายเหตุ *