กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการไท้เก๊กสมาธิอุบาย วิธีสู่ความสงบเย็น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เทศบาลตำบลฉลุง ประจำปีงบประมาณ 2563

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด จำนวน 40 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 1.1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1. เพื่อให้สมาชิกชมรมไท้เก๊ก เทศบาลตำบลฉลุงที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สู่พฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง จากการประเมินความรู้ก่อน-หลัง เรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สู่พฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง มีจำนวนคำถามทั้งหมด 10 ข้อ พบว่ากลุ่มเป้าหมายได้คะแนน ดังนี้

ก่อนการอบรม หลังการอบรม คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ 7 18 45 8 8 20 8 12 30 9 20 50 9 4 10 10 12 30 10 6 15
รวม 40  100 รวม 40 100
จากตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังการอบรม พบว่า กลุ่มเป้าหมาย ก่อนการอบรม ได้คะแนนสูงสุดที่ 10 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 15 รองลงมา 9 คะแนน จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 30 คะแนนน้อยที่สุดที่ 7 คะแนน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 10 และความถี่ที่ได้มากที่สุด คือ 8 คะแนน จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 45 หลังการอบรม ได้คะแนนสูงสุดที่ 10 คะแนน จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 30 รองลงมา 9 คะแนน จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 50 คะแนนน้อยที่สุดที่ 8 คะแนน จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 20 และความถี่ที่ได้มากที่สุดคือ 9 คะแนน จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 50 เมื่อนำมาเปรียบเทียบการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นจำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 70 และมีความรู้เท่าเดิม จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 30 1.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพสมาชิกชมรมไท้เก๊ก เทศบาลตำบลฉลุงที่เข้ารับการอบรม ให้มีทักษะไท้เก๊กสมาธิอุบาย วิธีสู่ความสงบเย็น อย่างถูกต้อง จากการสังเกตกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน พบว่า กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือในการอบรมฝึกทักษะไท้เก๊กสมาธิอุบาย วิธีสู่ความสงบเย็น โดยได้ปฏิบัติตามวิทยากรอย่างถูกต้อง แต่เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงวัยค่อนข้างมาก ทำให้การทำท่างทางในบางท่าที่มีการใช้ข้อเข่า อาจจะปฏิบัติได้ไม่สวยเหมือนดังวิทยากร ซึ่งในการฝึกทักษะไท้เก๊กสมาธิอุบาย วิธีสู่ความสงบเย็น วิทยากรได้สอนรำ 24 ท่า ซึ่งกลุ่มเป้าหมายก็มีความรู้อยู่บ้างแล้ว แต่ก็มีกลุ่มเป้าหมายบางรายที่ไม่ได้ออกไปรำไท้เกีกอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ลทำท่าทางได้ไม่สวย และเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกทักษะได้ถูกต้อง วิทยากรได้ฝึกสอนทักษะแต่ละท่าทางไปอย่างช้า หากกลุ่มเป้าหมายทำไม่ได้ก็จะทวนท่าซ้ำๆไปอย่างช้าๆจนกลุ่มเป้าหมายทำได้ดี ซึ่งในระหว่างฝึกทักษะไท้เก๊กสมาธิอุบาย วิธีสู่ความสงบเย็น ก็ได้มีการหยุดพักระหว่างทำกิจกรรม เพราะในการฝึกทักษะไท้เก๊กนี้ใช้พลังงานเยอะทำให้กลุ่มเป้าหมายบางคนเหนื่อยและมีเหงื่อออกจำนวนมาก แต่กลุ่มเป้าหมายก็สามารถปฏิบัติทักษะไท้เก๊กสมาธิอุบาย วิธีสู่ความสงบเย็นได้ถูกต้อง
1.3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อให้สมาชิกชมรมไท้เก๊ก เทศบาลตำบลฉลุงที่เข้ารับการอบรม นำความรู้ ทักษะ ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สู่พฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง จากการประเมินตนเองในเรื่องพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย และอารมณ์ มีจำนวนคำถามทั้งหมด 20 ข้อ พบว่ากลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน ได้คะแนน ดังนี้

พฤติกรรมที่ปฏิบัติ ความถี่การปฏิบัติ ประจำ (จำนวนคน) ครั้งคราว(จำนวนคน) ไม่เคยเลย(จำนวนคน) 1. กินอาหารครบ 5 หมู่ (ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม ) 40 0 0 2. กินอาหารหลากหลาย ไม่ซ้ำซาก 30 10 0 3. กินผักมากกว่าวันละ 3 ทัพพี 32 8 0 4. กินผลไม้วันละ 2-3 ส่วน (หนึ่งส่วนเท่ากับ 6-8 คำ) 27 8 5 5. กินปลา อย่างน้อยวันละ 1 มื้อ 20 18 2 6. กินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัปดาห์ละ 2-3 มื้อ 10 20 10 7. ดื่มนมขาดมันเนย วันละ 1-2 แก้ว 10 22 8 8. กินอาหารมื้อเย็นห่างจากเวลานอนไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง 27 10 3 9. กินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ลวก อบ 22 16 2 10. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง 40 0 0 11. หลีกเลี่ยงของหวาน และขนมที่มีแป้งและน้ำตาลมาก 37 3 0 12. กินอาหารรสจืด ไม่เติมน้ำปลาหรือเกลือในอาหาร 38 2 0 13. เลือกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลมหรือน้ำหวาน 40 0 0 14. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 40 0 0 15. อารมณ์ดี ไม่เครียด 40 0 0 16. นอนหลับไม่น้อยกว่าวันละ 7-8 ชั่วโมง 40 0 0 17. ออกกำลังสัปดาห์ละ 5 วัน 40 0 0 18. ออกกำลังวันละ 30 นาที 40 0 0 19. ขณะออกกำลังหายใจเร็วขึ้นกว่าปกติและเหงื่อซึม 35 5 0 20. ทุกครั้งวัดรอบเอวได้ไม่เกินเกณฑ์อ้วนลงพุง คือ เพศหญิงไม่เกิน 80 ซม. และเพศชายไม่เกิน 90 ซม. 10 15 15

จากตารางการประเมินตนเอง พบว่า กลุ่มเป้าหมายได้ปฏิบัติเป็นประจำทุกคน คือ พฤติกรรมการกินอาหารครบ 5 หมู่ (ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม ) หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง การเลือกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลมหรือน้ำหวาน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อารมณ์ดี ไม่เครียด นอนหลับไม่น้อยกว่าวันละ 7-8 ชั่วโมง ออกกำลังสัปดาห์ละ 5 วัน และออกกำลังวันละ 30 นาที ปฏิบัติเป็นประจำรองลงมา จำนวน 38 คน คือ กินอาหารรสจืด ไม่เติมน้ำปลาหรือเกลือในอาหาร และปฏิบัติเป็นประจำน้อยที่สุด จำนวน 10 คน คือ กินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัปดาห์ละ 2-3 มื้อ พฤติกรรมการดื่มนมขาดมันเนย วันละ 1-2 แก้ว และทุกครั้งวัดรอบเอวได้ไม่เกินเกณฑ์อ้วนลงพุง คือเพศหญิงไม่เกิน 80 ซม. และเพศชายไม่เกิน 90 ซม. กลุ่มเป้าหมายได้ปฏิบัติเป็นครั้งคราวมากที่สุด จำนวน 22 คน คือ พฤติกรรมดื่มนมขาดมันเนย วันละ 1-2 แก้ว กลุ่มเป้าหมายได้ปฏิบัติเป็นครั้งคราวรองลงมา จำนวน 20 คน คือ พฤติกรรมกินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัปดาห์ละ 2-3 มื้อและไม่มีการปฏิบัติเป็นครั้งคราวเลย คือ พฤติกรรมการกินอาหารครบ 5 หมู่ (ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม ) หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง การเลือกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลมหรือน้ำหวาน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อารมณ์ดี ไม่เครียด นอนหลับไม่น้อยกว่าวันละ 7-8 ชั่วโมง ออกกำลังสัปดาห์ละ 5 วัน และออกกำลังวันละ 30 นาที กลุ่มเป้าหมายไม่เคยปฏิบัติเลยมากที่สุด จำนวน 10 คน คือ กินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัปดาห์ละ 2-3 มื้อ ไม่เคยปฏิบัติเลยรองลงมา จำนวน 8 คน คือ ดื่มนมขาดมันเนย วันละ 1-2 แก้ว และไม่มีการไม่เคยปฏิบัติเลย คือ พฤติกรรมการกินอาหารครบ 5 หมู่ (ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม ) กินอาหารหลากหลาย ไม่ซ้ำซาก กินผักมากกว่าวันละ 3 ทัพพี หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง หลีกเลี่ยงของหวาน และขนมที่มีแป้งและน้ำตาลมาก กินอาหารรสจืด ไม่เติมน้ำปลาหรือเกลือในอาหาร การเลือกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลมหรือน้ำหวาน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อารมณ์ดี ไม่เครียด นอนหลับไม่น้อยกว่าวันละ 7-8 ชั่วโมง ออกกำลังสัปดาห์ละ 5 วัน และออกกำลังวันละ 30 นาที และขณะออกกำลังหายใจเร็วขึ้นกว่าปกติและเหงื่อซึม

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้สมาชิกชมรมไท้เก๊ก เทศบาลตำบลฉลุงที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สู่พฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : สมาชิกชมรมไท้เก๊ก เทศบาลตำบลฉลุง มีความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สู่พฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 -ประเมินโดยใช้แบบประเมินความรู้
80.00

 

2 เพื่อเพิ่มศักยภาพสมาชิกชมรมไท้เก๊ก เทศบาลตำบลฉลุงที่เข้ารับการอบรม ให้มีทักษะ ไท้เก๊กสมาธิอุบาย วิธีสู่ความสงบเย็น อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : สมาชิกชมรมไท้เก๊ก เทศบาลตำบลฉลุง มีทักษะ ไท้เก๊กสมาธิอุบาย วิธีสู่ความสงบเย็น อย่างถูกต้องร้อยละ 80 -ประเมินจากการสังเกต
80.00

 

3 เพื่อให้สมาชิกชมรมไท้เก๊ก เทศบาลตำบลฉลุงที่เข้ารับการอบรม นำความรู้ ทักษะ ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สู่พฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : สมาชิกชมรมไท้เก๊ก เทศบาลตำบลฉลุง นำความรู้ ทักษะ ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สู่พฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 -ประเมินจากแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 10 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 30 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

การจะพัฒนาประเทศชาติให้เจริญได้นั้น ประชากรในประเทศต้องมีสุขภาพที่ดี มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญได้ สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพของประชากรก็คือ การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาทุกชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี และต้องปฏิบัติโดยสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง การออกกำลังกายแบบไท้เก๊กก็เป็นการออกกำลังกายประเภทหนึ่งที่มีผู้คนนิยมทั่วโลก เพราะเป็นการออกกำลังกายแบบยืดหยุ่นร่างกายทุกส่วนทั้งแขนและขา ท่าทางการเคลื่อนไหวเป็นท่าที่มีการยืดและหดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆมีจังหวะที่ผสมผสานกลมกลืน มีลักษณะนุ่มนวล โอนอ่อนผ่อนคลาย การเคลื่อนไหวลื่นไหลต่อเนื่อง การหายใจสอดประสานไปกับการเคลื่อนไหว พร้อมต้องตั้งจิตติดตามการเคลื่อนไหวของร่างกายไปตลอด ทำให้เกิดสมาธิ เนื่องจากไม่มีการเกร็งกล้ามเนื้อ หรือการออกแรงกระแทก จึงมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บร่างกายได้น้อย เมื่อเทียบกับกีฬาที่ใช้แรงชนิดอื่นๆทำให้เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย แม้แก่ชรา อายุ 90-100 กว่าปีก็ยังฝึกฝนได้ ประโยชน์ที่ได้รับนอกจากสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว การเกิดสมาธิเป็นการจัดการด้านอารมณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจากกลยุทธ์ 3 อ.(อารมณ์,อาหาร,ออกกำลังกาย) อ.อารมณ์มีความสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อทุกๆ อ. หากบริหารจัดการอารมณ์ได้แล้วสภาวะสุขภาพก็จะดีตามไปด้วย และยังเพิ่มอัตราการไหลเวียนโลหิตทั้งร่างกาย ปอด หัวใจแข็งแรง และช่วยให้เกิดการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินในร่างกาย เทศบาลตำบลฉลุง ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายแบบไท้เก๊กจึงได้ส่งเสริมให้ประชาชนรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นชมรม และมีการออกกำลังกายแบบไท้เก๊กขึ้น ในวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 05.00-06.00 น. ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาเทศบาลตำบลฉลุง มาเป็นระยะเวลา 14 ปี ปัจจุบันมีสมาชิกชมรม จำนวน 55 คน สมาชิกชมรมมีทั้งคนในเขตเทศบาลตำบลฉลุงและพื้นที่ใกล้เคียง จากการดำเนินงานของชมรม พบว่า สมาชิกชมรมส่วนใหญ่มาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และจากการสำรวจข้อมูลสมาชิกชมรม มีสมาชิกป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 20 คน โรคความดันเบาหวาน จำนวน 6 คน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด จำนวน 3 คน และไม่พบผู้ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดสมองแตก/ตีบ และพบว่า ถึงแม้สมาชิกส่วนใหญ่จะมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ด้วยศาสตร์การออกกำลังกายแบบไท้เก๊กจะต้องมีใช้ทักษะสูงในด้านการใช้ปราณ การฝึกหายใจ การเคลื่อนไหว อย่างมีสมาธิ สมาชิกบางคนยังไม่มีทักษะเท่าที่ควร อีกทั้งพฤติกรรมในการดำรงชีวิตประจำวันของสมาชิก เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การนอน การจัดการอารมณ์ และสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย ไม่เหมาะกับสุขภาพของ ช่วงวัย และโรคที่เป็น ส่งผลให้การออกกำลังกาย ไม่สามารถควบคุมโรคที่เป็นให้อยู่ในระดับปกติได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงจำเป็นต้องส่งเสริม สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ พร้อมๆกับการออกกำลังกายอย่างจริงจัง จึงจะส่งผลต่อร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นชมรมไท้เก๊ก เทศบาลตำบลฉลุง จึงได้จัดทำโครงการไท้เก๊กสมาธิอุบาย วิธีสู่ความสงบเย็น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2563 ขึ้น เพื่อให้สมาชิกชมรมไท้เก๊ก เทศบาลตำบลฉลุง มีทักษะมีความรู้นำไปซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ สู่พฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง อนึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลให้สมาชิกมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง และสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh